ม.อ.ชี้ธรรมชาติเสียสมดุล ต้นตอหอยแมลงภู่ตาย แนะปรับขนาดแพเลี้ยง-เพิ่มการหมุนเวียนน้ำ

อังคาร ๑๕ กันยายน ๒๐๐๙ ๑๔:๐๔
ม.อ.เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยแมลงภู่ตามชายฝั่ง ระวังสภาพแวดล้อมเปลี่ยนจากการเพิ่มปริมาณการเลี้ยงและฝนหนัก ชี้ระบบการหมุนเวียนของน้ำเปลี่ยนแปลง ทำให้หอยแมลงภู่เกิดอาการเครียดและเสี่ยงต่อการตายง่ายขึ้น แนะลดจำนวนการเลี้ยงและปรับแพหอยให้มีขนาดเล็กลง เพื่อรักษาสมดุลย์ของธรรมชาติ

รศ.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ เปิดเผยว่า จากปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักในปีนี้ซึ่งส่งผลกระทบต่อระดับความเค็มของน้ำ รวมทั้งปริมาณการเลี้ยงที่หนาแน่น มีผลต่อการเลี้ยงหอยแมลงภู่ของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงหอย ซึ่งในปีนี้จะต้องมีความระมัดระวังในการเลี้ยงหอยแมลงภู่มากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมา ทางมหาวิทยาลัยได้เข้าไปศึกษาการตายของหอยแมลงภู่ในหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 4 ของอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ที่มีกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยอยู่ 89 ราย จำนวน 100 แพ พบว่า หอยแมลงภู่ที่เลี้ยงไว้ตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของน้ำอย่างฉับพลัน

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบหอยแมลงภู่ที่อยู่ในถุงอวน พบว่า หอยแมลงภู่ที่อยู่ด้านบนหรือที่อยู่ในระดับผิวน้ำมีการตายมากกว่าหอยแมลงภู่ที่อยู่ด้านล่าง เนื่องจากระดับความเค็มของน้ำทะเลมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าและเร็วกว่าระดับน้ำที่อยู่ลึกลงไป ส่งผลให้หอยแมลงภู่ไม่สามารถปรับตัวได้ นอกจากนี้ วิธีการเลี้ยงหอยแมลงภู่ของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว ต่างเพิ่มปริมาณการเลี้ยงหอยแมลงภู่เพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้วถึง 2-3 เท่า มีผลต่อระบบการไหลเวียนของน้ำที่ไม่ดี ทำให้ปริมาณอาหารที่หอยแมลงภู่ได้รับน้อยลง เมื่อรวมกับปัจจัยของระดับความเค็มของน้ำทะเลที่ลดลงจากปริมาณฝนที่ตกหนัก ทำให้หอยแมลงภู่เกิดความเครียด อ่อนแอ และเมื่อหอยเกิดการตาย ทำให้สภาพน้ำยิ่งเสื่อมลง เกิดเชื้อโรคและส่งผลให้หอยแมลงภู่ตายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

“การชะล้างของน้ำฝนทำให้เกิดตะกอนสีต่างๆ ที่เป็นปัญหาต่อหอยที่กินอาหารด้วยการกรอง แม้ว่าหอยแมลงภู่จะมีกลไกในการจัดการกับตะกอนแขวนลอยในน้ำ แต่ด้วยปริมาณการเลี้ยงหอยที่เพิ่มขึ้น ทำให้ระบบการไหลเวียนของน้ำไม่ดี จึงเป็นผลทำให้หอยแมลงภู่ตายเป็นจำนวนมาก” รศ.ชูศักดิ์ กล่าว

รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ม.อ. วิทยาเขตหาดใหญ่ กล่าวด้วยว่า กลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงหอยแมลงภู่โดยอาศัยการเลี้ยงที่อยู่อาศัยแบบธรรมชาติเป็นหลัก จะต้องคำนึงถึงความสามารถของระบบด้วยว่า จะสามารถรองรับปริมาณหอยได้มากน้อยได้เท่าใด ซึ่งจะเป็นลักษณะของการจัดการการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติให้ยั่งยืนโดยไม่เสียสมดุล โดยในกรณีนี้ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยแมลงภู่ควรลดจำนวนแพและปรับขนาดแพหอยให้เล็กลง ไม่แขวนถุงบรรจุหอยให้แน่นจนเกินไปจนส่งผลกระทบต่อระบบการไหลเวียนของน้ำ ซึ่งจะช่วยลดการตายจากการเลี้ยงหอยแมลงภู่ลงได้

เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์โดยบริษัทมาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ ในนามมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ : พิภพ ฆ้องวง (ท๊อป)

โทร. 0-2248-7967-8 ต่อ 118

e-mail address : [email protected]

เว็บไซต์ : www.mtmultimedia.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ