พม. รุก “การไกล่เกลี่ย” แก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

พุธ ๒๓ กันยายน ๒๐๐๙ ๑๓:๐๑
ที่สมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ นางนวลพรรณ ล่ำซำ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดการสัมมนา “ผู้ประนีประนอมเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว และอบรมความรู้ ทักษะ เทคนิคการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท” โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ร่วมกับศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา สมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ และเสริมสร้างศักยภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานไกล่เกลี่ยประนีประนอม ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐

นางนวลพรรณ ล่ำซำ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีเจตนารมณ์ที่จะคุ้มครองสิทธิผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว มุ่งให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแจ้งเหตุเมื่อพบเห็นการกระทำความรุนแรงในครอบครัว การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด และรักษาความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว ได้กำหนดให้มีผู้ประนีประนอม ทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทของบุคคลในครอบครัวให้ยุติได้อย่างสมานฉันท์ สามารถรักษาสัมพันธภาพอันดีของครอบครัวไว้ได้ ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณของรัฐไม่ต้องนำคดีการกระทำความรุนแรงในครอบครัวขึ้นสู่ชั้นศาล

“การสัมมนาครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้นำความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ และทักษะ ตลอดจนเทคนิคต่างๆ ไปใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับสหวิชาชีพ และเครือข่ายในชุมชน เพื่อไกล่เกลี่ยประนีประนอมยุติความรุนแรงในครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” นางนวลพรรณ กล่าว

ด้านนางสุทธินี เมธีประภา ผู้อำนวยการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา กล่าวว่า “การไกล่เกลี่ย” เป็นทางเลือกใหม่ในการอำนวยความยุติธรรม คือ การเป็นสื่อกลางในสถานการณ์เมื่อเกิดความร้าวฉานระหว่างคู่ขัดแย้งได้อย่างสร้างสรรค์ มุ่งเน้นให้มีการยุติหรือระงับข้อพิพาทด้วยการตกลงยินยอมของคู่ความเอง โดยผู้ไกล่เกลี่ยจะเป็นคนกลางคอยช่วยเหลือ แนะนำ และหาทางออกในการยุติข้อพิพาท กรณีคดีความรุนแรงในครอบครัวเป็นคดีที่ส่งผลกระทบต่อสถาบันครอบครัว กระบวนการดำเนินคดี และการตัดสินต้องกระทำด้วยความรวดเร็วกว่าคดีโดยทั่วไป เพราะจะส่งผลกระทบทั้งทางร่างกาย จิตใจแก่ครอบครัว โดยเฉพาะหากมีเด็ก เยาวชนเข้ามาเกี่ยวข้อง จากสถิติคดีครอบครัวของศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดภูเก็ต ซึ่งประสบผลสำเร็จในการไกล่เกลี่ย ปี ๒๕๕๑ มีคดีเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย จำนวน ๓๙ เรื่อง ได้รับการไกล่เกลี่ยสำเร็จจำนวน ๑๙ เรื่อง คิดเป็นทุนทรัพย์ ๙,๘๐๗,๗๑๙ บาท และในปี ๒๕๕๒ ระหว่างเดือนมกราคม — พฤษภาคม มีคดีเข้าสู่การไกล่เกลี่ย ๙ เรื่อง ไกล่เกลี่ยสำเร็จ ๗ เรื่อง คิดเป็นทุนทรัพย์ ๑๕,๐๘๙,๒๕๐ บาท

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ