ฟูจิตสึประกาศเครื่อง Supercomputer จาก Riken พร้อมใช้งานแล้ว โชว์ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดคว้าอันดับ1มาตรฐาน LINPACK

พฤหัส ๐๘ ตุลาคม ๒๐๐๙ ๑๔:๑๔
ฟูจิตสึเผยความสำเร็จเครื่อง Supercomputer ภายใต้ระบบใหม่ Riken Integrated Cluster of Clusters (RICC) พร้อมใช้งานแล้วด้วยประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดในประเทศญี่ปุ่น การันตีความสำเร็จด้วยการคว้าอันดับหนึ่งมาตรฐานของ LINPACKจากการเปรียบเทียบกับเครื่อง Supercomputer ในโครงการ TOP500

นางสาวจรัณยา อิ่มธนาสาร ผู้อำนวยการฝ่ายการขายผลิตภัณฑ์ บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าทางฟูจิตสึประเทศญี่ปุ่นได้มีการติดตั้งเครื่อง Supercomputer ให้กับสถาบัน Japan’s institute of Physical and Chemical Research หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Riken เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยระบบพร้อมใช้งานตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ระบบการปฏิบัติงานของเครื่อง Supercomputer เครื่องใหม่ผ่านมาตรฐานของ LINPACK ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการวัดระดับการปฏิบัติงานของเครื่อง Supercomputer ของโครงการ TOP500 โดยเครื่อง Supercomputer ได้ผลที่ 97.94 Teraflop ( 1 ล้านล้าน Floating point ในการประมวลผลต่อ 1 วินาที) เปรียบเทียบกับเครื่อง Supercomputer ในโครงการ TOP500 ในเดือนมิถุนายน 2552 เครื่อง Supercomputer ที่ Riken ถือเป็นอันดับหนึ่ง

เครื่อง Supercomputer ถือเป็นระบบใหม่ ที่มีชื่อเรียกว่า Riken Integrated Cluster of Clusters (RICC) เป็นระบบที่มีความซับซ้อน ประกอบไปด้วย 3 ระบบหลักที่ทำงานร่วมกัน โดยแต่ละระบบจะมีหน้าที่เฉพาะ ได้แก่ 1. Massive Parallel PC Clusters 2. เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีหน่วยความจำสูง และ 3. Multipurpose parallel PC cluster โดยทั้ง 3 ส่วนจะเชื่อมต่อกันด้วยระบบ Front-end และระบบ disk และ tape

นอกจากนี้เครื่อง Supercomputer ยังประกอบไปด้วย Parallelnavi โปรแกรม HPC middle ware ของฟูจิตสึซึ่งรวบรวมฟังก์ชั่น การจัดการระบบ, ระบบการจัดเก็บความเร็วสูง, และโปรแกรมการพัฒนาระบบ เข้าไว้ด้วยกัน รวมทั้งยังมี HPC job-management tool ที่ชื่อว่า Meta-Job Scheduler ซึ่งจะเป็นระบบที่จัดการการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพของเครื่อง massive parallel ทั้งหมด

Ryutaro Himeno ผู้อำนวยการ Riken’s Advance Center for Computer and Communication กล่าวว่าการที่ Riken ซื้อ RICC ถือเป็นความก้าวหน้าต่อจากโครงการ RSCC ซึ่งทำให้เห็นถึงพัฒนาการที่ก้าวล้ำในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความสามารถในการปฏิบัติงาน RICC ถือเป็น next generation ของ Supercomputer ด้านความสามารถในการประมวลผลข้อมูลโดยใช้ Advance DNA sequencers, accelerator และ X-Fel (X-ray Free Electron Laser) และความสามารถในการใช้ระบบเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยใช้ MDGRAPE-3, GPGPU,และ accelerators อื่น

“ระบบใหม่นี้ถือเป็นตัวอย่างการใช้ Intel? Xeon? processor 5500 series ใน large-scale ในประเทศญี่ปุ่น พวกเราประทับใจกับผลการปฏิบัติงาน Supercomputer และยินดีกับฟูจิตสึที่ระบบใหม่นี้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น” Ryutaro Himeno กล่าว

Press Contacts

บริษัท บ้านพีอาร์ จำกัด

คุณปิยวรรณ อนันต์เวทยานนท์ (เอ๋) / คุณปองชม กอแก้วปฐมกุล (นุ่น)

โทร. 02 292 9383 Email: [email protected] , [email protected]

Customer Contacts

บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด

คุณเมธี วีระพัฒน์ / คุณวันเพ็ญ กิติบุญญารัศมี

Marketing Communication Department

โทรศัพท์ : 02-302-1500 email: [email protected] , [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ