“ปกติในพื้นที่ภาคใต้ จะมีแม่พันธุ์สุกรประมาณ 8 หมื่นแม่ ในจำนวนนี้เป็นเกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงเพียงรายละ 20-30 แม่ อยู่เป็นจำนวนมาก เกษตรกรเหล่านี้เลี้ยงสุกรโดยใช้ประสบการณ์เดิมเป็นหลัก หากได้รับความรู้ด้านวิชาการการเลี้ยงสุกรอย่างถูกต้องเข้าไปเสริม จะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น นอกจากนี้ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยทักษิณก็จะได้เรียนรู้วิชาการเลี้ยงสุกรอย่างถูกต้อง ทั้งยังจะเป็นกำลังสำคัญในการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้สู่เกษตรกรในภาคใต้ด้วย” นายสมพรกล่าวและว่า
หัวใจการเลี้ยงสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพ 5 ประการ จะประกอบด้วย โรงเรือนที่ดี สายพันธุ์ดี อาหารดี การจัดการดี ตลอดจนการป้องกันโรคดี เพื่อให้ลูกหมูที่ออกมาเป็นลูกหมูที่ดี มีคุณภาพ สำหรับในส่วนของโรงเรือนนั้น ซีพีเอฟได้ปรับปรุงโรงเรือนเดิมภายในมหาวิทยาลัยทักษิณ ให้มีส้วมน้ำ พัดลม และติดตั้งมุ้งกันยุง ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาโรงเรือนเลี้ยงสุกรเดิมของตนเองได้อย่างง่ายดาย ภายใต้งบประมาณเพียงเล็กน้อยราว 2 หมื่นบาทเท่านั้น ขณะเดียวกัน ในส่วนของสายพันธุ์ที่ดี ซีพีเอฟก็ได้มอบแม่พันธุ์สุกร จำนวน 15 แม่ ให้แก่ทางมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ทดลองเลี้ยงในฟาร์มสาธิต ภายใต้การให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดของนักวิชาการซีพีเอฟ
“เทคนิควิชาการเหล่านี้จะช่วยผลผลิตลูกสุกรขุนของเกษตรกรในภาคใต้สูงขึ้น ราว 21-22 ตัวต่อ แม่ต่อปี จากเดิมที่ผลิตได้ราว 18-20 ตัวต่อแม่ต่อปี และอัตราแลกเนื้อจะสูงขึ้นด้วย ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ที่มากขึ้นตามมา”