การแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2552 Thailand Intelligent Vehicle Challenge 2009

ศุกร์ ๓๑ กรกฎาคม ๒๐๐๙ ๑๔:๕๙
29 กรกฏาคม 2552

สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ร่วมกับ ภาควิชาเมคาโทรนิคส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (เอไอที) โดยการสนับสนุนจากบริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จัดการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2552 (Thailand Intelligent Vehicle Challenge 2008) ซึ่งเป็นการแข่งขันพัฒนารถไร้คนขับ ให้วิ่งไปบนเส้นทาง ที่กำหนด ให้ได้ระยะทางไกลที่สุดเร็วที่สุด โดยการจัดนี้นับเป็นการแข่งขันปีที่ 3 การแข่งขันรอบคัดเลือก จัดขึ้นในวันที่ 29 พฤษภาคม ศกนี้ ณ สนามบางกอก เรซซิ่ง เซอร์กิต ด้านหลังซีคอนสแควร์

กติกา

รถที่ใช้แข่งขัน

ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้รถที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเองหรือรถที่มีขายตามท้องตลาดก็ได้มาพัฒนาดัดแปลงต่อให้เป็นรถอัจฉริยะ ไม่มีข้อจำกัดในประเภทของเครื่องยนต์หรือแหล่งกำเนิดพลังงาน ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้รถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในประเภทต่าง ๆ เช่น เบนซิน ดีเซล แก๊สโซฮอล แก๊สธรรมชาติ แก๊สปิโตรเลียมเหลว อัลกอฮอล์ หรือสามารถใช้รถที่ใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานประเภทอื่น เช่น รถไฟฟ้า รถไฮบริดจ์ รถพลังงานเคมี หรือรถที่ใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหลายประเภทพร้อมกันเป็นต้น

คุณสมบัติของรถ

รถจะต้องสามารถบรรจุผู้โดยสารได้อย่างต่ำ 1 คนและแล่นไปได้ด้วยกำลังของรถเอง (คณะกรรมการจะตรวจสอบคุณสมบัติข้อนี้โดย การตรวจสอบจากการวางได้อย่างเสถียรของผู้โดยสารจำลองที่เป็นวัตถุขนาด 30 เซนติเมตร x 30 เซนติเมตร x 30 เซนติเมตร หนัก 60 กิโลกรัม) รถจะต้องบรรจุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองไว้บนรถ ไม่อนุญาติให้ติดตั้งอุปกรณ์ ใด ๆ ที่ใช้ในการแข่งขันนอกตัวรถ เช่นที่บริเวณสนามแข่งขัน ขนาดของรถอย่างต่ำคือกว้าง 1 เมตรและยาว 2 เมตร รถจะต้องสามารถทำงานได้ในสภาวะการขับรถจริง เช่น มีแสงแดด มีร่มเงา มีฝนตก

ความเป็นอัจฉริยะ

รถจะต้องสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองโดยปราศจากคนขับทั้งโดยตรง หรือแบบบังคับทางไกล รถจะต้องสามารถเคลื่อนที่ไปบนเส้นทางที่กำหนดให้โดยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะต่าง ๆ ที่ทำให้สามารถแบ่งแยกถนนออกจากสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ และบังคับรถให้วิ่งอยู่บนถนนได้ สามารถรู้ถึงสิ่งกีดขวางที่อยู่กับที่พร้อมทั้งหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ สามารถรู้ถึงสัญญานจราจรเช่น สัญญานไฟเขียว ไฟแดง หรือสัญญานบังคับทิศทาง พร้อมทั้งปฏิบัติตามกฏอย่างเคร่งครัด

เซนเซอร์ที่ใช้

ไม่มีข้อจำกัดของประเภทและจำนวนของเซนเซอร์ที่ใช้ ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้ กล้อง เลเซอร์ เรดาร์ โซนาร์ จีพีเอสและแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ เอนโคดเดอร์ หรือเซนเซอร์ประเภทอื่น ๆ ได้โดยอิสระ

อุปกรณ์ควบคุมที่ใช้

ไม่มีข้อจำกัดของประเภทและจำนวนของอุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใดก็ได้ เช่น เดสก์ทอป แลปทอป พีซี104 พีดีเอ คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์ประเภทฝังตัว ไมโครโปรเซสเซอร์ ไมโครคอนโทรเลอร์ ดีเอสพี พีแอลซี หรืออุปกรณ์ควบคุมอื่น ๆ ได้โดยอิสระ

ความเร็วของรถ

ความเร็วสูงสุดของรถในการแข่งขันถูกจำกัดไว้ที่ 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

อุปกรณ์ที่ต้องติดตั้ง

รถยนต์ของทุกทีมต้องติดตั้งฮาร์ดดิสก์ซีเกท รุ่น EE 25.2 ความจุ 60 กิกะไบต์ เพื่อเก็บข้อมูลที่วัดได้จากเซนเซอร์ เช่น ตำแหน่งของรถ หรือ ภาพที่ได้รับจากกล้อง หรือ ข้อมูลอื่น ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการแข่งขัน จำนวนความถี่ของข้อมูลอย่างต่ำหนึ่งชุดข้อมูลทุก ๆ ระยะทาง 20 เมตร เพื่อเป็นรายงานประกอบการแข่งขัน

การหยุดฉุกเฉิน

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องพัฒนาระบบหยุดรถแบบฉุกเฉิน ทั้งแบบปุ่มกด และแบบทางไกลระยะอย่างต่ำ 20 เมตร และสาธิตให้คณะกรรมการพิจาณาว่าสามารถหยุดรถได้จริงในกรณีฉุกเฉินก่อนการแข่งขันทุกครั้ง

เวลาในการแข่งขัน

เวลาที่ใช้ในการแข่งขันสูงสุดของแต่ละทีมคือ 20 นาที ผู้เข้าแข่งขันสามารถขอยุติการแข่งขันก่อนเวลาการแข่งขันสูงสุดได้ โดยมีข้อกำหนดขณะเริ่มการแข่งขันว่าจะต้องเคลื่อนที่ออกจากจุดสตาร์ทให้ได้ภายใน 5 นาที ในช่วง 5 นาทีนี้ผู้เข้าแข่งขันสามารถรีไทร์ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ผลของการแข่งขันจะพิจารณาจากการวิ่งครั้งไกลที่สุด รถถูกพิจารณาว่าออกนอกเส้นทางเมื่อทุกล้อออกนอกถนน

การพิจารณาผลการแข่งขัน

การแข่งขันในรอบแข่งคัดเลือก ผู้เข้าแข่งขันจะต้องพัฒนารถไร้คนขับให้วิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดให้ที่มีสิ่งกีดขวางติดตั้งอยู่บนเส้นทางอย่างสุ่ม ทีมที่วิ่งได้ระยะทางไกลที่สุดเร็วที่สุด 8 ทีมแรกจะได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 50,000 บาท

ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ รถอัจฉริยะจำนวน 2 คันจะแข่งขันในสนามเดียวกัน โดยจุดที่ปล่อยรถจะห่างกัน 100 เมตร การตัดสินทีมที่ชนะจะพิจารณาจากทีมที่วิ่งได้ระยะทางรวมไกลที่สุด ระยะทางรวมเป็นระยะทางที่รถวิ่งจริงรวมกับระยะทางโบนัสอันเนื่องมาจากการหลบหลีกสิ่งกีดขวาง คะแนนจากการแข่งขันในรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศจะถูกนำมาใช้ในการคัดเลือกทีมชนะเลิศ

คุณสมบัติของทีมที่เข้าร่วมแข่งขัน

สมาชิกในทีมต้องเป็นนักศึกษาระดับอาชีวะศึกษา ระดับอุดมศึกษา หรือ สูงกว่า ในสถาบันการศึกษาในประเทศไทย มีสมาชิกในทีมไม่เกิน 10 คน และมีอาจารย์ที่ปรึกษาไม่เกิน 3 คน สมาชิกทุกคนในทีมและอาจารย์ที่ปรึกษาต้องเป็นสมาชิกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย

รางวัล

รางวัลชนะเลิศ 300,000 บาทและโล่ห์เกียรติยศ

รางวัลรองชนะเลิศ 200,000 บาทและโล่ห์เกียรติยศ

รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม 50,000 บาทและโล่ห์เกียรติยศ

รางวัลความคิดสร้างสรรค์ 50,000 บาทและโล่ห์เกียรติยศ

รางวัลออกแบบประหยัดพลังงานยอดเยี่ยม 50,000 บาทและโล่ห์เกียรติยศ

8 ทีมที่ทำคะแนนสูงสุดที่ผ่านเข้ารอบแข่งชิงชนะเลิศ ทีมละ 50,000 บาท

กรณีข้อพิพาทของกฏกติกา

ในกรณีที่เกิดข้อพิพาทที่ไม่ได้กำหนดไว้ในกฏให้ถือดุลยพินิจของคณะกรรมการตัดสินเป็นเกณฑ์ ความเห็นของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด

หน่วยงาน

ผู้จัดการแข่งขัน สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย

ภาควิชาเมคาโทรนิคส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (เอไอที)

ผู้สนับสนุนหลักการแข่งขัน บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด

บรรยายภาพ รถอัจฉริยะไร้คนขับทั้งหมดที่เข้าร่วมการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2552

รอบชิงชนะเลิศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๑ องค์การอนามัยโลกจับมือประเทศไทย และ 194 ประเทศ เร่งสร้างฉันทมติดันความเสมอภาคสุขภาพช่องปากเป็นวาระโลก
๑๖:๔๔ กรมอนามัยลงพื้นที่จังหวัดสงขลา มอบรางวัลเชิดชูเกียรติเมืองสุขภาพดีระดับประเทศ และรางวัลเครือข่ายเมืองสุขภาพดีระดับภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก
๑๖:๐๑ EPG มั่นใจยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นในครึ่งหลังของปีบัญชี 67/68 (ต.ค.67 - มี.ค.68) เติบโตดีตามเป้าหมาย เตรียมจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 6 สตางค์ 9
๑๖:๒๔ 51Talk ส่งเด็กไทยเข้าร่วม COP29 การประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บทพิสูจน์การสนับสนุนเยาวชนก้าวสู่เวทีระดับโลก
๑๖:๔๘ ORN เผยโค้งสุดท้ายปี 67 ฟอร์มดี โตต่อเนื่อง ลุยเปิด 3 โครงการใหม่บ้าน-คอนโดฯ มูลค่ารวม 3,070 ล้านบาท
๑๖:๓๓ Dog's Dream คอมมูนิตี้สนามสัตว์เลี้ยงสีเขียว ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
๑๖:๑๔ ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ชูกลยุทธ์ Make a Leap to the New Stage ตอกย้ำพันธกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
๑๕:๔๓ กรุงศรี ขับเคลื่อนกลยุทธ์ GO ASEAN with krungsri ผสานความแข็งแกร่งและร่วมมือในเครือกรุงศรี MUFG และพันธมิตร
๑๕:๓๔ เผยสีสันแห่งการเฉลิมฉลองช่วงสิ้นปี ผ่านกระเช้าของขวัญจากโรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ
๑๕:๔๗ Netflix ส่งหนังไทยคว้าชัยระดับโลก! ออกแบบ-ชุติมณฑน์ คว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม บนเวที International Emmy Awards ครั้งที่ 52 จากผลงานเรื่อง HUNGER คนหิว