วัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุยเดชฯ ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” และเผยแพร่พระเกียรติคุณ พระปรีชาสามารถ และพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงริเริ่ม และพัฒนาโครงการพระราชดำริฝนหลวง ตลอดจนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ข้าราชการ นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้รู้ถึงความเป็นมาเกี่ยวกับ “วันพระบิดาแห่งฝน"
“ฝนหลวง” เป็นโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในขณะที่ทรงเสด็จเยี่ยมประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2498 ได้ทรงพบเห็นความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชน อันเนื่องมาจากความผันแปรไม่แน่นอนของฝนธรรมชาติทรงวิเคราะห์ว่า “เมื่อมีฝนก็มีมากเกินพอจนเกิดปัญหาน้ำท่วม เมื่อหมดฝนก็เกิดปัญหาภัยแล้งตามมา.....นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของความยากจนของประชาชน.....”(จากพระราชบันทึกเรื่อง “Rainmaking Story” พระราชทานในปี พ.ศ.2543) แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาความผันแปรไม่แน่นอนของฝนธรรมชาติในเวลานั้น อยู่ที่การจัดการทรัพยากรน้ำใน 2 วิธี คือ(1) สร้างเขื่อน (Check dam) และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กตามลาดเขา เพื่อชะลอการไหลบ่าของน้ำจากเขาไม่ให้เข้าท่วมพื้นที่พื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินของประชาชน ในขณะเดียวกันเขื่อนและอ่างจะเก็บกักน้ำสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งต่อไป (2) หาวิธีการทำฝนเทียม (Rainmaking) เพื่อบังคับเมฆให้ตกเป็นฝนในพื้นที่ที่ต้องการในเรื่องของการทำฝนเทียมหรือฝนหลวงนี้ ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัยหากรรมวิธีดัดแปรสภาพอากาศที่เหมาะสมกับประเทศไทย
ในการบังคับให้เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายที่ต้องการน้ำฝน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนอันเนื่องมาจากภัยแล้ง ซึ่งอีก 14 ปีต่อมา (พ.ศ. 2512) จึงได้มีการทดลองทำฝนครั้งแรกขึ้นในประเทศไทย และจากความสำเร็จในชั้นบุกเบิกการทดลองทำฝน ภายใต้การนำของหม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้รับสนองพระราชดำริ ระหว่างปี พ.ศ.2512-2514 รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงน้อมรับวิธีการทำฝนเทียมมาปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภัยแล้งตามการร้องขอของประชาชนควบคู่ไปกับการพัฒนากรรมวิธีการทำฝนหลวงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์