“Live Learn and Thrive” หัวใจหลักของโครงการเพื่อสังคมของ พี แอนด์ จี ในการจัดโครงการซีเอสอาร์ของ พี แอนด์ จี ทั่วโลกนั้น เริ่มต้นมาจากพันธกิจเดียวกันทั่วโลก นั่นคือ “Touching lives, improving life” ซึ่ง พี แอนด์ จี ได้มุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนมาโดยตลอด โดยมองการพัฒนาออกเป็น 2 ส่วน คือ หนึ่งในแง่ของการพัฒนานวัตกรรมในการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งจะเข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนได้ และสอง คือ การมองถึงอนาคตของโลกว่าศักยภาพของมนุษย์นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งในปัจจุบันกลุ่มคนที่จะมีบทบาทมากที่สุดของโลกอนาคตก็คือเยาวชน โดยเฉพาะในเด็กอายุ 0-13 ปีที่ต้องการพัฒนาการและการชี้นำที่ถูกต้องเหมาะสม การให้ความใส่ใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กตั้งแต่ตอนต้นของชีวิตจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในโลกอนาคตให้ดีขึ้นได้มากกว่าในช่วงวัยอื่น เพราะเมื่อเด็กก้าวย่างสู่ความเป็นวัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงอายุที่ได้ผ่านการเผชิญกับอุปสรรคและการต่อสู้ดิ้นรนในชีวิตมาแล้ว การปลูกฝังสิ่งต่างๆ จะทำได้ยากมากยิ่งขึ้น ดังนั้น พี แอนด์ จี จึงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนตั้งแต่เริ่ม ๆ โดยที่กิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ ของ พี แอนด์ จี นั้น จะมีหัวใจหลักสำคัญอยู่ 3 ข้อ ที่ได้นำมาใช้ในการคิดสร้างสรรค์โครงการต่างๆ ขึ้นมา นั่นคือ Live, Learn และ Thrive โดย
Live หมายถึง ทำอย่างไรให้เด็กมีชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ
Learn หมายถึง ทำอย่างไรให้เด็กมีพัฒนาการในการเรียนรู้เพื่อเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ และ
Thrive หมายถึง ทำอย่างไรให้แน่ใจว่าเด็กได้พัฒนาและเติบใหญ่ขึ้นมา เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของสังคม
กว่าจะมาเป็นโครงการ ‘หนึ่งปี หนึ่งโรงเรียน’
การจัดโครงการเพื่อสังคมเกี่ยวกับเด็กของ พี แอนด์ จี ประเทศไทย นั้น ได้เน้นในเรื่องของ Live และ Learn โดยมองว่าเด็กจะกลายเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของสังคมในอนาคต หรือ Thrive นั้นจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อพวกเขาได้รับการศึกษาที่ดีไปพร้อมกับการมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ดังนั้น พี แอนด์ จี ประเทศไทย จึงได้จัดโครงการเพื่อสังคมเกี่ยวกับเด็กขึ้น เพื่อช่วยเหลือให้เยาวชนสามารถศึกษาเล่าเรียนได้ในขณะที่พวกเขาก็มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและปลอดภัยด้วย โดยในอดีตได้มีการจัดโครงการ “มื้อเที่ยงเลี้ยงการศึกษา” ขึ้น หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมเรื่อยมา และจากการลงพื้นที่ศึกษาอย่างจริงจัง พบว่าปัจจุบันในประเทศไทยได้เกิดปัญหาการกระจุกตัวของคนในเมืองที่มีมากขึ้น สาเหตุหนึ่งก็มาจากการที่เด็กนักเรียนในชนบทส่วนใหญ่ที่มีความต้องการศึกษาเล่าเรียนในระดับที่สูงขึ้น จำเป็นต้องเดินทางหรือย้ายจากชนบทเข้ามาเรียนในเมืองใหญ่ เพราะโรงเรียนในชุมชนของพวกเขา ขาดสิ่งอำนวยความสะดวก ไม่มีอาคารเรียนเพียงพอ ที่จะเอื้ออำนวยให้สามารถขยายเพื่อเปิดการเรียนการสอนเพิ่มจากสูงสุดระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ และไม่สามารถที่จะรองรับนักเรียนจำนวนมากต่อชั้นเรียนได้ ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทั้งจากการเดินทางและการย้ายที่พักอาศัยของเด็กและครอบครัว บางคนขาดแคลนทุนทรัพย์ที่จะใช้ในการเดินทางหรือย้ายที่อยู่ได้ ก็ทำให้การเรียนต้องหยุดชะงักไป รวมถึงปัญหาความปลอดภัยและสุขภาพร่างกายของเด็กที่จะต้องรีบตื่นนอนแต่เช้าตรู่และต้องกลับถึงบ้านดึกเพราะใช้เวลาในการเดินทางไปเรียนนานอีก
จากปัญหาดังกล่าวทาง พี แอนด์ จี ประเทศไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและอาคารเรียนต่างๆ ของโรงเรียนในชุมชนที่ขาดแคลน จึงได้จัดโครงการ ‘หนึ่งปี หนึ่งโรงเรียน’ ขึ้น เพื่อมอบโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กไทย โดยสมทบทุนเพื่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ให้กับโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อนศิลปิน ของคุณไก่-วรายุฑ มิลินทจินดา ซึ่งได้มีการจัดต่อเนื่องกันจนปีนี้นับเป็นปีที่ 5 แล้ว และในแต่ละปีจะมีการคัดเลือกโรงเรียนที่จะได้เข้าร่วมในโครงการ โดยพิจารณาจากความต้องการความช่วยเหลือของแต่ละโรงเรียน ศักยภาพของคนภายในชุมชนที่จะสามารถช่วยกันดูแลโรงเรียนของพวกเขาในระยะยาวได้ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน ทั้งวัด โรงเรียน และชุมชนภายในหมู่บ้านนั้นๆ โดยในปีนี้ทาง พี แอนด์ จี ประเทศไทย ได้สมทบทุนเป็นจำนวนเงิน 1 ล้านบาท เพื่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ให้กับโรงเรียนวัดนางแก้ว จ.ราชบุรี ซึ่งกำลังจะกลายเป็นอาคารเรียนหลังที่ 5 ของ โครงการ ‘หนึ่งปี หนึ่งโรงเรียน’ ที่จะมีการส่งมอบอาคารเรียนในเดือน มกราคม 2553 ที่จะมาถึงนี้
ปัญหาจากอาคารเรียนหลังเก่าจากโรงเรียนในชนบทมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างไร
อาคารเรียนหลังเดิมมักจะเป็นอาคารไม้เก่าที่ผ่านการใช้งานมานาน ยากต่อการซ่อมแซมบำรุงเพราะทำจากไม้ที่มีสภาพผุพัง ทำให้ต้องใช้งบประมาณในการซ่อมแซมจำนวนมาก และยังอาจเสี่ยงต่อการเกิดการทรุดตัวของอาคารเรียนเป็นอันตรายต่อนักเรียนได้อีกด้วย
จำนวนห้องเรียนที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียนในโรงเรียนซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 350 คน จึงต้องจัดตารางเรียนให้การสอนบางคาบไปเรียนที่สนามหญ้าหน้าโรงเรียน ซึ่งมีอากาศร้อน มีสิ่งรบกวนแวดล้อม และต้องนั่งอยู่ในท่าเรียนที่ไม่ถนัดต่อการเขียนและอ่านหนังสือ เป็นอุปสรรคทำให้นักเรียนขาดสมาธิในการเรียน รวมถึงต้องนำห้องพักครูมาดัดแปลงเป็นห้องเรียนให้นักเรียนแทน ทำให้ครูต้องอาศัยทางเดินระเบียงเป็นที่ทำงานตรวจการบ้านให้กับนักเรียน
การที่มีห้องเรียนไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถขยายเพื่อเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมต้นได้ในอนาคตได้ เด็กนักเรียนที่เรียนจบชั้น ป.6 แล้ว ต้องย้ายไปเรียนในเมือง ทั้งต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายจากการย้ายที่อยู่ใหม่ ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมากขึ้นจากการเดินทางไปเรียนในเมืองที่อยู่ไกลบ้าน และบางคนก็ไม่ได้เรียนต่อเพราะการเดินทางไปเรียนมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นจนทางบ้านไม่สามารถส่งเสียให้เรียนได้ ทำให้สามารถนำความรู้ไปใช้พัฒนาชุมชนของตนเองได้แค่ระดับป.6
สิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นจากโครงการ ‘หนึ่งปี หนึ่งโรงเรียน’
รอยยิ้มและเสียงหัวเราะของเด็กๆ และคนในชุมชนใกล้เคียงของโรงเรียนวัดนางแก้ว จ.ราชบุรี ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่จากการได้เห็นและได้ใช้อาคารเรียนหลังใหม่ในโรงเรียนของพวกเขาเท่านั้น ยังมีสิ่งดีๆ อีกมากมายที่ได้มอบความสุขให้กับพวกเขาจากการหยิบยื่นโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนผ่านโครงการนี้ อาทิ
เมื่อนักเรียนได้เรียนในอาคารเรียนหลังใหม่ พวกเขาจะรู้สึกตื่นเต้น และตื่นตัวกับห้องเรียนใหม่ ไม่มีอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมมารบกวน ทำให้มีสมาธิในการเรียนมากขึ้น พัฒนาการด้านการเรียนก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
อาคารเรียนหลังใหม่นอกจากจะมีห้องเรียนขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับนักเรียนจำนวนมากได้ถึง 4 ห้องแล้ว ลานใต้ถุนด้านล่างอาคารยังสามารถใช้เป็นลานกิจกรรมอเนกประสงค์ของโรงเรียน สามารถประยุกต์ใช้กับกิจกรรมในชั้นเรียนที่ต้องใช้พื้นที่มากได้ และอาจใช้เป็นที่รวมตัวประชุมของคนในชุมชนได้ รวมถึงในระยะยาวสามารถต่อเติมเพิ่มจำนวนห้องเรียนได้ตามความเหมาะสมของจำนวนนักเรียนและการเปิดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมต้นอีกด้วย
เมื่อโรงเรียนมีห้องที่เพียงพอแล้ว ก็จะสามารถเปิดขยายระดับชั้นเรียนเพิ่มจากเดิมสูงสุดแค่ ป.6 เป็นสูงสุดที่ ม.3 ในอนาคตได้ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาให้เด็กๆ ได้เรียนในโรงเรียนใกล้บ้าน ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ต้องเสียเพิ่มจากการย้ายที่อยู่และเดินทางไปเรียนโรงเรียนในเมือง รวมถึงไม่ต้องเสียเวลาและเหนื่อยไปกับการเดินทางนานๆ ที่ต้องตื่นเช้าและกลับดึกจนเสียสุขภาพและไม่ปลอดภัยด้วย ที่สำคัญยังเป็นการเปิดโอกาสให้กับเด็กนักเรียนซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์ที่จะเดินทางไปเรียนในเมือง สามารถศึกษาเล่าเรียนได้ในระดับที่สูงมากขึ้น
การได้เรียนในถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง จะทำให้เด็กรู้สึกรัก ผูกพัน และหวงแหนบ้านเกิด อยากที่จะกลับมาพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนตนเองให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงยังสามารถแก้ไขปัญหาการกระจุกตัวของคนในเมืองได้อีกด้วย
การสร้างอาคารเรียนใหม่หลังนี้ของ โครงการ ‘หนึ่งปี หนึ่งโรงเรียน’ ใช้งบประมาณในการสร้างที่น้อยกว่าการจ้างบริษัทรับเหมาก่อสร้างปกติมากถึง เกือบ 2 เท่า เพราะอาคารหลังนี้เกิดจากระดมกำลังของคนในชุมชนร่วมมือร่วมใจมาช่วยกันสร้างขึ้นมา เกิดเป็นภาพความสามัคคีของคนในชุมชนที่น่าประทับใจ เด็กๆ เองก็มีโอกาสเห็นอาคารเรียนของตัวเองตั้งแต่เริ่มปลูกสร้างจนเสร็จ ทำให้ทั้งเด็กๆ และคนในชุมชนต่างรู้สึกว่าเป็นโรงเรียนของตนเอง เกิดความรักและหวงแหน อยากที่จะรักษาและพัฒนาโรงเรียน รวมถึงเป็นความภาคภูมิใจที่ได้ช่วยกันทำสิ่งดีๆ ให้กับชุมชนของตนต่อไป
รายละเอียดอาคารเรียนหลังใหม่
อาคารเรียนหลังใหม่ที่โรงเรียนวัดนางแก้ว จ.ราชบุรี เป็นอาคารเรียนคอนกรีตบนพื้นที่ 50 x 32 เมตร เป็นอาคารสูง 2 ชั้น มีจำนวนห้องเรียนทั้งหมด 4 ห้อง ขนาดห้องเรียน 6 x 8 เมตร พร้อมกับกระดานดำ ภายใน 1 ห้องเรียนสามารถรองรับนักเรียนได้มากสูงสุดถึง 50 คน ส่วนใต้ถุนโล่งด้านล่างสามารถใช้เป็นลานกิจกรรมอเนกประสงค์และสามารถต่อเติมแบ่งเป็นห้องเรียนเพิ่มสำหรับการขยายตัวของโรงเรียนในอนาคตได้อีกด้วย
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ‘หนึ่งปี หนึ่งโรงเรียน’
สำหรับโครงการ ‘หนึ่งปี หนึ่งโรงเรียน’ ครั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถร่วมสนับสนุนการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนไทยกับโครงการนี้ได้ เพียงสนับสนุนผ่านผลิตภัณฑ์ พี แอนด์ จี อาทิ โอเลย์, แพนทีน โปร-วี, ดาวน์นี่, รีจอยส์, เฮด แอนด์ โชว์เดอร์, แคล์รอล เฮอร์บัล เอสเซ้นส์, ยิลเลตต์, แฟ้บ และ ออรัล-บี ณ ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และ ร้านค้าทั่วประเทศ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับสังคมไทยได้แล้ว
นอกจากโครงการ “หนึ่ง ปี หนึ่ง โรงเรียน” แล้ว พี แอนด์ จี ยังมีโครงการเพื่อสังคมอื่นๆ ที่ทำอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ไม่ว่าจะเป็น โครงการมอบ “ทุนการศึกษาสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย — เซฟการ์ด” เพื่อมอบโอกาสทางการศึกษาให้กับนักศึกษาที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะศึกษาด้านเทคนิคการแพทย์แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และผลิตบุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญในสายงานเทคนิคการแพทย์ที่มีคุณภาพให้กับประเทศไทย โดยการมอบทุนการศึกษาดังกล่าว ได้มีการปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปัจจุบันนับเป็นปีที่ 14 แล้ว รวมทุนการศึกษาที่ได้มอบไปทั้งสิ้นจำนวนกว่า 120 ทุน และ “ทุนการศึกษาวิจัยเครื่องสำอาง-เฮด แอนด์ โชว์เดอร์” ที่ได้มอบให้กับนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีสูงสุดและนักศึกษาเรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์ จากสาขาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : อาร์ค เวิลด์ไวด์ ประเทศไทย
สิริพุทธนัดดา ดิศศานุวงศ์ (เจ้าอ้น) / โทร + 66 2 684 5704
อีเมลล์: [email protected]
รุ่งรัตน์ ชดช้อย (ใหม่) / โทร + 66 2 684 5703
อีเมลล์ [email protected]