แนวโน้มตลาดอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์พืชบูม ผลักดันไทยสู่เวทีโลก

พุธ ๐๒ กันยายน ๒๐๐๙ ๑๖:๓๙
สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย ชี้อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่มีผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรที่จะเข้าสู่กระบวนการแปรรูป ในปัจจุบันตลาดเมล็ดพันธุ์เริ่มมีการแข่งขันสูงขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศอันอุดมสมบูรณ์และภูมิอากาศที่หลากหลายเหมาะแก่การผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ ส่งผลให้ประเทศมีมูลค่าการค้าเมล็ดพันธุ์พืชไร่ทั้งภายในประเทศและส่งออกติดอันดับหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ของภูมิภาคเอเซีย และในปี 2552 นี้ คาดว่ามูลค่าตลาดเมล็ดพันธุ์ในประเทศและส่งออกประมาณ 6,000 ล้านบาท เตรียมสนับสนุนสมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค (APSA) จัดงานประชุม Asian Seed Congress 2009 ที่กรุงเทพฯ วันที่ 8-12 พฤษจิกายน นี้ เผย 44 ประเทศตอบรับเข้าร่วมประชุมภายใต้หัวข้อ “เมล็ดพันธุ์เพื่ออาหารของโลก (Seed for Global Food)”

นายพาโชค พงษ์พานิช นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THAI SEED TRADE ASSOCIATION - THASTA) และรองประธานกรรมการ คณะกรรมการจัดการประชุม Asian Seed Congress 2009 เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดและการแข่งขันในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์พืชของประเทศไทยในปี 2552 นี้ สำหรับพืชไร่ซึ่งมีข้าวโพดไร่เป็นพืชหลัก ภาวะตลาดเมล็ดพันธุ์ค่อนข้างคงตัวทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 18,000 ตัน จากพื้นที่ปลูกทั้งสองรุ่น (รุ่นแรกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน และรุ่นที่สองช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) และมีแนวโน้มลดลงในรุ่นที่สองรวมทั้งข้าวโพดหลังนา เนื่องจากราคาผลผลิตรุ่นแรกตกต่ำ ทำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่น เช่น อ้อย มันสำปะหลัง และถั่วเขียวผิวมัน เป็นต้น การแข่งขันด้านเมล็ดพันธุ์ค่อนข้างสูงเนื่องจากมีเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีให้เกษตรกรเลือกอย่างพอเพียงในขณะที่ตลาดเริ่มหดตัว ทำให้มูลค่าการค้าเมล็ดพันธุ์พืชไร่ในประเทศต่อปี อยู่ที่ประมาณ 2,300 ล้านบาท และมูลค่าส่งออกข้าวโพดไร่ประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยมูลค่ารวมตลาดเมล็ดพันธุ์พืชผัก พืชไร่ และไม้ประดับในประเทศรวมอยู่ที่ 3,500 ล้านบาท โดยมีพื้นฐานมาจากพืชไร่ที่สำคัญ เช่น ข้าวโพดไร่ ทานตะวัน และข้าวฟ่าง ส่วนเมล็ดพันธุ์ผักที่สำคัญ 5 อันดับ ได้แก่ พืชตระกูลแตง เช่น แตงโม แตงกวา พืชตระกูลกระหล่ำ เช่น กระหล่ำปลีและกระหล่ำดอก และข้าวโพดหวาน ด้านความคืบหน้าของไทยในการเพิ่มบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์ รวมทั้งพัฒนาพันธุ์ของตนเองเพื่อการส่งออกของเมล็ดพันธุ์พืชไร่และพืชผัก ตามนโยบายของรัฐที่สนับสนุนให้เอกชนเข้ามาทำงานวิจัยและปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งเป็นการยืนยันถึงคุณภาพของงานปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อการค้าเมล็ดพันธุ์ได้เป็นอย่างดี โดยที่มีเอกชน และหน่วยงานของรัฐ มีพันธุ์ที่คุณภาพดีเป็นของตนเองที่พัฒนาขึ้นมาได้อย่างต่อเนื่อง

ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ของไทย อาทิ ปัญหาเรื่องการการละเมิดและการลักลอบผลิตเมล็ดพันธุ์ผู้อื่น, การลักลอบซื้อเมล็ดพันธุ์จากแปลงผลิตและนำมาขายในราคาที่ต่ำกว่าเนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายด้านงานวิจัยปรับปรุงพันธุ์และพัฒนาด้านการตลาด, การปลอมแปลงสินค้าออกมาจำหน่าย, ปัญหาในทางปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆที่กระทบต่อผู้ประกอบการ เช่น พรบ.พันธุ์พืช ที่มีระเบียบบางประการที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของธุรกิจเมล็ดพันธุ์, ปัญหาการนำเข้า-ส่งออกของเมล็ดพันธุ์ ที่เป็นอุปรรคต่อการค้าเมล็ดพันธุ์ระหว่างประเทศ อันเนื่องจากกฎระเบียบบางประการ เช่น การประเมินความเสี่ยงของศัตรูพืชที่ไม่เอื้อต่อธุรกิจเมล็ดพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีโรคพืชสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืชไร่ ได้แก่ โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย, โรคใบไหม้, โรคใบด่างที่เกิดจากเชื้อไวรัส, โรคราสนิม, โรคกาบใบเน่า, โรคต้นเน่า และฝักเน่าจากเชื้อรา และแบคทีเรีย เป็นต้น ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ รวมถึงความมั่นใจในการลงทุนด้านการปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ หรือการพัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อส่งออกทั้งสิ้น

สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทยได้รณรงค์ยกระดับคุณภาพร้านค้าเมล็ดพันธุ์โดยริเริ่มโครงการ ”ร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์คุณภาพ” ช่วยให้เกษตรกรไทยเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ใหม่คุณภาพดี เพราะเป็นการพัฒนาร้านค้าจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ให้ปรับปรุงและพัฒนาตนเองให้ได้มาตรฐานตามกฎหมาย และมีความรู้เกี่ยวกับคุณภาพเมล็ดพันธุ์เป็นอย่างดี เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้เกษตรกรที่ซื้อเมล็ดพันธุ์ว่าได้รับเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และสมาคมฯมีนโยบายที่จะขยายจำนวนร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์คุณภาพเพิ่มเติมและครอบคลุมทั่วประเทศทั้งเมล็ดพันธุ์พืชไร่ และพืชผักเพิ่มถึง 500 ร้านในปี 2553

การที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชียแปซิฟิค (Asian Seed Congress 2009) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2552 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิล์ด กรุงเทพฯ โดยสมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค (APSA) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.), กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทยและสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย เพื่อตอกย้ำศักยภาพของประเทศในฐานะผู้นำตลาดอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของภูมิภาค ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ตลาดการค้าเมล็ดพันธุ์ก็ยังสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ตลอดเวลาอย่างไม่หยุดนิ่ง เนื่องจากเมล็ดพันธุ์คือวัตถุดิบพื้นฐานสำคัญของชีวิตและเป็นความมั่นคงของประเทศ อีกทั้งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำปัจจัยการผลิตที่สำคัญอันดับแรกที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และมีความสำคัญในการสร้างรายได้แก่เกษตรกรไทย นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของไทยด้วยพื้นฐานแนวคิด 4 ประการ ได้แก่ การเปลี่ยนวิธีคิดมาเป็นผู้พัฒนาหรือเจ้าของสายพันธุ์, การสร้างความเข้มแข็งทางด้านเทคโนโลยี, การพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐาน และการประสานเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 44 ประเทศ ที่ได้ตอบรับการเข้าร่วมประชุม

ฝ่ายประชาสัมพันธ์

โทร. 02-655-3131 โทรสาร 02-655-3124

อีเมล์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO