วาโซ่ ขอเชิญร่วมอบรมและสัมมนาเรื่องการใช้มาตรการทางวินัยในการจัดการปัญหาด้านแรงงานโดยชอบด้วยกฎหมาย และ เป็นธรรมทั้งลูกจ้าง และนายจ้าง

พฤหัส ๑๓ ตุลาคม ๒๐๐๕ ๑๔:๒๙
กรุงเทพฯ--13 ต.ค.--วาโซ่
ขอเชิญร่วมอบรมและสัมมนาเรื่องการใช้มาตรการทางวินัยในการจัดการปัญหาด้านแรงงานโดยชอบด้วยกฎหมาย และ เป็นธรรมทั้งลูกจ้าง และนายจ้าง วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2548 เวลา 09.00-16.00 ณ โรงแรมคิงปาร์คอเวนิว ถ.ศรีนครินทร์(ตรงข้ามซีคอนฯ)
ในทุกกิจการ เมื่อแรกรับบุคคลเข้าทำงาน ส่วนใหญ่เกือบจะไม่มีปัญหา แต่หลังจากทำงานร่วมกันมาระยะหนึ่ง ลูกจ้างบางคน ก็เริ่มมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน มีการประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ไม่เหมาะสม มีการฝ่าฝืนข้อกำหนด ที่กำหนดให้ประพฤติปฏิบัติ ฝ่าฝืนข้อห้ามที่ห้ามมิให้ประพฤติปฏิบัติ หากฝ่ายนายจ้าง ไม่มีความเข้าใจในการใช้มาตรการทางวินัย เมื่อถึงคราวที่จะต้องลงโทษลูกจ้าง ก็ทำไม่ถูกต้อง เมื่อลูกจ้างฟ้องศาลแรงงาน ก็ปรากฏว่าฝ่ายนายจ้างเป็นฝ่ายแพ้คดีเป็นส่วนใหญ่ (แพ้คดีประมาณ 80%) จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญสำหรับฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ ฝ่ายการพนักงาน ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ผู้บริหาร โดยวิทยากรได้คัดเลือกคำพิพากษาฎีกาต่างๆ ในส่วนที่ฝ่ายนายจ้างชนะคดี (ที่มีอยู่ประมาณ 20%) มาเป็นตัวอย่างให้คำแนะนำ สำหรับนำมาใช้ในกรณีจำเป็น เพื่อแก้ปัญหาที่ได้ผลและถูกต้อง
กำหนดการ
08.30-09.00 ลงทะเบียน
09.00-16.00 1. ความหมายของวินัยพนักงาน
2. การใช้มาตรการทางวินัยเชิงสร้างสรรรค์ ด้วยการระวัง ดูแล ป้องกัน และเยี่ยวยาแก้ไข
3. ความหมายของการสอบสวน
4. เทคนิคการสอบสวนข้อเท็จจริง
- ทำไมต้องสอบสวนผู้กล่าวหา ก่อนผู้ถูกกล่าวหา จึงจะได้ผลโดยแท้
5. เทคนิคการสอบสวนที่ดี
6. เทคนิคการเตรียมการสอบสวน
7. เทคนิคการรวบรวมพยานหลักฐาน
(ก่อนไปสอบสวน/ระหว่างสอบสวน และการรวบรวมพยานหลักฐาน)
8. ประเภทของพยาน
- ประจักษ์พยาน พยานแวดล้อมกรณี พยานบอกเล่า พยานผู้เชี่ยวชาญ
- พยานบุคคล พยานเอกสาร วัตถุพยาน
9. การจัดทำรายงานการสอบสวน
10. ขั้นตอนการใช้มาตรการในการลงโทษ
10.1 ข้อบังคับ/ตัวบทกฎหมาย/คำพิพากษาฎีกา/ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง
10.2 เหตุมีอยู่จริง ไม่ระบุในคำสั่ง นำมาอ้างใช้ต่อสู้คดีไม่ได้
10.3 ไม่ต้องรอผลคดีอาญา สอบสวนเสร็จ ลงโทษได้โดยชอบ
10.4 มิได้แจ้งข้อหาแต่ต้น แจ้งข้อหาเพิ่มได้
10.5 ไม่กำหนดความผิดครั้งใด ลงโทษเท่าไรจะปลอดภัยกว่า
10.6 ลงโทษต่างกัน ในความผิดเดียวกันได้
10.7 ความประพฤติส่วนตัวไม่เหมาะสม เลิกจ้างได้
10.8 หลักเกณฑ์การออกหนังสือเตือนมีอย่างไร
10.9 ลักษณะคำเตือนที่รัดกุม ถูกต้อง มี 6 ประการ
10.10 วิธีแจ้งคำเตือนเป็นหนังสือที่สมบรูณ์ 7 ประการ
10.11 การเลิกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาจ้างแรงงาน 5 ประการ
11. เหตุลดหย่อนโทษ
12. คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยที่ต้องให้ความสนใจ
12.1 ทำผิดครั้งเดียว ลงโทษหลายสถานได้
12.2 ลงชื่อทำงานล่วงเวลา แต่ไม่มาทำ ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ได้
12.3 แม้มีใบรับรองแพทย์แสดง นายจ้างไม่เชื่อ เลิกจ้างได้
12.4 อ้างเหตุไม่ตรงความผิด ศาลฎีกาให้เลิกจ้างได้
12.5 ปล้ำลูกน้องนอกที่ทำงาน นอกเวลางาน ก็เลิกจ้างได้
12.6 ทะเลาะวิวาทเลิกจ้างได้
12.7 ต่อยหัวหน้า นอกโรงงาน แต่เกี่ยวกับงาน เลิกจ้างได้
12.8 เลิกจ้างผู้บังคับบัญชา เพราะบกพร่องในการดูแลลูกน้องได้
12.9 ลูกจ้างพูดจาข่มขู่ และไม่สุภาพต่อนายจ้าง เลิกจ้างได้
12.10 ไม่ไว้วางใจลูกจ้าง ก็เลิกจ้างได้
12.11 หย่อนสมรรถภาพในการทำงาน เลิกจ้างได้
12.12 ขาดงาน 2 วัน แม้มีเหตุผลอันสมควร ก็เลิกจ้างได้
12.13 หลับในเวลาทำงาน 2 ชั่วโมง เลิกจ้างได้
12.14 ทำความผิดมานานเกิน 1 ปี นำเหตุดังกล่าวมาเลิกจ้างได้
12.15 ทำงานไม่ได้มาตรฐาน ให้ปรับปรุงตัว ไม่น่าพอใจ เลิกจ้างได้
12.16 เล่นการพนัน นอกโรงงาน เลิกจ้างได้
12.17 ลูกจ้างหยอกล้อซ้ำในเวลาทำงาน ถูกเลิกจ้างไม่ได้ค่าชดเชย
12.18 ใช้เวลาทำงานมาขายของส่วนตัว เลิกจ้างได้
12.19 ดื่มสุรามาก จนรุ่งขึ้นมาทำงานมิได้ ก็เลิกจ้างได้
12.20 ไม่เข้าร่วมประชุม ตามนายจ้างสั่ง เลิกจ้างได้
12.21 มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน เลิกจ้างได้
12.22 ลงเวลาทำงาน แต่ไม่ทำงาน เลิกจ้างได้
12.23 ทำผิดระเบียบ แม้ไม่ร้ายแรง ก็เลิกจ้างได้
12.24 รับเงินจากลูกค้า โดยมิได้เรียกร้อง ก็เลิกจ้างได้
12.25 ทำเงินขาดบัญชีเล็กน้อย ก็เลิกจ้างได้
12.26 สั่งให้ลูกจ้างไปทำงานที่หนึ่ง แต่กลับไปอีกที่หนึ่ง เลิกจ้างได้
12.27 ลูกจ้างทำผิดอาญา ศาลให้รอการลงโทษ ก็เลิกจ้างได้
จากคำพิพากษาฎีกาต่างๆ ที่วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวข้างต้น แม้จะมีน้อยกว่ากรณีที่นายจ้างแพ้คดีก็ตาม แต่ถ้าหากท่านมีความเข้าใจถูกต้อง ท่านสามารถนำมาใช้จัดการกับพนักงานที่มีปัญหาที่ไม่ต้องการจ้างได้โดยชอบตามกฎหมาย ช่องทางสำหรับจัดการตามกฎหมายมีอยู่ และเมื่อเป็นคดีกัน ท่านก็เป็นฝ่ายได้เปรียบ หากรู้เท่าทันในกฎหมาย โดยนำมาใช้ในเวลาและจังหวะที่เหมาะสม
วิทยากร
อ.รุ่งเรือง บุตรประคนธ์
- อดีตประธานผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานกลาง
- ผู้เชี่ยวชาญพิพากษาด้านกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
- ผู้เชี่ยวชาญพิพากษาด้านกฎหมายว่าด้วยการแรงงานสัมพันธ์
- ผู้เชี่ยวชาญพิพากษาด้านกฎหมายว่าด้วยศาลแรงงาน
- ผู้ศึกษาค้นคว้าคำพิพากษาฎีกามามากกว่า 30,000 คดี
ฯลฯ
ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนต่อหลักสูตร ต่อท่าน
ท่านละ 2,500 บาท + ภาษี 7 % = 2,675บาท
กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238 บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 หมู่2 หมู่บ้านสัมมากร ซอย1/4 ถ.สามวา แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510
วิธีการสำรองที่นั่ง
โทรสำรองที่นั่ง ที่ โทร.0-29062211-2
แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127 ใบสมัคร แผนที่สถานที่อบรม
E-mail: ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
วิธีการชำระเงิน
เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-2-10250-7 แฟ็กซ์ใบ Pay in ไปที่ 0-29062127
การแจ้งยกเลิกการอบรม
ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วมสัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วัน หากไม่แจ้งตามกำหนดท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมเอกสาร เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ