ฉลากประสิทธิภาพสูง...ช่วยชาติลดใช้พลังงาน

จันทร์ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๐๐๙ ๑๑:๓๕
พพ. แนะคนไทยเลือกซื้อสินค้าติดฉลากประสิทธิภาพสูง ช่วยชาติลดการใช้พลังงาน เดินหน้ามอบฉลากประสิทธิภาพสูงให้ผู้ประกอบการเพิ่มเติมในปี 2552 อีก 30 ราย

นายประมวล จันทร์พงษ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวระหว่างการเสวนา “ ฉลากประสิทธิภาพช่วยชาติได้อย่างไร ” ในงานพลังงานก้าวไกล ประเทศไทยก้าวหน้า 2552 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 13-15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่า โครงการส่งเสริมเครื่องจักร อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยมี “ฉลากประสิทธิภาพสูง” เป็นสัญลักษณ์ในการประหยัดพลังงานนั้น กระทรวงพลังงานได้เริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2547 มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์ เน้นการผลิตสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงในการช่วยลดการใช้พลังงาน ในเบื้องต้นได้นำร่องกับอุปกรณ์ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น เตาแก๊สหุงต้ม และอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ หรือ VSD ที่อยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นเช่น ตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศ คาดว่าในปี 2554 จะมีเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ประมาณ 45 ชนิด ที่จะได้รับการติด “ฉลากประสิทธิภาพสูง” เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการลดการใช้พลังงานของชาติได้ในภาพรวม

ทั้งนี้ในปี 2552 กระทรวงพลังงานได้มอบ “ฉลากประสิทธิภาพสูง” ให้กับผู้ประกอบการสินค้าผ่านเกณฑ์การประเมินอีก 30 ราย อาทิ บริษัทแมกซ์เกนแมนูแฟคเจอรี่ จำกัด (เตาแก๊สหุงต้ม), บริษัทยาสกาว่า อิเล็กทริก (ประเทศไทย) จำกัด (อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน), บริษัทไทย-เยอรมันสเปเชียลตี้ กลาส จำกัด (กระจกเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน) , บริษัท การ์เดียน อินดัสทรีส์ ระยอง จำกัด (กระจกเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน),บริษัท ไทยเทคโนกลาส จำกัด (กระจกเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน) และบริษัทสยามไฟเบอร์กลาส จำกัด (ฉนวนกันความร้อนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน) เป็นต้น

ในอนาคตกระทรวงพลังงานยังมีเป้าหมายที่จะติดฉลากประสิทธิภาพสูงให้กับสินค้าอีกหลายชนิด เช่น หลังคา อิฐมวลเบา พื้นสำเร็จรูป รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เป็นต้น และขอเชิญชวนผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ เพื่อสร้างแบรนด์ของสินค้าที่ติดฉลากประสิทธิภาพสูงให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และจะทำให้ผู้ประกอบการของไทยสามารถแข่งขันกับสินค้าในประเภทเดียวกันที่มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศด้วย

ด้าน นายสลิล กันตนฤมิตรกุล ผู้จัดการส่วนการตลาด บริษัท สยามไฟเบอร์กลาส จำกัด ในเครือ SCG ซึ่งเป็นผู้ผลิตฉนวนกันความร้อนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และเป็นหนึ่งในผู้ได้รับฉลากประสิทธิภาพสูงในปีนี้ เปิดเผยว่า สินค้าและผลิตภัณฑ์ของ SCG จะมุ่งเน้นการประหยัดพลังงาน การได้รับฉลากประสิทธิภาพสูงถือเป็นการสร้างโอกาสที่ดีให้กับสินค้า เพราะปัจจุบันมีผู้ผลิตฉนวนกันความร้อนเป็นจำนวนมาก ฉลากประสิทธิภาพสูงจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าเพื่อให้ได้ทั้งความคุ้มค่าและประหยัดพลังงาน

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลัง กระทรวงพลังงาน

คุณพัชรี เลิศปกรณ์ชัย โทร.02-946-8470-2

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ