ประเทศเอเชียเดินหน้าบรรจุแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เชื่อมั่นเป็นแหล่งพลังงานในอนาคต พัฒนาเศรษฐกิจ ตอบสนองการใช้ไฟฟ้าของประชาชนที่เพิ่มขึ้น

จันทร์ ๓๑ สิงหาคม ๒๐๐๙ ๐๘:๓๐
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า หลายประเทศในอาเซียนเริ่มบรรจุแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ในแผนยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน ซึ่งในการประชุมคณะกรรมาธิการเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone Treaty : SEANWFZ) ณ กรุงจากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเร็วๆ นี้ ประกอบด้วย 10 ประเทศในเอเชียฯ และ 5 ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ครอบครอง ได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน มีข้อตกลงร่วมกันสำหรับประเทศที่มีแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ว่าจะไม่มีการพัฒนาที่นำไปสู่การทำอาวุธนิวเคลียร์จากการเสริมสมรรถนะ (Enrichment) ของยูเรเนียม และการแปรสภาพ (Reprocessing) ของเชื้อเพลิงที่ใช้แล้ว นอกจากนั้นสนับสนุนสำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat : ASEC) ในการติดตามความคืบหน้าพัฒนาการด้านพลังงานนิวเคลียร์ของกลุ่มประเทศอาเซียน และเป็นหน่วยงานให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ที่ถูกต้อง

ทั้งนี้ ความคืบหน้าของการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในเอเชียหลายประเทศได้มีการวางแผนแล้ว และบางประเทศแม้จะมีการเลื่อนโครงการออกไปแต่ก็ยังคงบรรจุไว้ในแผนพลังงานของประเทศ ประเทศมาเลเซีย มีแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ร่างไว้ในแผนและนโยบายด้านพลังงานของประเทศ และอาจพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ภายใน 10-15 ปีข้างหน้า

ประเทศเวียดนาม บรรจุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ในยุทธศาสตร์พลังงานของประเทศ และกำหนดเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกขนาด 2,000 เมกะวัตต์ ในปี 2020 ขณะที่ประเทศอินโดนีเซีย ตามแผนด้านพลังงานยังคงให้มีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แม้ว่าจะมีการประกาศเลื่อนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จากเดิมในปี 2017 เลื่อนเป็นปี 2025 ด้วยเหตุผลด้านการเมืองและวิกฤตเศรษฐกิจ

สำหรับสหภาพพม่า ในคราวการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนที่ผ่านมา พม่าแจ้งในที่ประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนว่าพบแหล่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมากบริเวณเมาะตะมะ และเบงกอล พร้อมกับมีแนวทางส่งก๊าซฯ จำหน่ายให้กับประเทศจีน ซึ่งจะเป็นยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาประเทศโดยกำหนดให้ใช้ฐานทรัพยากรจากก๊าซธรรมชาติเป็นตัวเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรมและระบบโลจิสติกส์ของประเทศในทศวรรษต่อไป ในการนี้โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าสหภาพพม่าน่าจะยังไม่มีการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในขณะนี้

นายทวารัฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศอื่นที่ยังมีแผนพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มเติม ได้แก่ จีน อินเดีย และเกาหลีใต้ โดยหลักการที่ประเทศส่วนใหญ่เห็นร่วมกันถึงการจัดหาและกระจายแหล่งเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ความมั่นคงด้านพลังงานเป็นเหตุผลสำคัญ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ นอกจากนี้ความคืบหน้าของการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของไทยอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม ในด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย การเลือกใช้เทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากรและทำความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งถ้าเป็นไปตามแผน กระทรวงพลังงานจะนำเสนอผลการศึกษาต่อรัฐบาลอีกครั้งประมาณปลายปี พ.ศ. 2553 หรือต้นปี พ.ศ. 2554”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ