การประชุมเพื่อรับฟังความเห็นของภาคเอกชนในการเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบ Public Private Partnerships (PPPs) สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางซื่อ-บางใหญ่

ศุกร์ ๑๘ กันยายน ๒๐๐๙ ๑๔:๕๗
ในวันนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ในฐานะเลขานุการของคณะทำงานพิเศษเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐในรูปแบบ PPPs (PPP Unit) ร่วมกับธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation: JBIC) จัดการประชุมเพื่อรับฟังความเห็นของภาคเอกชนในการเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบ PPPs สำหรับโครงการรถไฟฟ้า สายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐภายใต้ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 และเป็นโครงการนำร่องของรัฐบาลที่สนับสนุนการลงทุนในรูปแบบ PPPs โดยรัฐบาลมีนโยบายให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในระบบอาณัติสัญญาณ และตัวรถไฟฟ้า (Signaling and M&E/Rolling Stock) รวมทั้งการบริหารจัดการและให้บริการเดินรถ (Operating and Maintenance) การลงทุนในรูปแบบ PPPs ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าช่วยลดข้อจำกัดด้านงบประมาณของภาครัฐ และทำให้รัฐบาลสามารถขยายการลงทุนในโครงการพื้นฐานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อความต้องการของประชาชน การประชุมในวันนี้จัดขึ้นเพื่อให้หน่วยงานเจ้าของโครงการ คือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ กรอบระยะเวลาการดำเนินงานในรูปแบบ PPPs แนวทางการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน (PPP Options) รวมทั้งขั้นตอนการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 โดยในโอกาสนี้ สบน. ได้ชี้แจงถึงการจัดทำคู่มือการดำเนินโครงการในรูปแบบ PPP (PPP Guidelines) ซึ่ง สบน. ในฐานะ PPP Unit ได้จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้การดำเนินโครงการ PPP มีแนวปฏิบัติ ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น โดยภาคเอกชนที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ประกอบด้วย กลุ่มผู้ประกอบการหรือ Trading House ด้านการบริหารจัดการและให้บริการเดินรถของญี่ปุ่น ซึ่งมีบริษัทในเครือรวมทั้งหุ้นส่วนธุรกิจด้านการให้บริการเดินรถ การผลิตตัวรถไฟฟ้า และชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมทั้งได้เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนญี่ปุ่นสอบถามและแสดงความคิดเห็นในมุมมองของภาคเอกชนที่มีต่อ แนวทางการดำเนินโครงการในรูปแบบ PPPs ของ

ภาครัฐตลอดจนกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแนวทางการจัดสรรความเสี่ยงระหว่างรัฐและเอกชน การหารือในครั้งนี้จึงเป็นการสร้างความชัดเจนและความเข้าใจระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนสำหรับการเป็นหุ้นส่วนที่ดีในอนาคต รวมทั้งเป็นการดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศ และสร้างบรรยากาศการแข่งขันที่เปิดกว้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการในอนาคตต่อไป

อนึ่ง การประชุมในครั้งนี้ถือเป็นการรับฟังความเห็นจากภาคเอกชนในโครงการนำร่องที่จะดำเนินการในรูปแบบ PPPs ซึ่ง สบน. ในฐานะ PPP Unit จะใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดประชุมเพื่อจัดทำ Market Sounding สำหรับโครงการลงทุนในรูปแบบ PPPs ภายใต้ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในโอกาสต่อไป

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

โทร. (02) 265-8050 ต่อ 5509 / 5514

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ