ข้อมูลดิจิตอลที่เกิดขึ้นในรพ.หากปรับให้ได้มาตรฐาน HL7 และการถ่ายโอน ข้อมูลดังกล่าวยึดตามมาตราฐาน “CONNECT” แล้ว ในทุก รพ. จะช่วยให้เราสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วยระหว่างรพ.หรือหน่วยงานของรัฐ เช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช) ประกันสังคมและกรมบัญชีกลาง สาธารณสุขอำเภอ และองค์กรทางการแพทย์อื่น ๆ ฯลได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดูแลรักษาผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งเดียว รวมทั้งอาจมีใช้สิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาลในหลายรูปแบบ เช่นเดิมทำงานบริษัทเอกชนใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษาพยาบาล แต่เมื่อลาออกจากงานก็กลับมาใช้สิทธิ สปสช เป็นต้น ซึ่งในอนาคตหากแต่ละองค์กรสาธารณสุขสามารถตกลงกันได้ในเรื่องของมาตราฐาน กลางของข้อมูลดิจิตอลและมาตราการกลางการส่งรับข้อมูลดิจิตอล จะทำให้ในอนาคตเราจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับสถานพยาบาลต่างประเทศ กับองค์กรดูแลสิทธิการรักษาพยาบาลได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคนไข้ในประเทศ รวมไปถึงชาวต่างประเทศที่เข้ามารักษาตัวในประเทศไทย ซึ่ง รพ.ในประเทศไทยสามารถส่งข้อมูลทางการแพทย์ของผู้ป่วยเพื่อไปเบิกค่ารักษา พยาบาลจากต้นสังกัดในต่างประเทศได้อันจะเป็นการสนับสนุนโครงการ Medical Hub ได้อย่างดีอีกด้วย” นายสุริยัน กล่าว
นายสุริยัน กล่าวว่า เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้เรื่องระบบมาตราฐานข้อมูลอิเล็คตรอนิค “HL7” พร้อมการส่งและรับข้อมูลอิเล็คตรอนิคภายใต้มาตราฐานใหม่ “CONNECT” ให้กับผู้บริหารด้านสารสนเทศของโรงพยาบาลต่าง ๆ นักพัฒนาโปรแกรม บุคลากรของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ตลอดจนผู้สนใจ ได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้น จึงได้จัดอบรมการใช้โปรแกรมที่อิงมาตราฐาน HL7 และมาตราฐานการเชื่อมต่อแบบ CONNECT ภายใต้หัวข้อฝึกอบรม “LEAP-FROG STRATEGY for Thailand; A National Health Information Network for Health Information Exchange - A Step Closer to the Reality of Online Medical Records “ ขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2552 ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS)ชั้น 22 อาคารวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 69 ถนนวิภาวดีรังสิต สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400