ผลสำรวจจากไซแมนเทค ชี้ การที่องค์กรขนาดกลางและขนาดย่อม ตระหนักดีถึงความพร้อมในการรับมือเมื่อเกิดภัยพิบัติ กับ ความเป็นจริง เป็นคนละเรื่องกัน

พฤหัส ๑๒ พฤศจิกายน ๒๐๐๙ ๑๑:๔๓
แม้จะมั่นใจในความภักดีของลูกค้า แต่ตราบใดที่องค์กรขนาดกลางและขนาดย่อมไม่มีแผนเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติที่ดีพอ อาจเสียลูกค้าได้

ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน (Nasdaq: SYMC) เปิดเผยผลการสำรวจการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติในปี 2552 สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติและวิธีปฏิบัติขององค์กรขนาดกลางและขนาดย่อม (SMB) รวมถึงกลุ่มลูกค้าขององค์กรเหล่านี้ ในการเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ จากผลสำรวจแสดงให้เห็นถึงปัจจัยที่ขัดแย้งกันอยู่มากระหว่างการที่องค์กรธุรกิจขนาดกลางและย่อมต่างตระหนักดีถึงการเตรียมความพร้อมในการป้องกันภัยพิบัติ กับระดับของการเตรียมการขององค์กรเหล่านี้ในการรับมือกับภัยพิบัติ ข้อมูลเหล่านี้ยังชี้ให้เห็นว่าการที่ระบบงานขององค์กรธุรกิจขนาดกลางและย่อมหยุดทำงานนั้น สร้างความเสียหายให้แก่ลูกค้านับหลายแสนดอลล่าห์ หรือกว่าสามล้านบาทในแต่ละปี ผลการสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์ดังกล่าว อาจบ่อยครั้งที่ทำให้ธุรกิจเสียหาย อันเป็นผลพวงโดยตรงมาจากการที่องค์กรไม่มีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ

“การวิจัยครั้งนี้พบความจริงที่น่าตกใจ นั่นคือองค์กรขนาดกลางและขนาดย่อมไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับลูกค้าเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ระบบต้องหยุดทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่องค์กรเหล่านี้ต่างมีเครื่องมืออยู่ใกล้เพียงแค่เอื้อม และเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้องค์กรเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ” แพท ฮานาวา รองประธาน กลุ่มผลิตภัณฑ์แบ็กอัพ เอ็กเซ็ค ของไซแมนเทค กล่าว “แม้ว่าไม่มีใครอยากให้เกิดภัยพิบัติขึ้นก็ตาม แต่ความเป็นจริงก็คือ สิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้แทนที่จะอยู่นิ่งโดยไม่ได้เตรียมการ องค์กรเหล่านี้สามารถเริ่มต้นป้องกันข้อมูลในองค์กรอย่างง่ายๆ และในเวลาที่บริษัทเหล่านี้สื่อสารให้ลูกค้าทราบถึงแผนการป้องกันดังกล่าว เท่ากับเป็นการช่วยตอกย้ำสัมพันธภาพให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นจนกลายเป็นพันธมิตรที่มีความเชื่อมั่นในกันและกัน”

องค์กรส่วนใหญ่มีความมั่นใจสูงในเรื่องการเตรียมความพร้อม

จากผลการสำรวจพบว่าองค์กรขนาดกลางและขนาดย่อมมั่นใจในแผนเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติของตน 82 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าค่อนข้างพอใจมากกับแผนรับมือภัยพิบัติ และจำนวนที่ใกล้เคียงกัน (84 เปอร์เซ็นต์) รู้สึกว่ามีการป้องกันที่ค่อนข้างดี และดีมากในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น

องค์กรขนาดกลางและขนาดย่อมยังคงเชื่อว่าลูกค้าของตนจะเข้าใจและอดทนรอเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการ ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ระบบงานไม่สามารถทำงานได้ มีเพียงหนึ่งในสาม (34 เปอร์เซ็นต์) ขององค์กรขนาดกลางและขนาดย่อมที่เชื่อว่าลูกค้าของตนจะประเมินทางเลือกอื่น รวมถึงการหันไปหาคู่แข่งของตนแทน

สภาพความเป็นจริงแสดงให้เห็นว่าความมั่นใจไม่สามารถรับประกันได้

อย่างไรก็ตาม วิธีปฏิบัติขององค์กรขนาดกลางและขนาดย่อมเผยให้ว่าความมั่นใจไม่สามารถรับประกันได้ โดยเฉลี่ยแล้วองค์กรธุรกิจขนาดย่อมมีประสบการณ์เกี่ยวกับการหยุดทำงานของระบบถึง 3 ครั้งในช่วงเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งอาจมีสาเหตุหลักมาจากเรื่องของไวรัสหรือการโจมตีจากแฮคเกอร์ กระแสไฟฟ้าดับหรือเกิดจากภัยธรรมชาติก็ตาม สิ่งนี้นับว่าเป็นการเตือนเนื่องจากว่าครึ่งหนึ่งขององค์กรภายใต้การทำสำรวจยังไม่มีแผนรองรับเรื่องดังกล่าว

จากผลการสำรวจผล พบว่ามีเพียงหนึ่งในห้า (คิดเป็น 23 เปอร์เซ็นต์) เท่านั้นที่ทำสำรองข้อมูลแบบรายวัน และมีองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวนเฉลี่ยแค่ 60 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ที่ทำสำรองข้อมูลทั้งของตนเองและลูกค้า โดยกว่าครึ่งขององค์กรมีการประเมินว่าถ้าหากระบบคอมพิวเตอร์เกิดเสียหายเนื่องจากไฟไหม้ ข้อมูลจะหายไป 40 เปอร์เซ็นต์

ลูกค้าได้รับผลกระทบอย่างมากจากการหยุดทำงานของระบบ

ลูกค้าที่เป็นองค์กรขนาดกลางและขนาดย่อมประเมินมูลค่าความเสียหายจากการหยุดทำงานของระบบเป็นจำนวนเงินสูงถึง 15,000 ดอลลาห์ หรือ ห้าแสนกว่าบาทต่อวันโดยเฉลี่ย ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้ยังส่งผลกระทบทำให้ระบบหยุดทำงานแปดชั่วโมงหรือมากกว่านั้น คิดเป็นจำนวน 42 เปอร์เซ็นต์ที่ โดยหนึ่งในสี่ของลูกค้า (26 เปอร์เซ็นต์) แจ้งว่าข้อมูลสำคัญขององค์กรต้องสูญหาย

จากผลการสำรวจ พบว่าการที่ลูกค้าที่เป็นองค์กรขนาดกลางและย่อมจำนวนสองในห้า (42 เปอร์เซ็นต์) เปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้จำหน่ายรายอื่น เนื่องจาก “รู้สึกว่าระบบเทคโนโลยีหรือคอมพิวเตอร์ของผู้จำหน่ายรายเดิมที่ใช้อยู่ไม่น่าเชื่อถือ” สิ่งนี้นับว่าเป็นความขัดแย้งที่เห็นได้อย่างชัดเจน กับการที่สองในสามขององค์กรขนาดกลางและย่อม เชื่อว่าลูกค้าอาจจะ “รอคอยอย่างอดทน จนกว่าระบบงานของเราจะกลับสู่สภาพปกติ” หรืออาจโทรมา “เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการเท่าที่ทำได้ แต่อาจรอคอยด้วยความอดทนจนกว่าระบบงานของเราจะกลับสู่สภาพปกติ” ผลข้างเคียงอีกประการของการที่ระบบงานหยุดทำงาน คือความเสียหายที่เกิดกับชื่อเสียงของบริษัท 63 เปอร์เซ็นต์ของลูกค้ารายงานว่าการที่ระบบหยุดทำงานทำให้ภาพพจน์ของธุรกิจนั้นๆ เสียไปด้วย

ข้อเสนอแนะ

แม้ว่า 47 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไม่มีแผนงานเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติอย่างเป็นทางการ แต่เกือบ 89 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรที่ไม่มีแผนงานดังกล่าวจะมีการจัดทำแผนงานภายใน 6 เดือนข้างหน้า เรื่องนี้นับเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากองค์กรธุรกิจขนาดกลางและย่อม (77 เปอร์เซ็นต์) รายงานว่าบริษัทตั้งอยู่ในภูมิภาคที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยธรรมชาติ (เช่น พายุเฮอริเคน ทอร์นาโด และแผ่นดินไหว) และเนื่องจากองค์กรเหล่านี้ได้มีการจัดทำแผนการรับมือ ไซแมนเทค จึงมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้

- ประเมินความต้องการขององค์กร องค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ควรใช้เวลาในการตัดสินใจว่าข้อมูลใดเป็นข้อมูลสำคัญที่ควรจะได้รับการจัดเก็บและป้องกันอย่างปลอดภัย ซึ่งข้อมูลลูกค้า ข้อมูลทางธุรกิจและด้านการเงิน รวมถึงความลับทางการค้าควรได้รับการจัดลำดับความสำคัญสูงสุด นอกจากนี้ องค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ควรติดตามรายงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยระบุได้ว่าภัยคุกคามใดที่องค์กรฯ ต้องเผชิญและควรจะต้องมีการป้องกันที่ดี

- จัดให้มีที่ปรึกษาที่น่าเชื่อถือได้มีส่วนร่วม ด้วยข้อจำกัดในเรื่องเวลา งบประมาณ และบุคลากร องค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมควรมองหาผู้ให้บริการโซลูชันที่สามารถช่วยองค์กรในการจัดทำแผนรับมือภัยพิบัติ รวมถึงติดตั้งโซลูชันที่ให้การป้องกันแบบอัตโนมัติ และคอยติดตามแนวโน้มและภัยคุกคามต่างๆ เพื่อเตรียมการป้องกัน นอกจากนี้ ต้องจัดให้ความรู้แก่บุคลากรในเรื่องการเรียกข้อมูลจากอุปกรณ์สำรองในเวลาที่ต้องการ พร้อมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับระบบการจัดเก็บข้อมูลนอกสถานที่เพื่อเป็นการปกป้องข้อมูลสำคัญไว้อีกทาง

- ปรับการทำงานให้เป็นระบบอัตโนมัติในทุกจุดที่สามารถทำได้ การปรับให้กระบวนการสำรองระบบงานและข้อมูลดำเนินการได้โดยโดยอัตโนมัติช่วยให้มั่นใจว่าไม่มีการมองข้ามบางจุดไป ซึ่งองค์กรธุรกิจขนาดกลางและย่อมสามารถลดระยะเวลาในการที่ระบบหยุดทำงานได้ด้วยการติดตั้งเครื่องมือที่ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติเพื่อช่วยลดงานของผู้ดูแล และยังต้องคอยดูว่าแผนกู้คืนนั้นมีจุดบกพร่องอื่นหรือไม่

- ดำเนินการทดสอบระบบงานเป็นประจำทุกปี ช่วงเวลาที่แย่ที่สุดในการกู้คืนข้อมูล ก็คือเวลาที่พบว่าไฟล์งานสำคัญไม่ได้ถูกสำรองไว้ตามแผน การทดสอบด้านการกู้คืนจึงนับเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่ง และองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจึงควรหาทางปรับปรุงเพื่อให้การทดสอบประสบความสำเร็จ โดยต้องประเมินและใช้วิธีการทดสอบที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน

ผลการสำรวจของไซแมนเทคเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ

การสำรวจของไซแมนเทคเรื่องการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ เป็นผลจากการวิจัยที่จัดทำขึ้นในเดือนสิงหาคมและกันยายน ปี 2552 โดยแอพพลายด์ รีเสิร์ซ ซึ่งสำรวจผู้ดูแลรับรับผิดชอบด้านคอมพิวเตอร์และทรัพยากรเทคโนโลยีในองค์กรขนาดกลางและขนาดย่อม โดยจัดทำรายงานนี้ขึ้นมาเพื่อประเมินถึงผลกระทบและขั้นตอนในการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ และเพื่อประเมินเกี่ยวกับการรับรู้และวิธีปฏิบัติขององค์กรขนาดกลางและขนาดย่อม การศึกษาครั้งนี้ครอบคลุมผู้ตอบการสำรวจกว่า 1,650 ราย จาก 28 ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา เอเชียแปซิฟิกและละตินอเมริกา

ลิงค์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผลการสำรวจเพิ่มเติม หรือ ข้อมูลอื่นๆ จากไซแมนเทคเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติฉบับนี้ สามารถหาอ่านได้จากลิงค์ด้านล่างดังนี้

10 ปัจจัยที่จำเป็นสำหรับชุดเครื่องมือช่วยเหลือในการกู้คืนเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับองค์กรขนาดย่อม โซลูชันของไซแมนเทคสำหรับองค์กรขนาดย่อม การปกป้องที่สมบูรณ์แบบสำหรับองค์กรขนาดย่อม การสำรวจองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในปี 2552 เกี่ยวกับความปลอดภัยและการจัดเก็บข้อมูล ผลรายงานการวิจัยปี 2552 เกี่ยวกับการกู้คืนระบบเมื่อเกิดภัยพิบัติ

เกี่ยวกับ ไซแมนเทค

ไซแมนเทค เป็นผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่องค์กรทั้งในระดับเอ็นเตอร์ไพร์ซ และองค์กรส่วนบุคคล ในเรื่องการใช้งานข้อมูลร่วมกัน รวมถึงความพร้อมในการเรียกใช้และความปลอดภัยของข้อมูล โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ คิวเปอร์ติโน มลรัฐแคลิฟอร์เนีย และมีศูนย์ปฏิบัติการอยู่กว่า 40 ประเทศ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชมได้ที่ www.symantec.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ

ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอพีพีอาร์ มีเดีย จำกัด

คุณกณวรรธน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

คุณบุษกร ศรีสงเคราะห์

โทรศัพท์ : 0-2655-6633 แฟกซ์: 0-2655-3560

Email: [email protected], [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO