“ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” จำลองภาพในประวัติศาสตร์ สร้างเรือขนาดเท่าของจริง ประกอบฉากยิ่งใหญ่ “กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค”

ศุกร์ ๑๖ ตุลาคม ๒๐๐๙ ๑๔:๔๑
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ภาค 3 และ 4 “สงคราม ยุทธหัตถี” เดินหน้าถ่ายทำอย่างต่อเนื่อง เบิร์ด-แอฟ พร้อมนักแสดงสมทบกว่า 1,000 คน ร่วมฉากใหญ่ “กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค” สร้างเรือพระที่นั่ง พร้อมเรือร่วมขบวนอย่าง สมพระเกียรติ โดยใช้เวลาในการสร้างเรือกว่า 1 ปี เพื่อความสวยงาม อลังการ และสมบูรณ์แบบที่สุด

เบิร์ด-พ.ต. วันชนะ สวัสดี ผู้รับบท “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ในภาพยนตร์ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” กล่าวถึงฉากกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคว่า “สำหรับฉากนี้เป็นฉาก ต่อเนื่องจากที่ข้ามแม่น้ำสะโตงในภาค 2 ที่สมเด็จพระนเรศวรทรงเสด็จจากเมืองพิษณุโลกกลับมาที่กรุงศรีอยุธยาทางแม่น้ำเจ้าพระยา โดยได้เทครัวกวาดต้อนชาวบ้านพร้อมเสบียงมาด้วย ซึ่งความยิ่งใหญ่ของฉากนี้ นอกจากจะมีนักแสดงเข้าร่วมขบวนเรือจำนวนมากแล้ว ท่านมุ้ยยังได้สร้างเรือที่ใช้ในการเข้าฉากเลียนแบบของจริงจำนวน 6 ลำ เช่น เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ มีความยาว 40 เมตร ใช้ฝีพายประมาณ 70 คน, เรือเอกไชยเหินหาว ยาว 30 เมตรใช้ฝีพาย 46 คน, เรือเอกไชยหลาวทอง, เรือรูปสัตว์ เป็นต้น

ที่เป็นความประทับใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ วิธีการพายเรือ ที่มีระเบียบแบบแผนที่คนไทยเคยเห็นจาก พระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ท่านมุ้ยต้องการให้ฉากนี้ออกมาเหมือนจริง และยิ่งใหญ่มากที่สุด จึงขอให้ผู้เชี่ยวชาญจากกองทัพเรือเข้ามาดูแลและฝึกซ้อมวิธีการพายเรือพระที่นั่งของฝีพายประจำเรือที่เป็น นักแสดงประกอบ ที่รับบทโดยทหารจากกองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ ซึ่งนักแสดงทุกคนมีความภาคภูมิใจอย่างมากที่ได้เข้าร่วมแสดงฉากนี้ การถ่ายทำในวันนั้นทุกคนล้วนมีความอดทนอย่างมาก แม้อากาศจะร้อน และต้องนั่งอยู่ในเรือตลอดทั้งวัน เขาก็ไม่มีบ่นกัน นอกจากความยิ่งใหญ่แล้ว สิ่งที่ยากที่สุดของฉากนี้ คือ การบังคับเรือให้อยู่กับที่ เพราะในกองถ่าย พร้อมมิตร ฟิล์ม สตูดิโอ จ.กาญจนบุรี ลมแรงมาก กว่าจะกำหนดจุดจอดได้ต้องใช้เวลาครับ”

ด้าน “แอฟ-ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ” รับบท “มณีจันทร์” ที่ร่วมเดินทางจากเมืองพิษณุโลกกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วยนั้น เผยว่า “ฉากนี้เป็นฉากที่มณีจันทร์เดินทางมาทางเรือพร้อมกับสมเด็จ พระนเรศวร เพื่อจะกลับไปยังกรุงศรีอยุธยา โดยระหว่างที่เดินทางสมเด็จพระนเรศวรจะกังวลเรื่องการศึกมาก เพราะมีเวลาเตรียมกองทัพน้อย มณีจันทร์ก็จะคอยให้กำลังใจ พร้อมกับเป็นคู่คิดในการศึกด้วย ซึ่ง ฉากนี้แอฟว่าความสวยงามอยู่ที่เรือพระที่นั่ง ที่ท่านมุ้ยทรงสร้างได้อย่างเหมือนจริง อลังการมาก อยากให้ ทุกคนได้ดูกันค่ะ แต่เห็นสวยงามอย่างนี้ ตอนถ่ายทำทรมานมาก เพราะเราถ่ายในน้ำ แสงพระอาทิตย์ที่ ส่องลงมาทำให้น้ำระยิบระยับ แสบตามาก แต่ก็สู้ค่ะ”

ภาพยนตร์เรื่อง “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” เป็นภาพยนตร์ที่สร้างปรากฏการณ์ใหม่ ให้แก่วงการภาพยนตร์ไทยในหลายด้าน ทั้งการนำเทคนิคพิเศษรูปแบบใหม่จากต่างประเทศมาใช้ในการ ก่อสร้างฉาก และจัดทำอุปกรณ์ประกอบฉาก ที่ช่วยประหยัดทั้งเวลาแรงงาน และค่าใช้จ่าย รวมถึงงานด้านแสง เสียง พร้อมการสร้างสรรค์และจัดทำ visual effects, special effects ตลอดจนการใช้ computer graphics ที่โดดเด่น นอกจากนี้ยังได้นำเข้าม้าจากต่างประเทศที่ได้รับการฝึกฝนและดูแลเป็นพิเศษเพื่อแสดงภาพยนตร์แนว action โดยเฉพาะ โดยในภาค 1 และ 2 มีทีมผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพที่มีประสบการณ์สูง ในแต่ละด้านจากหลายประเทศมาช่วยถ่ายทอดความรู้และเทคนิคให้แก่ทีมงานคนไทย ซึ่งดำเนินการต่อในภาค 3 และ 4 อันเป็นการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการสร้างภาพยนตร์ไทยให้ทัดเทียมต่างประเทศ ทั้งยังมีการคิดค้นและปรับประยุกต์เครื่องมือใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพสำหรับใช้ในการถ่ายทำ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ