ผอ.ศคล.กล่าวต่อว่ารูปแบบที่เราดำเนินการในปีนี้มี สองรูปแบบคือ หนึ่งการสร้างวัดต้นแบบในการทอดกฐินปลอดเหล้าทั้งจังหวัด ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้วเป็นแห่งแรกที่จังหวัดราชบุรีโดมมีนายมานิต
นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็น สส.ในพื้นที่ร่วมกับเจ้าคณะจังหวัดราชบุรีประกาศให้วัดในจังหวัดราชบุรีเป็นวัดที่ทอดกฐินปลอดเหล้าซึ่งได้ผลเป็นอย่างดีและเรากำลังจะรณรงค์ไปยังจังหวัดอื่นๆด้วย สองการสร้างเจ้าภาพทอดกฐินตัวอย่างโดยมีแนวความคิดว่าจะเชิญชวนคนดังๆที่เป็นที่รู้จักของสังคม เช่น นักการเมือง นักธุรกิจ ดารานักแสดง เป็นเจ้าภาพในการจัดทอดกฐินที่เน้นการปลอดเหล้าตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง
นายสงกรานต์ กล่าวต่อว่า นอกเหนือจากการรณรงค์กฐินปลอดเหล้าในช่วงออกพรรษาแล้ว เรายังจะรณรงค์ต่อเนื่องเรื่องบุญประเพณีปลอดเหล้าตลอดทั้งปีเพราะงานบุญเลี้ยงเหล้า เท่ากับ บาป เพราะการจัดงานบุญประเพณีประเภทต่างๆในปัจจุบันมักจะมีเหล้าเข้ามาเกี่ยวข้องส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการทำการตลาดของบริษัทแอลกอฮอล์ เช่นซื้อเหล้าแถมน้ำแข็ง แถมโซดา จุดที่เรากำลังรณรงค์อยู่ก็คือ งานศพปลอดเหล้า โดยเริ่มต้นที่จังหวัดลำปางเป็นจังหวัดต้นแบบ ซึ่งได้ผลมากเพราะเจ้าภาพงานศพประกาศเลยว่า “ขออภัยงานนี้ไม่มีเหล้า” รวมทั้งงานศพในจังหวัดภาคใต้ก็เริ่มมีการรณรงค์แล้วเช่นกัน และเรากำลังจะขยายไปยังจังหวัดอื่นๆทั่วทุกภาค
“ถ้าเป็นกฐินที่มีเหล้า งานบุญประเพณีที่มีเหล้า เงินก็ลงขวดหมด แทนที่จะทำบุญแล้วได้เงินมากขึ้นก็กลายเป็นเอาเงินให้บริษัทขายเหล้าแทน” นายสงกรานต์ กล่าว