บีโอไอขยายบริการแก่กิจการเอสเอ็มอี เปิดตัวศูนย์บ่มเพาะพัฒนาผลิตภัณฑ์ - จับมือธนาคารปล่อยสินเชื่อธุรกิจ

ศุกร์ ๒๔ กรกฎาคม ๒๐๐๙ ๑๖:๑๗
บีโอไอ เพิ่มบริการหนุนเอสเอ็มอีไทย จับมือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อตั้งศูนย์บ่มเพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต การวิจัย และพัฒนา เน้น 6 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย พร้อมร่วมมือกับสถาบันการเงินของรัฐ-เอกชน 4 แห่ง หนุนปล่อยสินเชื่อลงทุนขยายธุรกิจ

นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดสัมมนา เรื่อง “บทบาทบีโอไอในการส่งเสริม SMEsไทย” ว่า การสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เป็นนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญและมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้เอสเอ็มอีของไทยมีการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น

โดยในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอี ด้วยการปรับเปลี่ยนบทบาทของบีโอไอ ให้ความสำคัญกับเอสเอ็มอีมากขึ้น โดยได้ให้บริการการพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม การพัฒนาผู้ประกอบการ บริการประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอี และได้เพิ่มบริการใหม่ในการสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม

“กิจการเอสเอ็มอีมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ที่คิดค้นและมีนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้น ความร่วมมือกันในครั้งนี้จะเป็นการสนับสนุนนโยบายการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่เศรษฐกิจบนพื้นฐานความรู้และความคิดสร้างสรรค์ เสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรม สนับสนุนการวิจัย และพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับภาคการผลิต ที่จะเป็นการวางรากฐานอนาคตที่เข้มแข็งให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทยในระยะยาว” นายชาญชัย กล่าว

ด้านนางอรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ กล่าวว่า บริการรูปแบบใหม่ของบีโอไอจะมุ่งเน้นเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและการลงทุนแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการสนับสนุนทางการเงิน

โดยในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บีโอไอได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดตั้ง “โครงการศูนย์บ่มเพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต การวิจัย และพัฒนา” ขึ้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และจัดตั้งเครือข่ายของศูนย์บ่มเพาะอีกไม่น้อยกว่า 6 แห่ง ภายในสถาบันอิสระ สถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษา

ทั้งนี้ ศูนย์บ่มเพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต การวิจัย และพัฒนา จะให้การสนับสนุนการพัฒนาของเอสเอ็มอีโดยเน้น 6 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ อาหารและเกษตรแปรรูป ยางและผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และชิ้นส่วน สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป และบรรจุภัณฑ์ รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในแต่ละกลุ่ม เพื่อให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ พัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือพัฒนาต่อยอดการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต

โดยคาดว่าผลสำเร็จของโครงการจะก่อให้เกิดการลงทุนในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิต การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีมากขึ้น

สำหรับ การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือ MOU ร่วมกับสถาบันการเงิน 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารนครหลวงไทย และธนาคารกสิกรไทย จะเป็นการขยายความร่วมมือระหว่างบีโอไอ และสถาบันการเงิน เพื่อให้กิจการเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารได้ทราบถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากการขอรับส่งเสริมการลงทุน ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ จะได้รับการพิจารณาสนับสนุนด้านการปล่อยสินเชื่อ เพื่อลงทุนในการขยายธุรกิจต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ