กรุงเทพมหานคร ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ประชุมหามาตรการร่วมกันในการป้องกันปัญหาอาชญากรรมในจุดเสี่ยง จากการสำรวจที่ผ่านมาพบว่าพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร มีจุดเสี่ยงอยู่ทั้งสิ้น 5,365 จุด แบ่งเป็นจุดเสี่ยงประเภทสะพานลอย ป้ายรถโดยสารประจำทาง สวนสาธารณะ ตึกร้าง และตามตรอก ซอก ซอย และจุดเสี่ยงประเภทหอพัก ห้องเช่า และอพาร์ตเมนต์ โดยกรุงเทพมหานครจะเร่งติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) การเพิ่มไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณป้ายรถประจำทางที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ และการถางพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ที่คนร้ายอาจใช้เป็นที่หลบซ่อนในการก่อเหตุ นอกจากนี้กรุงเทพมหานครยังได้จัดเจ้าหน้าที่สายตรวจเทศกิจออกตรวจบริเวณพื้นที่จุดเสี่ยง โดยการติดตั้งกล่องเขียวเพื่อให้เทศกิจเข้าไปตรวจตามเวลา อีกทั้งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเพิ่มความถี่ในการตรวจพื้นที่มากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้กรุงเทพมหานครยังได้สร้างเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์คนเมือง ประกอบด้วย มอเตอร์ไซด์รับจ้าง ผู้ขับแท็กซี่ พนักงานรักษาความปลอดภัย ให้ร่วมเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงการรับข่าวสาร กระจายข่าวระหว่างกรุงเทพมหานครและกองบัญชาการตำรวจนครบาล เพื่อช่วยดูแลในจุดเสี่ยงและแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายอีกด้วย
- พ.ย. ๖๐๘๑ ภาพข่าว: ASEAN:SPU : มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีร่วมกับ ตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี จัดอบรมเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
- พ.ย. ๒๕๖๗ กรมควบคุมโรค จับมือ สตช. และ สคบ. ร่วมหาแนวทางการดำเนินคดีกรณีการใช้ศิลปิน ดารา และผู้มีชื่อเสียงโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- พ.ย. ๗๙๒๖ ภาพข่าว: ผบ.ตร.รับมอบเสื้อตราสัญลักษณ์เฉลิมพระชนมพรรษาฯ จากบริษัทซุปเปอร์ริช(ไทยแลนด์) จำกัด