JSP หยุดซื้อขายชั่วคราวระหว่างรอเพิ่มทุน วอนนักลงทุนอย่าตระหนก

จันทร์ ๐๓ สิงหาคม ๒๐๐๙ ๑๖:๒๐
บริษัท เจเอสพี ฟิวเจอร์ส จำกัด โบรกเกอร์ใหญ่ในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า หรือ AFET ถูกระงับการดำเนินธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายสัญญาสินค้าเกษตรล่วงหน้าเป็นการชั่วคราว ตามคำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (สำนักงาน ก.ส.ล.) อ้างอิงคำสั่งของ นายสุดใจ สูนาสวน (รักษาการ) เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 ให้พักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าของบริษัทฯ เนื่องจาก บริษัทฯ มีระดับวงเงินสดสำรองต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่ ก.ส.ล. กำหนด โดย ก.ส.ล. เสนอให้ บริษัทเร่งดำเนินการเพิ่มทุนเพื่อจะกลับมาซื้อขายตามปกติได้อีกครั้ง

ด้านนายชานนทน์ ภู่เจริญยศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเอสพี ฟิวเจอร์ส จำกัด ชี้แจงว่า ปัญหาการขาดสภาพคล่องของบริษัทจนนำมาซึ่งการระงับการซื้อขายนี้ สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ราคายางพาราที่ผันผวนอย่างรุนแรงในช่วงปลายปี 2551 ประกอบกับปริมาณซื้อขายที่เบาบางใน AFET ส่งผลให้ ลูกค้าบางส่วนของบริษัทประสบปัญหาพอร์ตการลงทุนติดลบในเวลาอันรวดเร็วและไม่สามารถปิดสถานะคงค้างได้ ทางบริษัทจึงจำต้องบังคับปิดสถานะ (Force selling) และดำเนินการตามเก็บหนี้สูญดังกล่าวตั้งแต่นั้นมา อย่างไรก็ดี บริษัทยังไม่สามารถแก้ปัญหาหนี้ค้างชำระจากลูกค้าดังกล่าวได้ทั้งหมด อีกทั้งการเพิ่มทุนก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จ เนื่องจากภาวการณ์เติบโตของตลาดไม่เอื้ออำนวย จึงทำให้เงินสดของบริษัทฯ อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ส.ล. กำหนดไว้ จนเป็นผลให้ต้องถูกพักการใช้ใบอนุญาตดังกล่าว อย่างไรก็ดีทางบริษัทขอยืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อวงเงินในบัญชีซื้อขายของลูกค้า เนื่องจากทางบริษัทได้กันวงเงินทั้งสิ้น 45 ล้านบาท เพื่อรองรับการชำระเงินคืนให้กับลูกค้าทุกรายเอาไว้แล้ว

นายชานนทน์ กล่าวต่อว่า ไม่อยากให้ลูกค้าหรือกลุ่มนักลงทุนในตลาดตื่นตระหนกไปกับข่าวนี้ เพราะในระหว่างที่บริษัทฯ พักประกอบกิจการชั่วคราว บริษัทจะช่วยให้ลูกค้าที่มีอยู่ประมาณ 20 % ของตลาดสามารถไปใช้บริการโบรกเกอร์รายอื่นๆในตลาดแทนได้ และล่าสุดบริษัทได้เจรจากับ บริษัท หงต้า ฟิวเจอร์ส ซึ่งเป็นโบรกเกอร์พันธมิตร เพื่อให้มารับดูแลพอร์ตลูกค้าจากเจเอสพีชั่วคราว จนกว่าบริษัทจะกลับมาซื้อขายได้ตามปกติ ซึ่งขณะนี้บริษัทเตรียมทางเลือกสำหรับลูกค้าของบริษัทเอาไว้ 2 ทางเลือกด้วยกัน คือ 1. แจ้งความประสงค์ขอปิดสถานะและขอถอนเงิน หรือ 2. แจ้งความประสงค์ขอโอนบัญชีไปยังโบรกเกอร์พันธมิตร

ในส่วนของการดำเนินการเพิ่มทุนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ส.ล.นั้น นายชานนทน์กล่าวว่า ตนและกลุ่มผู้ถือหุ้นจากญี่ปุ่นกำลังเร่งดำเนินการอยู่ ควบคู่ไปกับการเร่งติดตามทวงหนี้ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นานในการปรับปรุงให้ฐานะทางการเงินของบริษัทกลับมาเป็นปกติ แต่ทั้งนี้ ความสำเร็จในการเพิ่มทุนก็ขึ้นอยู่กับการเติบโตของตลาด AFET เองด้วยเช่นกัน

สำหรับลูกค้าในส่วนของการบริหารจัดการพอร์ตการลงทุน หรือ FTM นั้น ทางบริษัทขอแจ้งให้ทราบว่า บริษัทยังสามารถบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนได้ตามปกติ เนื่องจากใบอนุญาตในการให้บริการเป็นคนละส่วนกัน ซึ่งบริษัทจะเร่งสร้างรายได้ในส่วนนี้ เพื่อมาชดเชยรายได้จากการเป็นนายหน้าระหว่างรอการเพิ่มทุน

บริษัท เจเอสพี. ฟิวเจอร์ส จำกัด 323 อาคารยูไนเต็ด เซ็นเตอร์ ชั้น 17

ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 02-680-4301 แฟกซ์. 02-680-4399

นำเสนอข่าวโดยบริษัทที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ บริษัท โฟร์ฮันเดรท จำกัด

รายละเอียดสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คุณสิทธิกร เสงี่ยมโปร่ง

02-553-3161-3 Email : [email protected], www.4h.co.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ