นิทรรศการซากดึกดำบรรพ์ที่สยาม ดิสคัฟเวอรี่ โดยกรมทรัพย์ฯ

พฤหัส ๑๙ พฤศจิกายน ๒๐๐๙ ๑๗:๒๒
เด็กๆและครอบครัว แห่ชมงาน “มหกรรมทรัพยากรธรณีและซากดึกดำบรรพ์” คับคั่ง พบซากดึกดำบรรพ์ชนะเลิศในไทย ปลื้มกับน้ำดื่มบริสุทธิ์ 20,000 ปี พร้อมรับความรู้อดีต-อนาคตโลกจากซากดึกดำบรรพ์ เมื่อ 7 — 13 พย.ที่ สยามดิสคัฟเวอรี่

จากการที่กรมทรัพยากรธรณี ในกระทรวงทรัพยากรฯ ได้จัดงาน “มหกรรมทรัพยากรธรณีและซากดึกดำบรรพ์” ภายใต้ “โครงการเทิดพระเกียรติ เหลือง-ฟ้า มหามงคล ใต้ร่มพระบารมี ทรัพยากรธรณีก้าวไกล” โดยมี นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งจัดไปแล้วในระหว่างวันที่ 7 — 13 พฤศจิกายน 2552 ณ ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่

ภายในงานมีพิธีมอบรางวัลการประกวดซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบในไทย รางวัลชนะเลิศซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังได้แก่ “ฟันช้างงาจอบ” นายวิโรจน์ ข่ายสุวรรณ ส่งเข้าประกวด ซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังได้แก่ “นอติลอยด์” นายธรรมรัตน์ นุตะธีระ ส่งเข้าประกวด และซากดึกดำบรรพ์พืช ได้แก่ “ใบไม้ของพืชใบเลี้ยงคู่” นายแผนกานต์ เพิ่มสุข ส่งเข้าประกวด

งานนี้ได้รับความสนใจจากเด็กๆ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปเข้าชมงานมากมาย ภายในงานมีกิจกรรมหลากหลายในเรื่องเกี่ยวกับทรัพยากรธรณี ซากดึกดำบรรพ์ และไดโนเสาร์ รวมทั้งบทบาทภารกิจของกรมทรัพยากรธรณี สวนไดโนเสาร์ (Dino Park) แสดงโครงจำลองของไดโนเสาร์ที่ขุดพบในไทย จากพิพิธภัณฑ์สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้มาเที่ยวงานได้เข้าชมห้องจำลองพิบัติภัย 4D Simulator และร่วมกิจกรรมต่างๆ อาทิ การทดลองขุดค้นไดโนเสาร์ วาดภาพระบายสีซากดึกดำบรรพ์ ชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ Active Earth ทำให้ทราบว่าโลกไม่เคยหยุดนิ่ง มีการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ ทั้งภายในและพื้นผิวของโลก ได้รับความรู้เรื่องทรัพยากรหิน แร่ ปิโตรเลียม และน้ำบาดาล วิธีการสำรวจซากดึกดำบรรพ์ การเกิดซากดึกดำบรรพ์

กลุ่มผู้ปกครองที่มากับลูกๆ ได้มารับบริการตรวจสอบอัญมณีฟรี โดยผู้เชี่ยวชาญจากกรมทรัพยากรธรณี และต่างปลื้มใจที่ได้รับน้ำดื่มบริสุทธิ์อายุ 20,000 ปี ฟรีคนละ 1 ขวด ซึ่งเป็นน้ำบาดาลบริสุทธิ์ไหลวนซึมซับอยู่ในแหล่งน้ำใต้ดินใต้จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทองมานับหมื่นๆ ปี โดยการกรองธรรมชาติไหลผ่านชั้นกรวดทรายช้าๆ ค่อยๆ ซึมปีละ 10 เซนติเมตรเท่านั้น และอยู่ลึกลงไป 150 เมตรจากผิวดิน เป็นน้ำบริสุทธิ์ที่มีแร่ธาตุจำเป็นต่อร่างกายในปริมาณสมดุล

นอกจากนั้น นายอดิศักดิ์ ทองไข่มุกต์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ยังได้เล่าอีกว่า การเรียนรู้ซากดึกดำบรรพ์และธรณีวิทยา ทำให้เรารู้อดีตและอนาคตของโลกได้ ซากพืชซากสัตว์ดึกดำบรรพ์สามารถบ่งบอกถึงระยะเวลาการดำรงชีวิตอยู่ การวิวัฒนาการของพืชและสัตว์ ความแตกต่างทางชีวภาพ การเรียนรู้ภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อมในแต่ละยุค การเคลื่อนตัว แยกตัว รวมตัวของแผ่นดินแต่ละทวีป ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาอนาคตของโลกต่อไปอย่างไม่หยุดนิ่ง

“มหกรรมทรัพยากรธรณีและซากดึกดำบรรพ์” เป็นนิทรรศการโครงการและผลงานตามพระราชดำริและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการวิจัยพัฒนาทรัพยากรธรณีต่างๆ สนับสนุนให้มีการวิจัย พัฒนาทรัพยากรทุกด้าน ทำให้ไทยค้นพบแหล่งแร่ แหล่งหินอุตสาหกรรม แหล่งถ่านหิน และแหล่งปิโตรเลียมฯลฯ ที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ประชาชนในพื้นที่อย่างมหาศาล ทำให้วิชาการธรณีวิทยาของประเทศไทยเจริญรุดหน้าจนอยู่ในระดับมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับของอารยะประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ