สถาบันสุขภาพเด็กฯ ผลิตสื่อ

จันทร์ ๑๔ กันยายน ๒๐๐๙ ๑๔:๐๖
สถาบันสุขภาพเด็กฯ ระบุเด็กไทยมีความเสี่ยงรับ ‘สารตะกั่ว’ ที่ปนเปื้อนมากับอาหารและน้ำดื่ม ชี้ร่างกายเด็กดูดซึมสารพิษได้มากกว่าผู้ใหญ่ถึง 5-10 เท่า แม้รับสารปริมาณต่ำก็สามารถทำลายสมองและประสาท มีพัฒนาการช้าและถดถอย สมาธิสั้น ทำให้เกิดปัญหาการเรียน การจัดรณรงค์ป้องกันภัยอาหารปนเปื้อนสารตะกั่ว มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กไทยฉลาดรู้ ฉลาดเลือก และฉลาดบริโภค

พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ถึงแม้ปัจจุบันจะพบผู้ป่วยเด็กที่ได้รับสารพิษจากตะกั่วไม่มาก แต่ก็ยังพบได้ประปราย โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเด็กวัย 2 ขวบไม่ยอมเดินมีพัฒนาการช้าเข้ารับการรักษาในสถาบันฯ จากการตรวจหาสาเหตุและส่งเลือดตรวจเพิ่มเติม พบว่าเป็นผลจากการได้รับสารตะกั่วผ่านทางเดินอาหารเป็นระยะเวลานาน ทำให้สมองมีการสูญเสียถาวร ซึ่งหลังการรักษาแล้วพัฒนาการของเด็กยังคงล่าช้าเมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน

“สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติฯจึงจัดทำสื่อเผยแพร่ โครงการ “รณรงค์ป้องกันภัยอาหารปนเปื้อนสารตะกั่ว” ภายใต้โครงการ “อาหารปลอดภัยเด็กไทยฉลาด” กระทรวงสาธารณสุข โดยมีเป้าหมายให้เด็กไทยฉลาดรู้ ฉลาดเลือก และฉลาดบริโภค สอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิเด็กของ UNICEF และ UNEP ที่ระบุว่าเด็กควรได้รับการปกป้องคุ้มครองให้ปลอดภัยจากผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการปกป้องเด็กให้ปลอดภัยจากพิษของสารตะกั่ว เนื่องจากเด็กเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมากที่จะได้รับผลกระทบ เพราะร่างกายของเด็กสามารถดูดซึมสารตะกั่วให้เข้าสู่ร่างกายได้มากถึง 50% เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ที่ดูดซึมเพียง 10-15% เท่านั้น”

พญ.รัตโนทัย พลับรู้การ รองผู้อำนวยการ และที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า โครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี โดยในปีแรกนี้จะเป็นการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของสารตะกั่วที่มีต่อสุขภาพให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับอาหารในโรงเรียน และผลิตสื่อให้ความรู้แก่เด็กเพื่อไปกระตุ้นให้พ่อแม่ผู้ปกครองตระหนักถึงพิษภัยของสารตะกั่วที่ปนเปื้อนในอาหารและน้ำ โดยเฉพาะการส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการด้านสมองของเด็ก

“เราคาดหวังว่าผู้ที่ทำอาหารให้เด็กทานจะระมัดระวังทุกขั้นตอนในการปรุงอาหารให้ห่างไกลจากสารตะกั่ว เด็กๆที่โตแล้ว จะรู้วิธีเลือกอาหารที่ปลอดภัยจากสารตะกั่ว และรู้ความสำคัญของการล้างมือก่อนและหลังทานอาหาร การกินอาหารครบ 5 หมู่ การได้รับ ธาตุเหล็ก แคลเซียมและวิตามินซี เพียงพอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันการได้รับและลดการดูดซึมสารตะกั่วเข้าสู่รางกายได้ดี ในปีที่ 2 และ 3 คือปี 2553 และ 2554 สถาบันฯจะลงสำรวจพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการรับสารตะกั่วสูง เช่นพื้นที่ที่พบเด็กที่มีปัญหาโรคนี้ รวมทั้งการผลิตสื่อความรู้ให้เข้าถึงเด็กและผู้ปกครองได้มากยิ่งขึ้น”

พญ.นัยนา ณีศะนันท์ กุมารแพทย์ จากหน่วยกุมารเวชศาสตร์สังคมและวัยรุ่น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เลขาโครงการฯเผยว่าแม้“พิษภัยสารตะกั่ว”ในประเทศไทยจะไม่ใช่ปัญหาหลักของสาธารณสุข เนื่องจากมีการเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมันที่มีสารตะกั่วเป็นส่วนผสม มาใช้น้ำมันไร้สารตะกั่ว ทำให้ประเทศไทยไม่มีปัญหาการปนเปื้อนสารตะกั่วในอากาศที่เกินมาตรฐาน แต่สิ่งที่ยังเป็นความเสี่ยงอยู่คือ “การปนเปื้อนในอาหาร น้ำดื่มและผงฝุ่น” ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องป้องกัน เพราะเมื่อเด็กคนหนึ่งได้รับพิษจากสารตะกั่วไปแล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะอยู่ตลอดไป โดยเฉพาะสมองที่กำลังพัฒนาไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้

“การรณรงค์ในปีนี้ได้จัดทำสื่อโปสเตอร์ แผ่นพับและสื่อVCD ให้กับโรงเรียนประถมและมัธยม 926 โรงเรียนทั่วประเทศ เหตุที่เลือกเด็กเป็นหลัก เพราะร่างกายของเด็กดูดซึมสารตะกั่วได้มากกว่าผู้ใหญ่ 5-10 เท่า และสารตะกั่วที่อยู่ในร่างกายของเด็กมีสัดส่วนการกระจายอยู่ในเนื้อเยื่อมากกว่าผู้ใหญ่ ร้อยละ 30 ต่อร้อยละ 10 ทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายเด็กได้มากกว่า โดยไม่แสดงอาการใดๆ ให้เห็นจากภายนอกเลย หากเด็กได้รับสารสะสมในปริมาณต่ำแต่ติดต่อกันเป็นเวลานานจะเป็นโรคพิษตะกั่วเรื้อรัง ทำให้เกิดอันตรายต่อสมองและระบบประสาท และระดับสารตะกั่วในเลือดที่เพิ่มขึ้นทุก 10?g/dl จะทำให้สติปัญญาต่ำลง 4-7 จุด จากงานวิจัยของต่างประเทศพบว่าแม้ในระดับต่ำกว่านี้ อาจส่งผลกระทบต่อการเรียนและพฤติกรรมของเด็ก เช่น เรียนรู้ช้า สมาธิสั้นและพัฒนาการถดถอย”

พญ.นัยนา ยังกล่าวถึงโอกาสในการปนเปื้อนสารตะกั่วที่มากับอาหารและน้ำดื่มของประเทศไทยว่า มาจากการปนเปื้อนในอาหารที่จำหน่ายข้างถนน โดยเฉพาะบริเวณที่มีการทุบตึกหรือการก่อสร้าง เพราะอาจจะมีผงฝุ่นตะกั่วซึ่งเป็นส่วนผสมในสีทาบ้านปนมาในอากาศติดตามเสื้อผ้าและภาชนะได้ จากหม้อก๋วยเตี๋ยว ตู้น้ำดื่ม หม้อกาแฟโบราณ ที่มีการเชื่อมบริเวณรอยต่อด้วยโลหะซึ่งมีส่วนผสมของตะกั่ว เมื่ออุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นถึง 80 องศาเซียลเซียส สารตะกั่วจะละลายปนเปื้อนออกมากับน้ำ ภาชนะเซรามิคที่มีสีและลวดลายสวยงามอยู่ในบริเวณที่ต้องสัมผัสกับอาหารโดยตรง และจากของเล่นเด็กที่ใช้สีผสมสารตะกั่วในการเพิ่มสีสันเมื่อเด็กนำไปเล่นมักจะอม หรือนำมือที่สัมผัสของเล่นเข้าปาก ก็จะรับสารตะกั่วผ่านทางเดินอาหารได้

“สารตะกั่วไม่สามารถทำลายได้ด้วยความร้อน แต่สามารถกำจัดได้โดยป้องกันไม่ให้เข้ามาอยู่ในวงจรชีวิตโดยเฉพาะ“ปนเปื้อนในอาหาร” เพราะสารตะกั่วสามารถเข้าสู่ร่างกายคนเราโดยผ่านทางลมหายใจ และดูดซึมผ่านทางเดินอาหาร ซึ่งสารตะกั่วในร่างกายปริมาณน้อยๆร่างกายจะกำจัดออกทางปัสสาวะและทางตับ แต่ถ้าร่างกายมีปริมาณสารตะกั่วมากเกินกว่าจะกำจัดทิ้ง สารตะกั่วจะไปสะสมอยู่ที่กระดูก ฟัน และอวัยวะต่างๆ เช่น ไต ตับ สมอง และปอด”

พญ.นัยนา ยังแนะวิธีป้องกันภัยเด็กจากสารตะกั่วเพิ่มเติมว่า คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ใช้ภาชนะอาหารที่มีลวดลายหรือตกแต่งด้านในที่สัมผัสอาหาร หรือภาชะที่เคลือบเสื่อม ไม่ใช้ภาชนะเซรามิคในการเก็บอาหารที่เป็นกรด เช่นน้ำส้มสายชู ขนมที่มีรสเปรี้ยว ผลไม้ดอง เพราะสีที่ใช้ทำลวดลายอาจมีส่วนผสมของสารตะกั่ว เลือกร้านอาหารที่ใช้หม้อก๋วยเตี๋ยวอนามัย และต้องเลือกของเล่นที่ไม่ใช้สีผสมสารตะกั่วรวมทั้งระมัดระวังไม่ให้บุตรหลานนำของเล่นเข้าปาก เป็นต้น.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๒ เม.ย. แจกจริง! แบรนด์ซุปไก่สกัดส่งมอบรถเทสล่า มูลค่า 1.649 ล้านบาท ให้ผู้โชคดี ในแคมเปญ ดื่มแบรนด์ สแกนเลขในขวด ปี
๐๒ เม.ย. GFC ตอบโจทย์ทุกความปลอดภัยเรื่องอาคาร - ถังแช่แข็งตัวอ่อน เปิดให้บริการสำหรับผู้มีบุตรยากตามปกติครบ 3
๐๒ เม.ย. KJL ลุยภาคใต้! จัดใหญ่สัมมนา 'รวมพลคนไฟฟ้า ON TOUR' ที่ภูเก็ต
๐๒ เม.ย. แว่นท็อปเจริญ จับมือ กรมกำลังพลทหารบก แนะแนวการศึกษาและอาชีพ สร้างโอกาสแก่ทหารกองประจำการและครอบครัว
๐๒ เม.ย. AnyMind Group คว้ารางวัล Gold ในงาน Martech Innovation Awards 2025
๐๒ เม.ย. โชว์พลังดีไซน์ไทยในงาน STYLE Bangkok 2025 รวมแบรนด์ดาวรุ่งจาก Talent Thai และ Designers' Room ที่คุณไม่ควรพลาด
๐๒ เม.ย. ธนาคารกสิกรไทย จัดสัมมนาใหญ่ K WEALTH Forum: เจาะลึก 5 ปัจจัยเปลี่ยนเกมการลงทุนโลก
๐๒ เม.ย. PSP ปิดดีลทุ่ม 409.5 ลบ. ถือหุ้นใน รีไซเคิล เอ็นจิเนียริ่ง (RE) ปักหมุดธุรกิจสู่ศูนย์กลางรีไซเคิลสารเคมีแห่งภูมิภาค
๐๒ เม.ย. กลุ่มซีไอเอ็มบี เปิดรับสมัครสอบชิงทุน CIMB ASEAN Scholarship 2025 ทุนเรียนต่อปริญญาตรี - ปริญญาโท พร้อมโอกาสร่วมงานกับกลุ่มซีไอเอ็มบี
๐๒ เม.ย. ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค เปิดพิกัดจุดสรงน้ำพระ เสริมสิริมงคลกับเทศกาล สงกรานต์อิ่มบุญ