จับเจ้าจอมซน ใส่ตัวโน้ต

ศุกร์ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๐๐๙ ๑๔:๔๑
คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังปวดหัวกับความซนของลูกน้อย พร้อมกับงอแงจะเล่นแต่ของเล่นอย่างเดียว และไม่ยอมหยุดเล่น วันนี้มีวิธีช่วยคุณพ่อคุณแม่หยุดเจ้าจอมซนให้หยุดนิ่งได้ด้วยดนตรี พร้อมเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกน้อยให้ฉลาดอย่างสมวัย

ดนตรีเป็นทางเลือกใหม่ที่คุณพ่อคุณแม่ยุดใหม่สรรหาให้ลูกน้อยได้เรียน เพราะดนตรีสามารถพัฒนาสมองของลูกน้อยให้เติบโตอย่างชาญฉลาด รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล ทั้งในด้านภาษา การคำนวณ ศิลปะ และทางด้านวิทยาศาสตร์ จังหวะและท่วงทำนองของดนตรีจะเป็นช่วยให้สมองของเด็กได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ ดนตรีที่มีจังหวะเบาๆ ฟังสบายๆ อย่างเช่น ดนตรีคลาสสิก หรือ แจ๊ซ จะช่วยทำให้ลูกน้อยสงบ และ ไม่ดื้อไม่ซนได้เช่นกัน จากผลงานวิจัยหลายแขนงกล่าวว่า ดนตรีคลาสสิกมีลักษณะที่แตกต่างจากดนตรีชนิดอื่น โดยเห็นเด่นชัดจากความซับซ้อนขององค์ประกอบเสียงในเพลง เนื่องจากเพลงคลาสสิกเป็นเพลงที่มีจังหวะและเมโลดี้สลับซับซ้อน สวยงาม และมีพลังลึกซึ้ง โดยในทุกท่วงทำนองนอกจากจะสร้างความสุนทรียภาพให้กับผู้ฟังจากตัวบทเพลงเองแล้ว ดนตรีคลาสสิกยังสามารถทำให้ผู้ฟังเกิดสมาธิ รู้สึกสงบ และเสริมสร้างปัญญาได้ในทุกขณะที่ฟัง ดังนั้น ดนตรีชนิดนี้จึงเมาะเป็นอย่างยิ่งที่จะมาเป็นตัวช่วยพัฒนาสมองของเด็กๆให้เติบโตไปอย่างชาญฉลาดพร้อมกับการมีจินตนาการที่ดี

เนื่องจากคลื่นเสียงจากดนตรี จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเซลล์สมอง โดยจะกระตุ้นสมองซีกขวาที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ สัญชาตญาณ การรับรู้ การ เกี่ยวกับการสร้างกระบวนการทางความคิดต่างๆอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ดนตรียังช่วยกระตุ้นสมองซีกซ้ายทำหน้าที่เกี่ยวกับการแสดงออก การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีสามัญสำนึก การจัดระบบ ควบคุมเกี่ยวกับภาษา ตัวเลข การแสดงออก สัญลักษณ์ต่างๆ การวิเคราะห์ การพูด การเขียน ซึ่งเป็นพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พร้อมกับทำให้ลูกน้อยมีสมาธิ และสามารถจำในสิ่งคุณพ่อคุณแม่ หรือคุณครูสอนได้ดีเลยทีเดียว

แต่คุณพ่อคุณแม่มักจะกังวลว่า ลูกยังเด็กมากจะเรียนดนตรีได้อย่างไร แล้วจะไปป่วนให้ห้องเรียนรึเปล่า ปัจจุบันโรงเรียนสอนดนตรีเขามีเทคนิคมากมายจากครูผู้สอน เพื่อดึงดูดความสนความสนใจของเจ้าจอมซนให้หยุดนิ่ง อย่างเช่น ครูกุ๊บกิ๊บ - อรภาณี บุณยเกียรติ ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานกับ Waltz Disney Pictures ในการพากย์เสียง และร้องเพลงการ์ตูน มาตั้งแต่ 8 ขวบ และ ยังมีประสบการณ์การสอนเปียโนเด็กเล็ก

และบัลเล่ต์มาเป็นระยะเวลา 6 ปี และมีความเชี่ยวชาญในจิตวิทยาเด็กเล็ก และเข้าใจความต้องการของเด็กๆได้เป็นอย่างดี ได้ให้เคล็ดลับการสอนดนตรีน้องหนูจอมซนว่า

“ การที่จะสอนดนตรีน้องๆ นู๋ๆ ได้ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่เราต้องรู้ว่าเขาชอบอะไร และสามารถดึงดูดความสนใจเขาได้อย่างไร เบื้องต้นก็จะให้น้องเลือกเพลงจากการ์ตูนที่เขาชื่นชอบมาก่อน แล้วเราก็จะสอนเขาร้องเพลงจากเพลงที่เขาชอบ ค่อยๆ ใส่ทำนอง และการออกเสียง พร้อมกับบรรยากาศการเรียนที่สนุกสนาน ไม่ตึงเครียดจนเกินไป โดยเฉพาะเพลงจากการ์ตูน เด็กๆจะชอบมากเป็นพิเศษ ซึ่งโดยปกติเวลาครูกุ๊บกิ๊บสอน ดนตรี ก็จะถือโอกาสสอนภาษาอังกฤษผ่านทางเพลงในการ์ตูน Animation ของ Walt Disney ซึ่งบางเรื่องก็เป็นผลงานพากย์เสียงของครูกุ๊บกิ๊บอีกด้วย ให้เด็กๆได้สนุกสนานกันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แบ่งปันความคิดเห็น และมีความกล้าแสดงออกในการใช้ภาษาให้ถูกวิธี ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อกลางเป็นเสียงดนตรี ทั้งนี้เด็กๆ ก็จะมีสมาธิ ไม่วิ่งซนหรืองอแงในห้องเรียน เนื่องจากว่าเขารู้ตัวเองว่ากำลังเรียนอย่างสนุกและมีความสุขค่ะ”

สถาบันสอนดนตรี นิว ฟรอนเทียร์

www.newfrontier-music.com

ท่านที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันดนตรีนิว ฟรอนเทียร์ โทร. 02-160-5250 หรือ

เว็บไซต์ www.newfrontier-music.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ