ไซแมนเทคประกาศแนวคิดขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนได้ทุกแห่งหน

ศุกร์ ๓๑ กรกฎาคม ๒๐๐๙ ๑๖:๒๗
ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น (Nasdaq; SYMC) ประกาศกลยุทธ์ขั้นต่อไปในการขจัดข้อมูลซ้ำซ้อน เพื่อช่วยองค์กรธุรกิจลดข้อมูลในการจัดเก็บ ลดความซับซ้อนในการจัดการ และลดการใช้โครงสร้างระบบลง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องซื้อสตอเรจเพิ่ม อีกทั้งยังสามารถกู้คืนข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น ช่วยให้ใช้ระบบเวอร์ชวลไลเซชันได้คุ้มค่ายิ่งขึ้น โดยไซแมนเทคได้ขยับระบบขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนให้เข้าไปอยู่ใกล้กับแหล่งข้อมูลต่างๆ มากยิ่งขึ้นด้วยการรวมเทคโนโลยีดังกล่าวไว้ในแพลตฟอร์มของระบบจัดการข้อมูล ได้แก่ เน็ตแบ็กอัพ (NetBackup) แบ็กอัพ เอ็กเซ็ค (Backup Exec) และ เอ็นเตอร์ไพร์ซ วอลท์ (Enterprise Vault) โดยสามารถบริหารจัดการเทคโนโลยีด้านการขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนทั้งของไซแมนเทคเองและของผู้ผลิตอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ลดความซ้ำซ้อนข้อมูลยี่ห้ออื่นๆ

กลยุทธ์ของไซแมนเทคช่วยลดความซ้ำซ้อนได้ใน 3 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

ลดจำนวนข้อมูลจากที่ต่างๆ โดยย้ายเทคโนโลยีขจัดข้อมูลซ้ำซ้อน มาไว้ใกล้แหล่งข้อมูลทั้งหมดยิ่งขึ้น

ลดความซับซ้อนในการขจัดข้อมูลซ้ำ โดยมีระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนทุกรูปแบบได้จากศูนย์กลาง ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีของไซแมนเทคหรือเทคโนโลยีจากพันธมิตร

ลดการใช้งานด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบด้วยการใช้การเทคโนโลยีขจัดข้อมูลซ้ำซ้อน มาช่วยเพิ่มความคุ้มค่าในการทำเวอร์ชวลไลเซชันสำหรับเซิร์ฟเวอร์ โดยให้ความสามารถในการรวมระบบสตอเรจ ให้การปกป้องเซิร์ฟเวอร์ระบบเสมือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้ง่ายต่อการจัดการ

จากการศึกษาเร็วๆ นี้ เกี่ยวกับการสำรวจเรื่อง “หยุดซื้อสตอเรจได้ด้วยการจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ” (จัดทำโดยบริษัท แอพพลายซ์ รีเสิร์ช ในเดือนมีนาคม 2552) พบว่ามีองค์กรจำนวน 51 เปอร์เซ็นต์คาดว่าจะใช้จ่ายเพื่อซื้ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในปี 2552 แม้ว่าองค์กรจำนวนกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เหล่านี้จะมีงบประมาณที่น้อยลงและจำนวนคนน้อยลงกว่าในปี 2551 ก็ตาม อุปกรณ์ที่ใช้ขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนในปัจจุบัน ไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อภาพรวมมากเท่าไหร่ เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้สามารถตอบโจทย์ในแง่ของการจัดการข้อมูลตามวงจรธุรกิจเท่านั้น ในทางกลับกัน เอ็นเตอร์ไพร์ซ วอลท์ ของไซแมนเทค (Symantec's Enterprise Vault) สามารถย้ายข้อความต่างๆ รวมถึงแฟ้มข้อมูลและเนื้อหาในแชร์พอยท์ ออกจากตัวแอพพลิเคชันอย่าง เอ็กซ์เชนจ์ แชร์พอยท์ และไฟล์ที่แชร์การใช้งานบนวินโดวส์ ไปไว้ในอุปกรณ์จัดเก็บโดยมีการขจัดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนออกก่อน (Deduplicated Archive) ได้โดยตรง ซึ่งเป็นการย้ายเทคโนโลยีขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนไปไว้ในแหล่งข้อมูล ทั้งนี้องค์กรธุรกิจที่ใช้เน็ต แบ็กอัพ (NetBackup) หรือ แบ็กอัพ เอ็กเซ็ค 2010 (Backup Exec 2010) สามารถขจัดการสำรองข้อมูลที่ซ้ำซ้อน จากเครื่องไคลเอนด์ได้ทันที และยังสามารถบริหารการขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนในดาต้าเซ็นเตอร์ที่อยู่ในออฟฟิศต่างๆ ทั่วโลกผ่านการควบคุมระยะไกลจากระบบงานส่วนกลาง ผลลัพธ์คือ องค์กรเหล่านี้สามารถลดจำนวนของอุปกรณ์จัดเก็บและสำรองข้อมูลได้มากถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ยังสามารถกู้คืนระบบแอพพลิเคชันได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด

“ไซแมนเทคแนะนำว่าองค์กรต่างๆ ควรลดการใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลด้วยการนำเทคโนโลยีขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนมาช่วยรั้งไว้ไม่ให้ข้อมูลมีขนาดใหญ่จนเกินไป และเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย” โยเกช อกราวัล รองประธาน กลุ่มผลิตภัณฑ์ CommandCentral ของไซแมนเทค กล่าว “เนื่องจากไซแมนเทคได้ทำหน้าที่ในการปกป้องข้อมูลคิดเป็นอัตรากว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนโลกนี้ จึงทำให้ไซแมนเทคอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในการนำเสนอระบบขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนในทุกแห่งหน เพราะโซลูชันของเราถูกนำไปใช้ในทุกที่ที่มีข้อมูลอยู่”

นอกจากนี้ ไซแมนเทคยังมีวิธีการนำเสนอที่เฉพาะไม่เหมือนใคร ในการช่วยลดความซับซ้อนในการขจัดข้อมูลซ้ำ ด้วยการนำเสนอหน้าจอควบคุมในการจัดการการสำรองข้อมูลต่างๆ จากที่เดียว โดยใช้หลักการผสมผสานการทำงานของซอฟต์แวร์ด้านการขจัดข้อมูลซ้ำซ้อน ร่วมกับอุปกรณ์สตอเรจของผู้จำหน่ายรายอื่นที่มีระบบดังกล่าว โดยใช้เอพีไอสำหรับสตอเรจในระบบเปิด OpenStorage API องค์กรต่างๆสามารถขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนที่มีอยู่ทุกที่ในองค์กรได้ ในขณะที่สามารถบริหารจัดการได้จากศูนย์กลาง ช่วยลดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

ไซแมนเทคยังนำเสนอกลยุทธ์ในการขจัดข้อมูลซ้ำซ้อน ในหลายวิธี ดังต่อไปนี้

รวมเทคโนโลยีการขจัดข้อมูลซ้ำซ้อน ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ในเน็ตแบ็กอัพ และ เอ็นเตอร์ไพร์ซ วอลท์ ที่มีระบบขจัดความซ้ำซ้อนในการเก็บรักษาข้อมูล (Deduplicated Archiving) ขจัดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บและสำรองข้อมูล (Deduplicated Backup Storage) และการขจัดความซ้ำซ้อนในการทำสำรองข้อมูลจากระยะไกล (Global Deduplicated Remote Office Backup)

เมื่อเร็วๆนี้ ยังมีการนำเสนอระบบการจัดการรวมจากศูนย์กลางไว้ในเน็ตแบ็กอัพ สำหรับอุปกรณ์สตอเรจจากผู้จำหน่ายรายอื่นที่มีระบบขจัดข้อมูลซ้ำซ้อน ไม่ว่าจะเป็น Data Domain, Quantum, Falconstor และ EMC ผ่านเอพีไอสำหรับสตอเรจระบบเปิด (OpenStorage API)

เน็ตแบ็กอัพ เพียวดิสก์ 6.6 มีกำหนดการวางจำหน่ายภายในปีนี้ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของสตอเรจ ด้วยการเพิ่มระบบขจัดความซ้ำซ้อนแบบล้ำหน้า สำหรับการทำสำรองรูปภาพบนเซิร์ฟเวอร์เสมือน

แบ็กอัพ เอ็กเซ็ค 2010 มีกำหนดวางจำหน่ายภายในปีนี้ โดยจะรวมเอาระบบขจัดข้อมูลซ้ำซ้อน (ใช้เทคโนโลยีของเน็ตแบ็กอัพ เพียวดิสก์) ไว้ในแบ็กอัพ ไคลเอนท์ และแบ็กอัพ เอ็กเซ็ค มีเดีย เซิร์ฟเวอร์ โดยจะมีการเพิ่ม OpenStorage API ไว้ใน แบ็กอัพ เอ็กเซ็ค เพื่อช่วยบริหารจัดการอุปกรณ์เพื่อขจัดข้อมูลซ้ำซ้อน ของผู้จำหน่ายรายอื่น

เน็ตแบ็กอัพ 7 กำหนดวางตลาดในปีหน้าคือ 2553 โดยจะรวมระบบขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนไว้ใน แบ็กอัพไคลเอนท์ และ เน็ตแบ็กอัพ มีเดีย เซิร์ฟเวอร์

คำกล่าวเพิ่มเติม

“เมื่อไม่นานมานี้ เราได้นำ เน็ต แบ็กอัพ เพียวดิสก์ มาใช้เพื่อให้สามารถจัดการเรื่องการขจัดข้อมูลซ้ำซ้อน ทั้งบนเซิร์ฟเวอร์ปกติและเซิร์ฟเวอร์ระบบเสมือนได้ง่ายดายขึ้น และเราก็ได้เห็นถึงการคืนทุนจำนวนมหาศาลแล้วในตอนนี้” อัล ชิปานี ผู้จัดการด้านวิศวกรรมเซิร์ฟเวอร์ จากศูนย์การแพทย์ เวสท์เชสเตอร์ กล่าว “เพียวดิสก์ ช่วยให้เราลดการสำรองข้อมูลบนเครื่องเสมือนได้สูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเทปแบ็คอัพได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ และยังสามารถเก็บข้อมูลสำรองไว้ใช้งานได้ทันทีนานถึงสองเดือนโดยเรียกคืนจากดิสก์ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งเรายังสามารถลดค่าใช้จ่ายต่อไปได้อีก เนื่องจากเพียวดิสก์สามารถจัดเก็บและสำรองข้อมูลที่มีอยู่ไปไว้ในระบบสตอเรจที่เรามีอยู่ โดยไม่ต้องซื้อเทปเพื่อเก็บข้อมูลสำรองเพิ่ม และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลหลักที่เราเลือกไซแมนเทค แทนผู้จำหน่ายระบบขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนรายอื่นที่มีอยู่ในตลาด”

“การขจัดข้อมูลซ้ำซ้อน เป็นรูปแบบที่นิยมใช้ในการลดจำนวนข้อมูลและกำลังได้รับความสนใจจากผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจด้านไอที” สอดคล้องตามคำกล่าวอ้างอิงในรายงานจากรายงานของการ์ทเนอร์ โดย สแตนลี่ ซาฟโฟส และเดฟ รัสเซล ที่ไหนมีการขจัดข้อมูลซ้ำซ้อน ก็จะส่งผลให้ที่นั่นใช้พื้นที่จัดเก็บบนดิสก์ลดลงจาก 1 ใน 3 เหลือเพียง 1 ใน 25 ของพื้นที่การจัดเก็บที่ต้องใช้โดยปกติ นอกจากนี้ ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของพลังงานและระบบทำความเย็น รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในการใช้แบนด์วิธบนเครือข่าย และยังช่วยลดต้นทุนการซื้อลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

สำหรับสื่อมวลชน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :

ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอพีพีอาร์ มีเดีย จำกัด

คุณกณวรรธน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

คุณบุษกร ศรีสงเคราะห์

โทรศัพท์: 02-655-6633 แฟกซ์: 02-655-3560, 02-254-7369

Email: [email protected], [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ