กระทรวงวัฒนธรรมจับมือกระทรวงวิทยาศาสตร์ พัฒนาข้อมูลสร้างมูลค่าเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

อังคาร ๐๑ กันยายน ๒๐๐๙ ๑๓:๔๑
กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนาข้อมูลกลางระบบดิจิทัล เผยแพร่องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม สร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและความรู้ด้านวัฒนธรรม ให้สามารถเข้าสู่ระบบการใช้บริการได้อย่างรวดเร็วและทันสมัย ถือเป็นการยกระดับการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมจากรากหญ้าสู่สากล และช่วยสร้างความเข็มแข็งทางเศรษฐกิจของประเทศ

นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการนำทุนทางวัฒนธรรมมาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศและระดับสากลตามนโยบายของรัฐบาล จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม โดยรวบรวมองค์ความรู้ ภูมิปัญญาตั้งแต่ในส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น จนถึงระดับหมู่บ้าน และชุมชน ซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรมอันมีคุณค่ายิ่งของประเทศ ที่คนไทยจะต้องร่วมกันรักษา สืบทอด และส่งเสริมวัฒนธรรมในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านส่งเสริมความรู้ และพัฒนาเศรษฐกิจ

“ฐานข้อมูลที่มุ่งเน้นให้บริการประชาชน มีจำนวน ๖ ด้าน ได้แก่ ด้านหอสมุดและจดหมายเหตุ ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ ด้านอุทยานประวัติศาสตร์ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และด้านนาฏศิลป์ดนตรี ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อจัดเก็บ วิเคราะห์ประมวลผล การนำเสนอข้อมูลในรูปดิจิทัล และการจัดทำระบบฐานข้อมูลชุมชน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างทรัพยากรบุคคลของทั้งสองกระทรวง ตลอดจนการดำเนินการอื่นๆ ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้การพัฒนาข้อมูลในด้านทุนทางวัฒนธรรมสามารถอำนวยความสะดวกให้การดำเนินงานของกระทรวงฯ เป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและความรู้ด้านวัฒนธรรมมากขึ้น” รมว.วธ.กล่าว

ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนยี (วท.) กล่าวว่าจากการร่วมมือของทั้งสองกระทรวงในครั้งนี้ กระทรวงวิทย์ฯ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จะช่วยพัฒนาข้อมูลและบุคลากรที่จะใช้เทคโนโลยีในการจัดทำระบบฐานข้อมูล ตามโครงการดิจิตอลไทย เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม พร้อมทั้งเสริมสร้าง เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) ภายใต้แนวคิด ETC (Economy, Technology, Culture) ที่เป็นการนำข้อมูลเชิงวัฒนธรรมจากรากหญ้า ที่เกิดจากชุมชน เครือข่าย และข้อมูลจากหน่วยงาน มาผสานกับเทคโนโลยี ทำให้มีการเพิ่มทุนทางวัฒนธรรม ก่อให้เกิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยเป้าหมายสูงสุดของความร่วมมือในครั้งนี้ คือการนำขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้เป็นเครื่องมือช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และฐานข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรม และนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกัน เป็นการสร้างความเข็มแข็งให้กับประเทศทั้งในด้านการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับศิลปวัฒนธรรมไทย รวมทั้งสร้างโอกาสสำหรับการเข้าถึงเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ สิ่งสำคัญคือการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย โดยนำงานวิจัยของกระทรวงฯเข้ามาสนับสนุน อาทิ ระบบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์,ระบบแนะนําแผนท่องเที่ยวในจังหวัดอยุธยา,ระบบแนะนําข้อมูลเชิงวัฒนธรรม ท่องเที่ยว และเทศกาลไทย บนโทรศัพท์มือถือ , การพัฒนาโปรแกรมออกแบบลวดลายทอผ้าและฐานข้อมูลลายทอผ้าพื้นถิ่นภาคเหนือสําหรับวิสาหกิจชุมชน , โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลชุมชนเพื่อการสืบสานวัฒนธรรม และการพัฒนาที่ยั่งยืน ,ระบบจัดเก็บองค์ความรู้ถาวรแบบดิจิทัลสําหรับโขน เป็นต้น

หมายเหตุ

ผลงานการวิจัยและพัฒนาดังกล่าว จะนำไปจัดแสดงในงานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค ประจำปี 2552 ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี วันที่ 23-25 กันยายน 2552 ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.nectec.or.th/ace2009

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ดร.ทัศนีย์ เจริญพร

ผู้อำนวยการฝ่าย หน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาสื่อดิจิตอล

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

โทรศัพท์ 02564-6900 ต่อ 2630

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ