เปิดใจผู้แทนประเทศไทยก่อนไปแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกที่บัลกาเรีย

พุธ ๒๒ กรกฎาคม ๒๐๐๙ ๑๐:๐๙
การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกปีนี้ จัดขึ้นวันที่ 8-14 สิงหาคม 2552 ณ เมืองพลอดิฟ ประเทศบัลกาเรีย โดยมีผู้แทนประเทศไทยจำนวน 4 คน เดินทางไปร่วมการแข่งขัน ได้แก่

นายวิสิฐ ภัทรนุธาพร (โม) วัย 18 ปี ชั้น ม. 6 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปเข้าร่วมการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกติดต่อกันเป็นปีที่ 2

โดยปีที่แล้วคว้าเหรียญทองแดงคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ปี 2008 จากประเทศอียิปต์ บอกว่า ที่สนใจเข้าร่วมโครงการโอลิมปิกวิชาการ เพราะเป็นการศึกษาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้านที่รัก ถนัก และสนใจในระดับที่ค่อนข้างลึกซึ้ง ซึ่งสมารรถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดสู่ระดับที่สูงขึ้น เพื่อที่จะกลับมาพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีแก่ประเทศชาติต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการแข่งขันระดับต่าง ๆ เพื่อที่จะได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ และยังได้รู้จักกับคนที่สนใจในศาสตร์วิชาเดียวกันด้วย

“ผมชอบเรียนคณิตศาสตร์กับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพราะผมชอบเกี่ยวกับตัวเลข ตรรกะ เหตุผล และผมก็สนุกกับการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ แต่เนื่องจากผมถนัดทางด้านคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากกว่าคณิตศาสตร์ประยุกต์ จึงเลือกเข้าโครงการโอลิมปิกวิชาการในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ผมภูมิใจมากครับสำหรับการได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและสร้างชื่อเสียงแก่ประเทศไทย สำหรับความกดดันนั้น เนื่องจากปีนี้เป็นปีที่ 2 สำหรับการเป็นผู้แทน ฯ จึงจัดการกับความกดดันได้ดีขึ้น”

นางสาวทักษพร กิตติอัครเสถียร (นาว) วัย 16 ปี ชั้น ม. 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ที่สนใจเข้าโครงการโอลิมปิกวิชาการ เริ่มจาก เป็นคนที่ชอบคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการเขียนโปรแกรมตั้นแต่ตอนเรียนประถมปลายแล้ว และอยากได้ความรู้ อยากพัฒนาตัวเอง ในด้านการเขียนโปรแกรม และพูดคุยกับคนที่สนใจด้านเดียวกัน รู้สึกดีเวลาเขียนโปรแกรม ได้สร้างโปรแกรมขึ้นมาด้วยฝีมือของตัวเอง

น้องนาวเล่าว่า คุณพ่อคุณแม่สอนให้ใช้คอมพิวเตอร์ในทางสร้างสรรค์ตั้งแต่เด็ก และสนับสนุนให้ฝึกฝนภาษาอังกฤษ ทำให้ตอนนี้สามารถค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่เป็นภาษาอังกฤษได้ด้วยตนเอง

“สำหรับการเตรียมตัวก่อนไปแข่งขันนั้น พยายามหาโจทย์เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมมาฝึกให้มาก ๆ เวลาเหนื่อยก็พัก ไม่กดดันตัวเองมากเกินไป พยายามตั้งใจทำให้ดีที่สุด”

นายอาภาพงศ์ จันทร์ทอง (เพลน) วัย 18 ปี ชั้น ม. 6 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เคยเข้าร่วมการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกครั้งแรกในปีที่แล้ว โดยคว้าเหรียญเงินคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ปี 2008 จากประเทศอียิปต์ สำหรับปีนี้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นปีที่ 2 บอกว่า วิชาที่ชอบมาก็คือคณิตศาสตร์ เพราะชอบขบคิดปัญหาโดยใช้ข้อมูลและตรรกะที่สมเหตุสมผล ทำให้รู้สึกสนุก เหมือนได้เล่นเกม สำหรับน้องเพลนแล้ว เสน่ห์ของคณิตศาสตร์ที่ชอบคือ Problem Solving (การแก้ปัญหา) ตรงจุดนี้ในคอมพิวเตอร์โอลิมปิกจะคล้าย ๆ กัน

ความประทับใจที่น้องเพลนได้จากการเข้าร่วมโครงการโอลิมปิกวิชาการ ก็คือ การเข้าค่ายที่เต็มไปด้วยเนื้อหาวิชาการที่อัดแน่น บางทีก็เครียดแต่สนุกดี นอกเหนือจากเนื้อหาที่ได้จากอาจารย์ที่สอนในค่ายเล้วยังได้เพื่อนด้วย เพื่อนทั้งหมดไม่ได้มุ่งแต่เรียน หลายครั้งไปเที่ยวด้วยกันบ้าง เวลาว่างหลังเลิกเรียนก็จะเล่นเกมด้วยกัน เวลาอยู่ในห้องเรียนก็จะเรียนด้วยกัน แล้วแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพราะแนวคิดการแก้ปัญหาของการเขียนโปรแกรมหนึ่งข้อมีได้หลายสิบวิธีเลยทีเดียว บางทีเพื่อนคิดได้ง่ายกว่าเรา เราคิดมากไปเองก็มี “การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกปีที่แล้ว ถูกคาดหวังไว้มากเลยรู้สึกกดดัน แต่ตอนนี้เข้าใจแล้วว่าเราเป็นคนกดดันตัวเอง สิ่งที่ต้องทำคือ ปล่อยจิตใจให้สบาย และไม่ไปติดยึดกับมันมาก ถือว่าการไปแข่งขันเป็นประสบการณ์ชีวิตมากกว่า ไม่ได้มาสร้างความเครียดให้ตัวเอง ก่อนการเดินทางไปแข่งขันมีการเข้าค่ายอบรมเข้มที่ ม. เกษตรศาสตร์ ส่วนมากเป็นการฝึกแก้ปัญหาและเขียนโปรแกรมให้คล่องเสียมากกว่า เพราะในการแข่งขันอนุญาตให้ใช้เฉพาะลินุกซ์เท่านั้นครับ โดยเฉพาะปีนี้ให้ใช้ โปรแกรมubuntu8.04 เลยต้องฝึกใช้ให้ชินครับ”

นายพศิน มนูรังษี (กันต์) วัย 15 ปี ม. 5 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย น้องกันต์เป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งโอลิมปิกวิชาการมาแล้วถึง 3 ครั้ง โดยครั้งล่าสุด ได้เหรียญทองคณิตศาสตร์โอลิมปิก ปี 2008 และทำคะแนนได้เป็นอันดับที่ 8 ของโลก จากประเทศสเปน บอกว่าวิชาที่ชอบเรียนมากที่สุดนั้นคือวิชาคณิตศาสตร์ เพราะเป็นวิชาที่สอนให้คิดอย่างมีเหตุมีผล เป็นระบบ อีกทั้งยังเป็นรากฐานที่สำคัญในการศึกษาวิชาอื่น ๆ ส่วนสาเหตุที่สมัครเข้าร่วมการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกจนได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้แทนประเทศไทย ฯ ครั้งนี้ เพราะโลกปัจจุบัน คอมพิวเตอร์มีความสำคัญในชีวิตเป็นอย่างมาก ทั้งการทำงาน การเรียน การติดต่อสื่อสาร ล้วนต้องใช้คอมพิวเตอร์

“แน่นอนครับว่าการเป็นผู้แทนประเทศไทย ย่อมมีความกดดันจากคนรอบข้าง และตัวผมเองที่อยากจะทำให้ดีที่สุด แต่ผมจะพยายามใช้แรงกดดันที่มีมาเป็นแรงผลักดันให้ผมยายามมากขึ้น และทำให้ดีที่สุด สำหรับการเตรียมตัว ได้ไปเข้าค่าย ฝึกทำโจทย์ ฝึกนั่งสามธิเพื่อให้จิตใจสงบ มีสมาธิ จะได้ไม่กังวล ฟุ้งซ่าน”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version