ความคืบหน้าโรงพยาบาลบางขุนเทียน

อังคาร ๑๕ กันยายน ๒๐๐๙ ๑๖:๐๕
เห็นเค้าร่างแล้ว รพ.บางขุนเทียน เป็นศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุครบวงจร 200 เตียง เตรียมหางบ 2 พันล้านบาท โดยออกสลากการกุศลผ่านมูลนิธิ คาดมูลนิธิที่ตั้งขึ้นเริ่มทำงานเดือน พ.ย. 52 เข้าสู่กระบวนการก่อสร้าง โดยแนวคิดการก่อสร้างจะเป็นโรงพยาบาลที่ก่อสร้างอยู่เหนือน้ำ

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงการดำเนินการโรงพยาบาลบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร ว่า จากที่กทม. มีโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลบางขุนเทียน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 200 เตียง เป็น Geriatric Excellence Centre สำหรับบริการผู้สูงอายุเป็น Elderly Centre for Improve Quality of Life & Rehabilitation รับคนไข้ได้ 100 คน งบประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยแนวคิดการก่อสร้างจะเป็นโรงพยาบาลที่ก่อสร้างอยู่เหนือน้ำ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมดี

ผู้บริหารกรุงเทพมหานครได้กำหนดโครงการสร้างโรงพยาบาลบางขุนเทียน โดยหาเงินงบประมาณจากการขอให้ ครม.อนุมัติการออกสลากการกุศลโดยให้เหลือเงินสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000.- ล้านบาท ซึ่งการออกสลากการกุศลสามารถขอได้โดยนิติบุคล กรณีนี้เป็นไปได้ 2 ทางคือ โดยกรุงเทพมหานคร หรือผ่านมูลนิธิ

สำหรับกรณีกรุงเทพมหานครดำเนินการเอง ต้องมีโครงการโดยละเอียดที่ผ่านการพิจารณาจากสภาพัฒน์ จากนั้นกทม. เสนอโครงการผ่านกระทรวงมหาดไทยพิจารณา เพื่อนำเสนอสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งก่อนที่จะเข้าพิจารณาในการประชุม ครม. จะต้องมีการสอบถามความเห็นไปที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระบวนการนี้จะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ซึ่งกรณีนี้น่าจะทำให้การดำเนินการช้าจึงไม่นำมาพิจารณา

กรณีกรุงเทพมหานครดำเนินการโดยผ่านมูลนิธิ มีขั้นตอนที่สั้นกว่า (อ้างอิงการออกสลากการกุศลของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ผ่านมูลนิธิส่งเสริมสวัสดิการสังคมไทย) มีขั้นตอน เริ่มจากประธานมูลนิธิทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีโดยตรงขอออกสลากบำรุงการกุศล สำนักเลขาธิการทำหนังสือเพื่อถามความเห็นไปที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่มูลนิธิเสนอ โดยให้กระทรวงมหาดไทยอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน สำนักงานสลากกินแบ่งดำเนินการตามมติ ครม. ทั้งนี้การจัดตั้งมูลนิธิมีขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนครึ่ง หากเป็นไปตามคาดหมาย มูลนิธิจะสามารถดำเนินการได้ในเดือนพฤศจิกายน 2552 เมื่อการจดทะเบียนมูลนิธิเสร็จและได้ดำเนินการขอออกสลากเพื่อบำรุงการกุศลเรียบร้อย มูลนิธิจะดำเนินการก่อสร้างอาคาร จัดหาเครื่องมือและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ และอื่นๆ จนเสร็จสิ้นสมบูรณ์จึงบริจาคให้กรุงเทพมหานครดำเนินการต่อ

การดำเนินการทั้งหมดดังกล่าวไม่ต้องใช้งบประมาณของทางกรุงเทพมหานคร โดยโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลนี้กรุงเทพมหานครจะถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนี้ ปลัดกทม. รป.กทม.(นายไกรจักร แก้วนิล) และ ผอ.สำนักงานปกครองและทะเบียน จะประชุมร่วมกันเพื่อเสนอขอจดทะเบียนตั้งมูลนิธิต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ