สกศ. วิจัยประชากรกลุ่มวัยแรงงาน 15-59 ปี เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้มากขึ้น

พฤหัส ๑๙ พฤศจิกายน ๒๐๐๙ ๑๕:๕๔
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดสัมมนา เรื่อง แนวทางการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับประชากรวัยแรงงานอายุ 15-59 ปี ณ ห้องประชุมเรนโบว์ 1 โรงแรมใบหยกสกาย ประตูน้ำ กรุงเทพฯ โดยมี นางสาวสุทธาสินี วัชรบูล รองเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวเปิดการประชุมว่า เป็นโครงการที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ทำการวิจัยและพัฒนารูปแบบเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับประชากรที่อยู่นอกโรงเรียน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552 ในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองที่ให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาผู้เรียน ทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรกลุ่มวัยแรงงาน ซึ่งมีจำนวน 2 ใน 3 ของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะฉะนั้น การพัฒนาหรือเพิ่มโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการศึกษาเฉลี่ยของประเทศเพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 8.7 หากเรามีแนวทางการจัดการศึกษาพัฒนาในเรื่องการอ่าน การเรียนรู้ และนำเทคโนโลยีด้าน ICT มาช่วย จะสามารถเพิ่มโอกาสทางวิชาชีพ หรือกลไกเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานไปสู่ตลาดแรงงานต่างประเทศได้อีกด้วย

ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี สังข์ศรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผู้ทำวิจัย กล่าวว่า ได้ศึกษาวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างทุกภูมิภาคของประเทศ แบ่งเป็นกลุ่มประชากรวัยเรียนที่ไม่ได้ศึกษาในระบบ อายุระหว่าง 15-25 ปี กลุ่มวัยทำงานอายุระหว่าง 26-59 ปี จำนวน 960 คน รวมกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆที่เป็นผู้จัดการศึกษานอกระบบจำนวน 40 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,000 คน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบของกิจกรรมทางการศึกษาสามารถจัดได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับธรรมชาติและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เช่น การจัดศูนย์เรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของสถานประกอบการจัดการศึกษาในโรงงานเทียบเท่าการศึกษาระดับต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเพิ่มวุฒิการศึกษา ตลอดจนการฝึกอบรมในงานเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ภาคอุตสาหกรรม การส่งเสริมการ การศึกษาทางไกลเต็มรูป ในลักษณะการเรียนผ่านสื่อต่างๆ รวมถึงการสร้างระบบสะสมหน่วยกิตสะสมผลการเรียนไว้ได้ภายใน 5 ปี และสามารถเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ได้

“กลุ่มตัวอย่างประสงค์ที่จะรับบริการจาก กศน.ในพื้นที่ เป็นแกนกลางในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบมากที่สุด สำหรับการกำหนดเนื้อหาความรู้แต่ละกิจกรรมในกลุ่มเป้าหมาย จะต้องมาจากความต้องการที่แท้จริง เพื่อที่จะสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ ไม่ใช่จัดตามความสะดวกหรือความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” ศ.ดร.สุมาลี กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ