“เวิลด์ไดแด็ค เอเซีย 2009” พร้อมยกระดับวงการศึกษาไทย สู่ศูนย์กลางการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเซีย

จันทร์ ๒๖ ตุลาคม ๒๐๐๙ ๑๔:๒๘
งาน “เวิลด์ไดแด็ค เอเซีย 2009” ประกาศศักยภาพในการยกระดับวงการศึกษาเอเซียด้วยโซลูชั่นสื่อการเรียนการสอนระดับโลก ผ่านการจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวงานครั้งล่าสุดประกาศความพร้อมต้อนรับกองทัพนักการศึกษากว่า 12,000 ราย จากทั่วภูมิภาคเอเซีย ระหว่างวันที่ 28—30 ตุลาคม ศกนี้ อัดแน่นเต็มศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

คุณเฉลียว อยู่สีมารักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศีกษา กล่าวถึงมุมมองการศึกษาอาชีวไทย และทิศทางของอาชีวศึกษาในอนาคตข้างหน้าว่า “การอาชีวศึกษานับเป็นแผนการเรียนที่เปิดโอกาสให้นักเรียน-นักศึกษาได้เรียนรู้ไปพร้อมกับการปฏิบัติได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม โดยสื่อและเทคโนโลยีการเรียนรู้ที่ทันสมัยก็เปรียบเสมือนกลไกหลักในการพัฒนาศักยภาพการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอาชีวศึกษา ซึ่งมุ่งเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเป็นสำคัญ ซึ่งสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยมีประโยชน์ในการส่งเสริมทักษะและความสามารถในการเรียนรู้ และเพิ่มพูนความเข้าใจของนักเรียน-นักศึกษาในการลงมือปฏิบัติจริง ดังเห็นได้จากชุดฝึกระบบสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสง ซึ่งเป็นตัวอย่างผลงานนวัตกรรมชนะเลิศของวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร ในโครงการ “หนึ่งวิทยาลัย หนึ่งนวัตกรรม” ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยนวัตกรรมทดลองนี้สามารถนำไปขยายผลใช้ได้จริงในระบบโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม เทคโนโลยียานยนต์ รวมถึงระบบงานจราจร”

ทั้งนี้ คุณเฉลียว ได้กล่าวเสริมว่า “สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา” ได้เล็งเห็นคุณค่าของสื่อและเทคโนโลยีการเรียนรู้ที่ทันสมัย จึงได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของผู้สนับสนุนงาน “เวิลด์ไดแด็ค เอเซีย 2009” โดยงานนี้ ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานชั้นนำระดับชาติ อาทิเช่น องค์การยูเนสโก สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกด้านการศึกษา สำนักงานเลขาธิการองค์การรัฐมนตรีการศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO Secretariat) กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) เขตอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park) สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย ฯลฯ”

พร้อมกันนี้ คุณณัฎฐา เชาวะวนิชย์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด ในฐานะผู้จัดงาน “เวิลด์ไดแด็ค เอเซีย” กล่าวว่า “งาน “เวิลด์ไดแด็ค เอเซีย 2009” งานแสดงเทคโนโลยี สื่อ และวัสดุด้านการศึกษาและฝึกอบรมระดับโลก และเป็นหนึ่งในซีรี่ย์งาน “เวิลด์ไดแด็ค” จากทวีปยุโรปที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐและคนในวงการทั่วภูมิภาค ในปีนี้ มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28—30 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้รับเกียรติอย่างสูงจาก ฯพณฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศีกษาธิการ ที่ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน และได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “การปฏิรูปการศึกษาของไทยในยุคโลกาภิวัฒน์” โดยงานนี้ได้เตรียมพร้อมต้อนรับคณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักการศึกษา นักธุรกิจและตัวแทนจากหน่วยงานด้านการศึกษาจำนวนรวมกว่า 12,000 รายทั่วทวีปเอเซีย ด้วยกองทัพผู้แสดงสินค้ากว่า 100 แบรนด์ดังจาก 25 ประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อิตาลี ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ บราซิล สเปน อินเดีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน อินโนนีเซีย และไทย พร้อม กลุ่มผู้แสดงสินค้าอย่างเป็นทางการจากประเทศเยอรมนี สหราชอาณาจักร เกาหลี และจีน ทั้งนี้ ภายในการจัดงานครั้งนี้ ได้มีการเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่เป็นครั้งแรกในประเทศไทยและทวีปเอเซีย อาทิ กระดานอัจฉริยะ, ชุดทดลองระบบเกียร์, ชุดทดลองการวัดและการควบคุมระบบ MPS PA 204} ชุดทดลองความเร็วผันแปรแรงกด 2 ระดับ, ชุดทดลองพลังงานลม, ชุดทดลองการสร้างสะพานจำลอง, ชุดบอร์ดฝึกสอนระบบ VLSI, ซอฟท์แวร์จำลองการควบคุมหุ่นยนต์, ระบบการเรียนรู้เสมือนจริง 3 มิติ เป็นต้น”

“นอกจากนี้ ภายในงานยังมี “การประชุมผู้นำด้านการศึกษาเอเซีย ครั้งที่ 3” (Asia Education Leaders Forum) ภายใต้หัวข้อ “ความท้าทายด้านการศึกษาสำหรับยุคโลกาภิวัฒน์ในศตวรรษที่ 21” ซึ่งได้รับเกียรติจากองค์ประชุมที่มีชื่อเสียงในวงการการศึกษาระดับโลก อาทิ ดาโต๊ะ ดร. Ahamad bin Sipon ผู้อำนวยการ สำนักงานเลขาธิการองค์การรัฐมนตรีการศีกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ดร. เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, ศาสตราจารย์ ดร. Frederick Leung — Standing Committee จาก International Association of Evaluation of Educational Achievement (IEA) เขตปกครองพิเศษฮ่องกง, ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา กรรมการบริหารโรงเรียนสัตยาไส จังหวัดลพบุรี (โรงเรียนธรรมชาติเพื่อการแก้ปัญหา) ฯลฯ ซึ่งมาร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์และกรณีศึกษาเกี่ยวกับความท้าทายทางการศีกษาในศตวรรษนี้ รวมถึงกลยุทธ์และวิธีการพัฒนาการเรียนการสอนสู่อนาคตทางการศึกษาที่ถาวรและยั่งยืน”

“พร้อมกันนี้ ยังมีสัมมนาพิเศษในหัวข้อ “How can the German Vocational Education and Training Industry (GEVTI) Support the Reform Process of VET in Thailand?” เป็นครั้งแรกในงาน “เวิลด์ไดแด็ค เอเซีย” โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ The Federal Institute for Vocational Education and Training (BIBB) รวมถึงการนำเสนอเทคโนโลยี โดยเจ้าของเทคโนโลยีชั้นนำ และกิจกรรมน่าสนใจอื่นๆ อีกมากมาย”

พบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.worlddidacasia.com หรือสอบถามได้ที่ Contact Center โทร. 02 686 7222 หรืออีเมล์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๒ อาลีเพย์พลัสขยายเครือข่ายพันธมิตรด้านการชำระเงินเป็น 35 ราย เชื่อมโยงผู้ค้ากับนักท่องเที่ยวเข้าด้วยกันผ่านการชำระเงินบนมือถือ การขายของในแอปพลิเคชัน
๑๕:๓๙ ยกระดับบริการหลังการขายขึ้นอีกขั้นกับ Volvo Mobile Service เพียงนัดหมาย เราพร้อมให้บริการถึงหน้าบ้านคุณ
๑๕:๓๔ ประกาศราคาไทย HUAWEI Mate X6 สมาร์ทโฟนนแบบพับได้ระดับท็อป โฉบเฉี่ยวแต่แข็งแกร่ง พร้อมกล้องเพื่อการถ่ายรูปที่สมบูรณ์แบบ
๑๕:๒๔ มหัศจรรย์แห่งเฟสทีฟกลางลมหนาว ที่ห้างหรูในยุโรปของกลุ่มเซ็นทรัล
๑๕:๑๘ บี.กริม เพาเวอร์ ครองตำแหน่งเรตติ้งสูงสุด SET ESG Rating ระดับ AAA และอยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน 7 ปีซ้อน ตอกย้ำความมุ่งมั่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ควบคู่ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม
๑๔:๐๑ ธนาคารกรุงเทพ สำรองเงินสดช่วงเทศกาลปีใหม่ 40,000 ล้านบาท แนะลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
๑๔:๔๘ เที่ยวไทยสุขใจ ไทยพาณิชย์ โพรเทค มอบของขวัญปีใหม่ 2568 แจกฟรี! ประกันบ้านหรืออุบัติเหตุ 50,000 สิทธิ์
๑๕:๒๕ เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ ร่วมงานเลี้ยงการกุศล ส่งเสริมความเสมอภาคและโอกาสในสังคม
๑๕:๔๗ คณะผู้บริหารและพนักงาน ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล เยี่ยมชมโรงงาน 1NUO ที่ประเทศจีน
๑๔:๔๕ TFM เปิดแผนผลิตกุ้งยั่งยืน ดันไทยชิงโอกาสในตลาดโลก ชูนวัตกรรมอาหารสัตว์เศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน