ศูนย์วิจัย NAMRC มีกำหนดเปิดในปี 2554 และจะเดินหน้าขยายเครือข่ายศูนย์วิจัยด้านการผลิตแบบก้าวหน้ากับศูนย์ต่างๆ ทั่วทั้งสหราชอาณาจักร ความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างภาคอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัยต่างๆ นี้ จะช่วยในด้านการพัฒนาและแบ่งปันเทคโนโลยีและขบวนการต่างๆ เพื่อการผลิตแบบเพิ่มมูลค่าขั้นสูง
ศูนย์ NAMRC เป็นศูนย์วิจัยที่ได้รับทุนจากรัฐบาล ซึ่งจะรวบรวมเครือข่ายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมจากบริษัทที่ทำธุรกิจซัพพลายเชนสำหรับพลังงานนิวเคลียร์ของสหราชอาณาจักรราว 30 บริษัท ในขณะที่ มหาวิทยาลัยที่ได้รับเลือกจะเป็นผู้ดูแลศูนย์วิจัยและพิจารณาหัวข้อการวิจัยหลักต่างๆ
ศูนย์วิจัย NAMRC มุ่งพัฒนาขบวนการทั้งในด้านระบบการผลิตหลัก การบริหารจัดการ และการฝึกอบรม และมุ่งส่งเสริมการยอมรับพลังงานนิวเคลียร์ นอกจากนั้นยังช่วยให้ระบบซัพพลายเชนของสหราชอาณาจักรสามารถตอบสนองต่อตลาดพลังงานนิวเคลียร์โลกที่กำลังขยายตัวได้อย่างชัดเจนและตรงจุดมากขึ้น
ปัจจุบัน โรลส์-รอยซ์เป็นแกนนำหลักในศูนย์วิจัยด้านการผลิตแบบก้าวหน้าหลากหลายแห่งใน สหราชอาณาจักร และได้นำประสบการณ์ที่สั่งสมมา พร้อมด้วยความเชี่ยวชาญทางการช่างที่กว้างขวาง ทักษะด้านการบูรณาการระบบ และบทบาทอันเข้มแข็งในตลาดนิวเคลียร์ เพื่อนำมาปรับใช้กับศูนย์วิจัย NAMRC
ความเชี่ยวชาญในด้านนิวเคลียร์ของโรลส์-รอยซ์สั่งสมมายาวนานกว่า 50 ปี โดยโรลส์-รอยซ์ได้มีส่วนในการพัฒนาและสนับสนุนโรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเรือดำน้ำกองทัพเรือสหราชอาณาจักร ปัจจุบัน โรลส์-รอยซ์เป็นบริษัทที่มีฐานด้านทักษะและซัพพลายเชนของพลังงานนิวเคลียร์กว้างขวางที่สุดในบรรดาบริษัทสหราชอาณาจักร โดยมีพนักงานราว 2,000 คนและซัพพลายเออร์ 260 ราย ซึ่งล้วนได้มาตรฐานเพื่อการผลิตพลังงานนิวเคลียร์
ลอว์รี่ เฮนส์ ประธานโรลส์-รอยซ์นิวเคลียร์ กล่าวว่า “เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นผู้นำการพัฒนาศูนย์วิจัยแห่งนี้ ปัจจุบันทั่วโลกถือได้ว่าอยู่ในยุคเรเนสซองส์ของนิวเคลียร์ ซึ่งจะช่วยให้สหราชอาณาจักรมีโอกาสอันดีที่จะฟื้นฟูประสิทธิภาพด้านการผลิตขึ้นอีกครั้ง ศูนย์วิจัยฯ จะช่วยให้สหราชอาณาจักรพัฒนาขีดความสามารถต่างๆ ที่ไม่เพียงแต่จะสนับสนุนโครงการนิวเคลียร์พาณิชย์ในประเทศ แต่ยังจะสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ดีขึ้นอีกด้วย”
หมายเหตุสำหรับสื่อมวลชน
1. โรลส์-รอยส์เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกในด้านระบบพลังงานและบริการ เพื่อการใช้งานทั้งภาคพื้นดิน ท้องทะเล และทางอากาศ ภาคส่วนธุรกิจของโรลส์-รอยซ์ อันประกอบด้วยธุรกิจการบินพาณิชย์ การบินกลาโหม การเดินเรือ และธุรกิจด้านพลังงาน
2. ในปี 2551 โรลส์-รอยซ์ได้ร่วมลงทุนกับพันธมิตรในทางธุรกิจในการวิจัยและพัฒนา เป็นมูลค่าถึง 885 ล้านปอนด์ โดยสองในสามของการลงทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของโรลส์-รอยซ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การลงทุนด้านเทคโนโลยีหลักๆ เป็นไปเพื่อลดการปล่อยมลภาวะทางเสียงและทางอากาศ
3. โรลส์-รอยซ์ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาในอาคารปฏิบัติการ ณ สหราชอาณาจักร เยอรมนี อิตาลี สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งโรลส์-รอยซ์ได้สร้างความสัมพันธ์เป็นอย่างดีกับมหาวิทยาลัยต่างๆ 28 แห่ง ที่ถือเป็นศูนย์เทคโนโลยีมหาวิทยาลัยของโรลส์-รอยซ์ (Rolls-Royce University Technology Centres)
4. ในปีพ.ศ. 2551 ยอดขายโรลส์-รอยซ์อยู่ที่ 9.1 พันล้านปอนด์ โดยร้อยละ 52 มาจากรายได้ด้านการให้บริการ บริษัทฯ แถลงยอดการสั่งซื้อ ณ ปลายปี 2551 ซึ่งมีมูลค่าถึง 55.5 พันล้านปอนด์
5. เมื่อเดือนกรกฎาคม 2551 โรลส์-รอยซ์ได้แถลงการตั้งหน่วยธุรกิจนิวเคลียร์ เพื่อช่วยให้บริษัทฯ สามารถรองรับตลาดโลกในการสร้างโรงงานนิวเคลียร์
6. โรลส์-รอยซ์มีบทบาทในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ของสหราชอาณาจักรมากว่า 50 ปี ทั้งในด้านการออกแบบ ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย การออกใบอนุญาติ บริหารจัดหาแบบครบวงจรให้แก่โรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ไปจนถึงการจัดหาเทคนิคด้านการซ่อมบำรุงและการตรวจสอบอันล้ำสมัยและปลอดภัยต่างๆ
7. เมื่อเร็วๆ นี้ โรลส์-รอยซ์ได้พัฒนาบทบาทของบริษัทฯ โดยการจัดตั้งธุรกิจระบบวัดควบคุม Data Systems and Solution (DS&S) ปัจจุบัน โรลส์-รอยซ์เป็นผู้นำในระดับโลกด้านการระบบวัดควบคุมแบบดิจิตอลสำหรับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และได้ติดตั้งระบบให้แก่โรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์กว่า 100 โรง ใน 15 ประเทศ และมีพนักงานถึง 260 คน
8. โรลส์-รอยซ์มีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์การวิจัยการผลิตหลากหลายแห่งตั้งแต่เริ่มต้น ศูนย์การวิจัยดังกล่าวช่วยในการสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการวิจัยเทคโนโลยีด้านการผลิตของรัฐบาลและเอกชน โรลส์-รอยซ์และโบอิงซึ่งเป็นสมาชิกก่อตั้งได้ร่วมกับศูนย์วิจัย Advanced Manufacturing Research Centre (AMRC) ที่เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2547 และเมื่อต้นปี พ.ศ. 2552 โรลส์-รอยซ์ได้เปิดศูนย์ Rolls-Royce Factory of the Future ซึ่งมีมูลค่าถึง 10 ล้านปอนด์ และใหญ่เป็นสี่เท่าของ AMRC โดยตั้งอยู่ในเขต Sheffield เช่นกัน ในปี พ.ศ. 2550 โรลส์-รอยซ์ได้ร่วมกับบริษัท Scottish Enterprise และมหาวิทยาลัย Strathclyde University เพื่อก่อตั้งศูนย์วิจัย Advanced Forming Research Centre (AFRC) โดยศูนย์ AFRC จะเปิดดำเนินการในปี พ.ศ. 2553 และศูนย์วิจัย NAMRC จะสามารถขยายเครือข่ายเช่นนี้ได้อย่างต่อเนื่อง
โรลส์-รอยซ์ฉลองครบรอบ 20 ปี ในประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2552 เป็นปีที่โรลส์-รอยซ์ฉลองครบรอบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาเป็นเวลา 20 ปี โรลส์-รอยซ์เป็นบริษัทระดับโลกในด้านการให้บริการระบบพลังงานแบบบูรณาการ สำหรับการใช้บนภาคพื้นดิน ในทะเล และทางอากาศ ที่ดำเนินการในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 โรลส์-รอยซ์มีบทบาทสำคัญในภาคการบินพาณิชย์ การบินกลาโหม การเดินเรือ และการพลังงานในประเทศ โรลส์-รอยซ์มีฐานลูกค้าอันกว้างขวาง ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานรัฐบาล สายการบินพาณิชย์ หน่วยงานสาธารณูปโภค ผู้ประกอบกิจการท่อส่ง และลูกค้าด้านพลังงานต่างๆ ปัจจุบันมีเครื่องยนต์ของโรลส์-รอยซ์กว่า 300 ลำ ที่ให้บริการอยู่ในประเทศไทย โรลส์-รอยซ์ปฏิบัติการในประเทศไทยโดยยึดมั่นปณิธานเพื่อการสนับสนุนประเทศในด้านต่างๆ ทั้งด้านการลงทุน เทคโนโลยีนวัตกรรม และการศึกษา โรลส์-รอยซ์ได้สนับสนุนเงินลงทุนเพื่อสร้างฐานทดสอบเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ เพื่อสนับสนุนสายการบินไทย ขึ้นที่สนามบินดอนเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2539 นอกจากนั้น โรลส์-รอยซ์ยังคงดำเนินการเพื่อสนับสนุนสังคมไทยผ่านทางโครงการเพื่อสังคมต่างๆ อีกด้วย โรลส์-รอยซ์มีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยและหวังว่าจะรักษาความสัมพันธ์อันดีเช่นนี้ต่อไปข้างหน้า
รูปและสื่อประกอบ
สำหรับข้อมูลภาพถ่าย สามารถดาวน์โหลดได้จาก www.rolls-royce.com/media/gallery/default.jsp สำหรับข้อมูลในรูปแบบไฟล์วิดิทัศน์ สามารถรับชมได้จาก www.thenewsmarket.com/rollsroyce ทั้งนี้ ผู้ใช้งานครั้งแรก กรุณาลงทะเบียน และหากมีข้อสงสัยประการใด กรุณาติดต่อ [email protected]
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
ธรณ ชัชวาลวงศ์ หรือ สรัณศรี ประวัติพัฒนากูล
ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน ประเทศไทยโทรศัพท์: 0-2627-3501 ต่อ 118, 208โทรสาร: 0-2627-3545
Email: [email protected]