สกศ. วิจัยประชากรกลุ่มวัยแรงงาน 15-59 ปี หาทางยกระดับการศึกษา

ศุกร์ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๐๐๙ ๑๖:๑๑
นางสาวสุทธาสินี วัชรบูล รองเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวเปิดการประชุม เรื่อง แนวทางการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับประชากรวัยแรงงานอายุ 15-59 ปี ที่จัดขึ้น ณ ห้องประชุมเรนโบว์ 1 โรงแรมใบหยกสกาย ประตูน้ำ กรุงเทพฯ ว่า สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ทำการวิจัยและพัฒนารูปแบบเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับประชากรที่อยู่นอกโรงเรียน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552 ในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองที่ให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาผู้เรียน ทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรกลุ่มวัยแรงงาน ซึ่งมีจำนวน 2 ใน 3 ของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะฉะนั้น การพัฒนาหรือเพิ่มโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการศึกษาเฉลี่ยของประเทศเพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 8.7 หากเรามีแนวทางการจัดการศึกษาพัฒนาในเรื่องการอ่าน การเรียนรู้ และนำเทคโนโลยีด้าน ICT มาช่วย จะสามารถเพิ่มโอกาสทางวิชาชีพ หรือกลไกเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานไปสู่ตลาดแรงงานต่างประเทศได้อีกด้วย

ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี สังข์ศรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผู้ทำวิจัย กล่าวว่า ได้ศึกษาวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างทุกภูมิภาคของประเทศ แบ่งเป็นกลุ่มประชากรวัยเรียนที่ไม่ได้ศึกษาในระบบ อายุระหว่าง 15-25 ปี กลุ่มวัยทำงานอายุระหว่าง 26-59 ปี จำนวน 960 คน รวมกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆที่เป็นผู้จัดการศึกษานอกระบบจำนวน 40 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,000 คน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบของกิจกรรมทางการศึกษาสามารถจัดได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับธรรมชาติและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เช่น การจัดศูนย์เรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของสถานประกอบการจัดการศึกษาในโรงงานเทียบเท่าการศึกษาระดับต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเพิ่มวุฒิการศึกษา ตลอดจนการฝึกอบรมในงานเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ภาคอุตสาหกรรม การส่งเสริมการ การศึกษาทางไกลเต็มรูป ในลักษณะการเรียนผ่านสื่อต่างๆ รวมถึงการสร้างระบบสะสมหน่วยกิตสะสมผลการเรียนไว้ได้ภายใน 5 ปี และสามารถเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ได้

“กลุ่มตัวอย่างประสงค์ที่จะรับบริการจาก กศน.ในพื้นที่ เป็นแกนกลางในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบมากที่สุด สำหรับการกำหนดเนื้อหาความรู้แต่ละกิจกรรมในกลุ่มเป้าหมาย จะต้องมาจากความต้องการที่แท้จริง เพื่อที่จะสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ ไม่ใช่จัดตามความสะดวกหรือความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” ศ.ดร.สุมาลี กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025