นายบรรณ เกษมทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยบริติชซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง จำกัด (มหาชน) ในเอสซีจี เปเปอร์ หนึ่งในผู้นำธุรกิจการพิมพ์ปลอดการปลอมแปลงของไทยและภูมิภาคอาเซียน เปิดเผยว่า “ตลอดระยะเวลา 30 ปี ที่ ไทยบริติช ซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง ได้ดำเนินธุรกิจสิ่งพิมพ์ปลอดการปลอมแปลงในประเทศไทย บริษัทฯ ได้รับการยอมรับ เป็นอย่างดีจากองค์กรภาครัฐและเอกชนมาโดยตลอด ปัจจุบันมีฐานลูกค้าซึ่งเป็นองค์กรที่ความสำคัญกับการป้องกัน การปลอมแปลงทั้งในและต่างประเทศอยู่กว่า 800 ราย ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นจากการพัฒนาสินค้าและบริการ อย่างต่อเนื่อง โดยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ
ทิศทางการให้บริการของ ไทยบริติชซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง จะยังคงเป็นผู้นำระบบและเทคโนโลยีคุณภาพมาพัฒนา ใช้ในประเทศอย่างต่อเนื่อง “การดำเนินธุรกิจสิ่งพิมพ์ป้องกันการปลอมแปลงของเราทุกวันนี้ จะต้องให้บริการอย่าง ครบวงจร ให้ความใส่ใจในคุณภาพ นับตั้งแต่การออกแบบ, การพิมพ์ด้วยเทคนิคพิเศษใหม่ ๆ เน้นความแตกต่างยาก ต่อการปลอมแปลง, การพิมพ์ข้อมูลสำคัญด้วยระบบดิจิตอล, การให้บริการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งพิมพ์ต่างๆ ไม่ว่าจะการรับจัดการบริหารคลังเอกสารพร้อมบริการจัดส่ง รวมถึงจะต้องแนะนำเทคนิค และช่วยวางระบบการป้องกันการปลอมแปลงให้กับลูกค้าด้วย ทั้งนี้ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจสิ่งพิมพ์ปลอดการปลอมแปลง ในปัจจุบันสินค้า Security Printing ที่ดีมีคุณภาพจะไม่ได้คำนึงแต่เทคนิคการพิมพ์ทางกายภาพที่เรียกว่า Physical Security เท่านั้น แต่จะต้องให้เน้นกระบวนการผลิต (Process) ที่มั่นใจได้ พร้อมกับการนำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการป้องการปลอมแปลง ในโลกที่เกี่ยวเนื่องกับระบบไอทีหรือ Logical Security เข้ามาช่วยอย่างเลี่ยงไม่ได้ บริษัทจึงให้ความสำคัญมากๆ กับการพัฒนาระบบโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของโลกอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันความพยายามปลอมแปลงต่างๆ ที่เกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ในโอกาสนี้ บมจ. ไทยบริติชซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง ในฐานะผู้นำด้านการผลิตบัตรพลาสติกระดับโลก ได้แนะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ สู่เมืองไทยอย่างต่อเนื่อง ได้พัฒนาระบบกระเป๋าเงินอิเล็คทรอนิกส์ (TBSP e-Purse) ที่ใช้งานกับบัตร Smart Card ชนิดไร้สัมผัส (Contactless) ขึ้น เริ่มต้นจากการที่บริษัทได้มีโครงการต้นแบบในการพัฒนาบัตรพนักงานสมาร์ทการ์ดขึ้นเพื่อใช้ขึ้นภายในบริษัท ปัจจุบันบริษัทได้พัฒนาระบบดังกล่าวขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ และมีการให้บริการกับ สถาบันอุดมศึกษา ชั้นนำ เป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูง มีการเข้ารหัสลับเพื่อป้องกันการปลอมแปลง ระบบ TBSP e-Purse นี้จะสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายเรียกว่า Multi-SEPS (Multi-purpose Secure Electronic Purse System) โดยสามารถทำหน้าที่เป็นบัตรเติมเงิน บัตรสะสมแต้ม ใช้จ่ายแทนเงินสดในการซื้อของ ใช้แทนคูปอง ลงทะเบียนเรียน บันทึกเวลาเข้าเรียน ขณะเดียวกันอาจารย์ก็สามารถตัดแต้มผ่านบัตรนี้ได้เช่นกัน ใช้เป็นบัตรห้องสมุด บัตรโดยสารระหว่างวิทยาเขตที่ห่างกัน ฯลฯ เป็นต้น ระบบดังกล่าวได้มีการใช้แล้วอย่างเต็มระบบและเป็นไปได้ด้วยดี จากแนวคิดดังกล่าว ทำให้ ไทยบริติชซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง ซึ่งเป็นบริษัทในเอสซีจี เปเปอร์ได้รับรางวัล Outstanding Innovative Product ซึ่งเป็นการจัดงานประกวดนวัตกรรม Power of Innovation Award ของบริษัทในเอสซีจี เปเปอร์ประจำปี 2551-2552
ระบบ RFID ที่บริษัทพัฒนาขึ้นเป็น TBSP e-Purse นี้สามารถนำไปพัฒนาประยุกต์ใช้งานที่สามาระช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้มากมาย ตัวอย่างเช่น
1. ระบบ AU Smart Card ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยบริษัทได้พัฒนาบัตรนักศึกษาของมหาวิทยาลัยให้เป็นระบบ e-Purse อย่างเต็มรูปแบบแห่งแรกในประเทศไทย
2. ระบบ Smart Card เพื่อติดตามสถานะการออกแบบเพลทการพิมพ์กล่องและลังกระดาษให้กับบริษัท Thai Container Group สามารถทำให้ทีมงานและลูกค้ารับทราบถึงความคืบหน้าของขั้นตอนปฏิบัติงาน เพื่อเตรียมการสอดรับกันได้อย่างเป็นระบบ ทำงานได้ราบรื่น ตรงเวลา และประหยัดค่าใช้จ่าย
3. ระบบเพื่อติดตามการจัดเก็บและทำลายเอกสารสำคัญให้แก่บริษัท InfoZafe ซึ่งรับบริการจัดเก็บและทำลายเอกสารให้แก่บริษัทใหญ่มากมายในขณะนี้
“เทคโนโลยีการพิมพ์ที่เรานำเสนอ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกกลุ่มธุรกิจ อาทิ ล่าสุด เอสซีจี เปเปอร์ ได้ร่วมมือกับทรู คอฟฟี่ เปิดตัว Smart Label สติ๊กเกอร์ที่เปลี่ยนสีได้เมื่อโดนความร้อน ที่มีชื่อว่า “ThermoZense” ในงานเปิดตัวแคมเปญ Inspiration on Paper - Inspiration for the Best Coffee โดยที่สติ๊กเกอร์ ThermoZense จะถูกติดอยู่บนปลอกสวมถ้วยกาแฟ (Coffee Sleeve) ซึ่งทำจากกระดาษของ เอสซีจี เปเปอร์ จะเปลี่ยนสีและแสดงอักษร “Hot” สีแดง ในขณะที่ถ้วยกาแฟร้อนเพื่อเพิ่มสุนทรียภาพของการดื่มกาแฟ นับเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ การผลิต High Value Added Stamp ก็ยังเป็นสิ่งที่นำชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น ได้รับ ความไว้วางใจจากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้เป็นผู้จัดพิมพ์ตราไปรษณียากร ชุดพระโพธิสัตว์กวนอิม จำนวน 1,000,000 ดวง ซึ่งมีวันแรกจำหน่ายวันที่ 9 กันยายน 2552 ซึ่งตรงกับปีคริสต์ศักราชที่ 2009 นับเป็นเลขที่เป็นมงคล คือ วันที่ 9 เดือน 9 และปี 2009 แสตมป์ชุดดังกล่าวพิมพ์ด้วยหมึกประกายมุกเป็นครั้งแรกของประเทศ ปรากฏว่าแสตมป์ดังกล่าวได้รับการสั่งจองมากมายและหมดไปอย่างรวดเร็ว จนมีผู้ให้ราคาแสตมป์ดังกล่าวจากดวงละ 9 บาทขึ้นไปถึงดวงละ 13 และ 15 บาท ตามลำดับ เป็นมูลค่าเพิ่มที่เห็นได้ทันทีกว่า 40% ของราคาขาย และทั้งหมดที่กล่าวมา คือความท้าทายที่ไม่เคยหยุดนิ่งของ ไทยบริติชซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง”
ผลประกอบการของ บมจ. ไทยบริติชซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2552 บริษัทมียอดขาย 665 ล้านบาทต่ำกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 5 ในขณะที่บริษัทสามารถทำผลกำไรสุทธิได้ 54 ล้านบาท สูงกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 4 “ปี 2552 นี้นับเป็นปีที่เศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลกไม่ดีนัก บริษัทฯ จึงได้เน้นการบริหารทรัพย์สินหมุนเวียน (Working Capital) การจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนขององค์กรในภาพรวมอย่างเข้มงวด ส่งผลให้ผลประกอบการเก้าเดือนของบริษัทออกมาค่อนข้างดี สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2553 จะยังคงเน้นในการพัฒนาสินค้าและบริการต่างๆ โดยเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อที่ตอบสนองความต้องการตลาดและเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้า และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการถือมั่นในความเป็นบรรษัทภิบาล ทำธุรกิจอย่างถูกต้องโปร่งใส พร้อมตอบแทนสู่สังคมในทุก ๆ โอกาส เชื่อมั่นว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้บริษัทฯ สามารถยืนหยัดในฐานะผู้นำธุรกิจนี้ได้อย่างมั่นคง” นายบรรณ เกษมทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยบริติชซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง จำกัด (มหาชน) ในเอสซีจี เปเปอร์ กล่าวสรุป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
แผนกพัฒนาธุรกิจและการตลาด
บริษัท ไทยบริติชซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง จำกัด (มหาชน)
คุณภัทรัญญา เครือแดง โทร. 0-2261-5215 ต่อ 122