กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี เร่งพัฒนาโลจิสติกส์ เปิดประตูสู่การค้าระหว่างประเทศ

จันทร์ ๐๙ พฤศจิกายน ๒๐๐๙ ๑๖:๑๑
นายชลอ คชรัตน์ อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี เปิดเผยว่า กรมฯ ได้มีการศึกษาเพื่อพัฒนาระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันการส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ ซึ่งการขนส่งทางน้ำเป็นการช่วยลดต้นทุนด้านการขนส่ง ช่วยประหยัดพลังงาน และลดปัญหาต่างๆ ด้านการจราจร การพัฒนาระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเชื่อมโยงกับการพัฒนาการขนส่งทางน้ำและเร่งรัดพัฒนาระบบ โลจิสติกส์ของประเทศไทย จึงเป็นนโยบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ภาคเหนือโดยการพัฒนาท่าเรือเชียงแสน จ.เชียงราย เพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงราย และความตกลงการเดินเรือในแถบแม่น้ำโขงโดยการรวบรวมสินค้าจากพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง เพื่อส่งออกไปยังประเทศจีนและสินค้านำเข้าจากจีนลงมากระจายเพื่อการส่งออกไปยังท่าเรือหลักและภูมิภาค โดยท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 ได้ดำเนินการสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้มีการออกแบบเพื่อก่อสร้างท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าบริเวณภาคเหนือตอนบนเชื่อมโยง การขนส่งมายังภาคกลางที่ท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือระนอง เพื่อการส่งออกและเพื่อเป็นประตูการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติในหลักการให้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีดำเนินการก่อสร้างท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2

ทั้งนี้ โครงการนี้เป็นโครงการที่สำคัญตามยุทธศาสตร์การพัฒนาการขนส่งทางน้ำและทางรางเป็นหลัก โดยมีถนนเชื่อมโยงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ และได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาระบบ โลจิสติกส์ปี 2550-2554 และสอดคล้องกับแผนแม่บทในยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบเครือข่ายโลจิสติกส์ในประเทศให้เชื่อมโยงอย่างบูรณาการทั้งเครือข่ายภายในประเทศและการเชื่อมต่อไปสู่ต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายของโครงการคือ การปรับปรุงแบบท่าเรือให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และความต้องการใช้งานท่าเทียบเรือ รวมทั้งให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เสนอไว้

นายชลอ กล่าวต่อไปว่า “การก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้าทางลำน้ำเพื่อการประหยัดพลังงานของภาคกลาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าทางน้ำ ซึ่งเป็นระบบการขนส่ง Mass Transportation ให้เกิดการเชื่อมโยงการขนส่งทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อมโยงออกสู่ชายฝั่งทะเล

เพื่อการส่งออกที่เขตท่าเรือศรีราชา และท่าเรือแหลมฉบัง อันเป็นการบรรเทาปัญหาการจราจรทางบกในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และประหยัดพลังงานของประเทศ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การขนส่งทางน้ำเป็นวิธีการขนส่งที่ช่วยลดการใช้พลังงานของประเทศได้ ส่วนภาคตะวันออกโดยการก่อสร้างท่าเทียบเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ จ.ตราด เพื่อเป็นประตูการค้าชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านโดยก่อสร้าง ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ที่อำเภอคลองใหญ่ จ.ตราด เพื่อพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งทางน้ำ พร้อมกับการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนกลับมาใช้ การขนส่งทางน้ำมากยิ่งขึ้น เพื่อก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจของการขนส่งสินค้าและธุรการการท่องเที่ยวในภูมิภาค อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ”

“สำหรับภาคใต้ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี มีโครงการพัฒนาท่าเรือในพื้นที่ภาคใต้พร้อมกับการประสานงานให้เกิดการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในภาคใต้เป็น Land Bridge เชื่อมทะเลอ่าวไทยกับอันดามัน ได้แก่ 1.การพัฒนาภาคใต้ตอนบนระหว่างชุมพรกับระนอง โดยการพัฒนาท่าเรือที่จังหวัดชุมพร เพื่อการขนส่งเชื่อมโยงโดยเรือเฟอร์รี่ระหว่างภาคใต้ตอนบนและภาคตะวันออกเชื่อมไปสู่ฝั่งตะวันตก เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง ช่วยประหยัดพลังงานและช่วยลดการจราจรแออัดและอุบัติเหตุ และการพัฒนาท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ระนอง จ.ระนอง เพื่อเป็นท่าเรือหลักบริเวณภาคใต้ตอนบนด้านชายฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อสนับสนุนการค้ากับประเทศ เพื่อนบ้านในพื้นที่ BIMST-EC และ GMS-EC รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่หลังท่า เพื่อเป็นศูนย์ ICD และศูนย์แปรรูปอุตสาหกรรมส่งออกและบริโภคภายในประเทศ ตลอดจนระบบการคมนาคมครบวงจร 2.การพัฒนาภาคใต้ตอนล่างระหว่างสงขลากับสตูล โดย ขน. มีแผนในการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล เพื่อเป็นประตูการค้าทางทะเลฝั่งอันดามันเชื่อมโยงศูนย์กลางการขนส่ง / ขนถ่ายสินค้าทางทะเลไปยังเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และทวีปยุโรป นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงชายฝั่งทะเลอันดามัน อ่าวไทย และชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก โดยการพัฒนาท่าเรือ น้ำลึก บริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนล่าง ( ท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ) เพื่อรองรับการค้าระหว่างประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือน้ำลึกบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนล่างให้สามารถรองรับเรือขนาดประมาณ 50,000 — 70,000 เดทเวทตันได้ รวมทั้งพัฒนาระบบคมนาคมครบวงจรเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ นายชลอ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100
๑๘ เม.ย. กรุงศรี ฉลอง 80 ปี ดูหนัง 80 บาท ที่ Major Cineplex เมื่อชำระด้วยบัตรกรุงศรี เดบิตและบัตร Krungsri Boarding
๑๘ เม.ย. แบรนด์ซุปไก่สกัด รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในโครงการ สมองล้าอย่าขับ พักดื่มแบรนด์ จับมือ ตำรวจทางหลวง และ ตำรวจจราจร
๑๘ เม.ย. ซัมซุงจัดใหญ่! เป็นเจ้าของ ตู้เย็น Side by Side รุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมรับสิทธิพิเศษแบบจุใจ ได้แล้ววันนี้
๑๘ เม.ย. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
๑๘ เม.ย. EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs รับมือนโยบายภาษีแบบตอบโต้ของสหรัฐฯ
๑๘ เม.ย. ปักหมุด! เตรียมจัดงาน PET Expo Thailand 2025 จัดยิ่งใหญ่ครบรอบ 25 ปี
๑๘ เม.ย. ลดคลายร้อน ช้อปแลคตาซอย 1,000 ลด 100 พร้อมชวนร่วมสนุกถ่ายภาพคู่แลคตาซอย ลุ้น 10 รางวัล
๑๘ เม.ย. DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที THAIFEX - ANUGA ASIA 2025
๑๘ เม.ย. โรงแรมเครือดุสิตธานี เปิดตัวโปรพิเศษต้อนรับซัมเมอร์ 'A Night on Us' เติมเต็มวันพักผ่อนอย่างมีความสุขกับโรงแรมและรีสอร์ทในเครือดุสิตธานีทั่วโลก