การปรับปรุงระบบหลักของธนาคาร เปรียบเสมือน “การผ่าตัดหัวใจ”

พุธ ๒๘ ตุลาคม ๒๐๐๙ ๑๕:๔๖
โดย นาย เจอร์ริต แฟรนเซ่น ผู้อำนวยการด้านบริการทางการเงิน ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์

ธนาคารขนาดใหญ่ของโลกหลายแห่งกำลังเริ่มอัปเกรดระบบหลักของธนาคารอย่างระมัดระวังด้วยต้นทุนที่สูง บทความชิ้นนี้ได้สำรวจเบื้องหลังและสิ่งผลักดันสำคัญที่ก่อให้เกิดการดำเนินการที่มีราคาแพงและมีความเสี่ยงสูงดังกล่าว

กระบวนการปรับปรุงระบบหลักของธนาคารไม่ต่างจากการผ่าตัดหัวใจ เนื่องจากอาจเกิดความล้มเหลวที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ เช่น การสูญเสียชื่อเสียง การสูญเสียลูกค้า การสูญเสียผู้ถือหุ้นและ/หรือการสูญเสียธุรกิจ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้โครงการพื้นฟูระบบหลักทั้งหมดยึดแนวทางในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงกับส่วนเล็กๆ ก่อนเพื่อจำกัดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ดำเนิน “การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่”

ตัวอย่างเช่น เมื่อวัดจากค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงพบว่า ธนาคารในออสเตรเลียแห่งหนึ่งได้สำรองเงิน 730 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียสำหรับการเปลี่ยนไปใช้ระบบหลักของ SAP ขณะที่ธนาคารในออสเตรเลียอีกแห่งประกาศต่อสาธารณะว่าจะใช้เงินเกือบ 1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียสำหรับ Oracle iFlex โดยธนาคารทั้งสองแห่งใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนระบบ 4-5 ปี

กว่าจะก้าวมาถึงจุดในปัจจุบัน

ทศวรรษ 1980 ถือเป็นทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลงสำหรับธนาคารทั่วโลก จะเห็นได้ว่ามีมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติพื้นฐานด้านการธนาคารเกิดขึ้นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดแรงกดดันในการสร้างระบบหลักของธนาคารใหม่หรือนำแอพพลิเคชั่นทางธนาคารของบริษัทอื่นเข้ามาใช้งาน โดยระบบธนาคาร ‘ขั้นสูง’ ของทศวรรษ 1980 คือแอพพลิเคชั่นที่ใช้ COBOL และ/หรือ Assembler เป็นส่วนใหญ่

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญบางอย่างซึ่งผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบหลักของธนาคารในปี 80 ได้แก่

- การโอนเงินระหว่างบัญชี: โดยเงินจะถูก ‘โอน’ ออกจากบัญชีในช่วงเวลาสิ้นสุดของวันสำหรับการดำเนินการของตลาดเงินที่เกิดขึ้นตลอดทั้งคืน

- บัญชีปรับมูลค่า: ที่อนุญาตให้บัญชีเงินฝากประจำที่สร้างรายได้สามารถปรับเป็นบัญชีกู้จำนองแบบดอกเบี้ยค้างจ่ายเพื่อปรับมูลค่ารายได้จากดอกเบี้ย/ดอกเบี้ยค้างจ่ายสำหรับเอื้อประโยชน์ทางด้านภาษี

- บัญชีเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยอัตราก้าวหน้า: โดยที่อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะถูกปรับใช้ถ้ายอดคงเหลือเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในอัตรา ‘ก้าวหน้า’

- ความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนมือได้ง่ายโดยเฉพาะที่มีระยะเวลาการชำระ 90/180 วัน ซึ่งถูกใช้เป็นเครื่องมือการเงินระยะสั้นสำหรับองค์กรต่างๆ

- การเกิดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเงินตรา การค้าระหว่างประเทศ และการลดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนโอกาสในการหากำไรส่วนต่างจากหลักทรัพย์

ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 การพัฒนาแนวทางปฏิบัติของธนาคารยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใต้แนวทางของ “การก้าวสู่ระดับโลก” ส่งผลให้ธนาคารมีความต้องการในการกำหนดระบบการดำเนินงานต่างๆ ด้วยตนเอง เมื่อเวลาผ่านไป การกำหนดระบบเองเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการขยายตัวทางธุรกิจเริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดความยุ่งยากมากเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานธุรกิจของธนาคารที่นำ ‘โปรแกรมเสริม’ (Add-on) ต่างๆ ของแอพพลิเคชั่นเข้ามาใช้งาน จึงมีส่วนผลักดันให้เกิดการสร้างโมเดลธุรกิจที่มีการเก็บแอพพลิเคชั่นจำนวนมากในรูปของไซโลภายในระบบของธนาคารส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าธนาคารบางแห่งมีแอพพลิเคชั่นเฉพาะที่แตกต่างกันมากกว่า 600 แบบที่ใช้ในการสนับสนุนด้านการขยายธุรกิจของตน ตามปกติแล้ว แพลตฟอร์มมิดเดิลแวร์มีความสำคัญสูงมาก ในการใช้เป็นเครื่องมือในการรวบรวมรายละเอียดพื้นฐานของลูกค้า รายละเอียดด้านความเสี่ยง และข้อมูลทรานแซคชั่นระหว่างแอพพลิเคชั่นเหล่านี้

ในช่วงทศวรรษ 2000 ระบบเหล่านี้ได้พัฒนากลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความมั่นคงสูงบนฐานของการนำเสนอโซลูชั่นธนาคารให้แก่ลูกค้าภายใต้แนวทางที่ว่า ‘คว้าไว้หรือปล่อยทิ้งไป’ (take it or leave it) ซึ่งปัจจุบันสิ่งนี้กำลังเป็นประเด็นที่สำคัญ แม้ว่าเหตุผลของการปรับเปลี่ยนระบบจะเป็นเพราะพนักงานไอที ‘ที่เกิดในยุคเบบี้บูม’ กำลังอยู่ในวัยใกล้เกษียณและต้นทุนการบำรุงรักษาระบบที่เกี่ยวข้องก็มักจะมีสัดส่วนเกินกว่า 50% ของงบประมาณด้านไอที แต่ลูกค้าที่มีความเฉลียวฉลาดทางการเงินที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ผลักดันให้เกิดการ ‘ผ่าตัดหัวใจ’ ที่มีความเสี่ยงสูงในครั้งนี้

สิ่งที่จะตามมา หากไม่เปลี่ยนแปลงระบบหลัก

ลูกค้าธนาคารในปี 2009 ได้พัฒนากลายเป็นบุคคลที่มีความรู้ทางการเงินและเฉลียวฉลาดอย่างมากประกอบกับความสะดวกของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้ ‘สุดยอดลูกค้า’ เหล่านี้กลายเป็นลูกค้า รายใหญ่ (High Worth Individual: HWI) ที่ต้องการผลิตภัณฑ์เฉพาะตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและได้รับสิทธิพิเศษเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมตามระดับความสัมพันธ์ที่มีกับธนาคาร กลุ่มลูกค้า HWI เหล่านี้ (ได้รับบริการในรูปแบบ ‘การบริการทางธนาคารระดับสูง’ (Premium Banking) ซึ่งสามารถทำกำไรให้กับธนาคารได้อย่างมาก) มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนใจไปหาธนาคารอื่นที่จัดหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมในราคาที่เหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับพวกเขาได้

ดังนั้นผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมของธนาคารจึงถูก ‘ผลักดัน’ ให้พัฒนาไปสู่โมเดลที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ในรูปแบบที่สามารถ ‘ผลิตได้ทันที’ สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เฉพาะเจาะจงสำหรับลูกค้าแต่ละรายและสามารถกำหนดราคาตามระดับความสัมพันธ์ที่ลูกค้ามีกับธนาคารได้ด้วย จะเห็นได้ว่าระบบเดิมไม่สามารถสร้างสิ่งเหล่านี้ได้และอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมา ซึ่งไม่สามารถเป็นที่ยอมรับได้สำหรับตลาดปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ความยืดหยุ่น ความว่องไว และนวัตกรรมจึงเป็นตัวอย่างของคุณลักษณะซึ่งเป็นที่ต้องการของธนาคารในปัจจุบัน

ธนาคารที่ล่าช้าในการก้าวไปสู่โมเดลของCustomer Pull อาจเสียโอกาสให้กับธนาคารที่ว่องไวกว่าและธนาคารที่สามารถปรับโฉมสู่ ‘หน่วยงานจัดการทรานแซคชั่น’ (transactional clearing house) สำหรับลูกค้าชั้นสูงโดยเฉพาะได้

การไม่ดำเนินการฟื้นฟูระบบเดิมที่ล้าสมัยอาจทำให้ธนาคารต้องสูญเสียความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้า HWI ตลอดจนสูญเสียรายได้จากเงินฝากและธุรกิจทางการเงินอื่นๆ ของ HWI ไปให้กับธนาคารอื่น และในท้ายที่สุดก็จะสูญเสียลูกค้า HWI ไปให้กับคู่แข่งที่ให้ความสำคัญกับระบบซีอาร์เอ็ม (CRM) เชิงนวัตกรรมและมีความรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงสูง

โซลูชั่นระบบจัดเก็บข้อมูลสามารถช่วยได้อย่างไร

โครงการฟื้นฟูระบบหลักขนาดใหญ่ล้วนมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นความปลอดภัยและการดำเนินการเคลื่อนย้ายข้อมูลในช่วงเวลาที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการทั้งในระหว่างการนำไปใช้และช่วงเวลาหลังจากนั้น ซึ่งไม่ต่างจาก ‘การผ่าตัดหัวใจ’ ของธนาคาร เนื่องจากสิ่งนี้อาจนำไปสู่ความยุ่งยากในการดำเนินธุรกิจได้ แนวทางแก้ไขที่สามารถลดความเสี่ยงดังกล่าวได้จึงเป็นที่ต้องการอย่างมากสำหรับทีมฟื้นฟูระบบหลักของธนาคาร และเทคโนโลยี อย่าง Storage Virtualisation และ Dynamic Provisioning ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้นำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ยิ่งที่ทุกธนาคารกำลังต้องการอยู่ในขณะนี้ จะเห็นได้ว่าในระหว่างการนำระบบไปใช้ ความรวดเร็วของการเปลี่ยนเวอร์ชั่น และความแข็งแกร่งของโซลูชั่นเทคโนโลยีด้านการกู้คืนข้อมูลที่เสียหาย ตลอดจนการสำรองข้อมูลถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ทั้งนี้ สภาพแวดล้อมของระบบจัดเก็บข้อมูลที่รวมเป็นหนึ่งเดียวกันสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบหลักของธนาคารและให้กระบวนการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลเป็นไปได้โดยง่าย

ความสามารถในการทดสอบแปลงเวอร์ชันหรือทดสอบระบบได้โดยง่ายโดยใช้สำเนาจากแอพพลิเคชั่นเก่า/ใหม่ซึ่งใช้กำลังคนในดำเนินการน้อยมากถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยถ้ามองในแง่ของความเสี่ยงด้านการดำเนินการแล้ว บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ สามารถช่วยปรับปรุงรูปแบบความเสี่ยงที่ให้ผลเชิงบวกกับสินทรัพย์เสี่ยง (weighted Asset) ของธนาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สอบถามรายละเอียด กรุณาติดต่อ:

คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์

บริษัท คอร์แอนด์พีค จำกัด โทร. 02 439 4600 ต่อ 8300

อีเมล์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๑ ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๖:๓๙ คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๖:๐๘ พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๖:๐๑ BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๖:๒๘ บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๖:๐๖ PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๖:๔๖ CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๖:๒๕ ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ