วิทยาศาสตร์ในนิทาน...คมความคิดจินตนาการจากผลกระทบภาวะโลกร้อน

จันทร์ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๐๐๙ ๑๐:๒๗
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดกิจกรรม คุยกัน ..ฉันท์วิทย์ สัญจร ในหัวข้อ “วิทยาศาสตร์ในนิทาน” โดยมี ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก รองผู้ว่าการบริหาร วว. และนางสาวปภาวี เล็กสกุลดิลก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโยธินบูรณะ ภาคภาษาอังกฤษ ผู้ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ จากการประกวดการเขียนเรียงความระดับเยาวชน “ Junior IMPAC Dublin Literary Award for Thailand ” ในหัวข้อ “Once Upon a Time” (การเขียนนิทานวิทยาศาสตร์) และได้รับเชิญให้เข้าร่วมงาน International IMPAC Dublin Literary Award ณ กรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ เป็นวิทยากรรับเชิญ ร่วมให้ความรู้ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2552 ณ ร้านทรู คอฟฟี่ ชั้น 2 สาขาสยามสแควร์ ซอย 3

ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก กล่าวถึงเทคนิคในการเลี้ยงลูกให้คิดเป็นวิทยาศาสตร์ว่า ครอบครัวจะให้ลูกมีความคิดเป็นของตนเอง มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันในครอบครัว สนับสนุนในสิ่งที่ลูกอยากจะทำบนพื้นฐานของเหตุและผลที่ถูกต้อง ให้อิสระในความคิด นอกจากนั้นจะให้ความสำคัญในการศึกษาหาความรู้ในวันว่าง ด้วยการไปชมพิพิธภัณฑ์ และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความรักและทำกิจกรรมร่วมกัน ให้เกิดความคิดที่หลากหลาย สามารถเชื่อมโยงความคิด ความรู้ได้อย่างเป็นระบบ

“ครอบครัวของเราพ่อแม่ลูกสามารถพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดกันได้ทุกเรื่อง ให้อิสระทางความคิด ให้ลูกได้ทำในสิ่งที่อยากทำแต่ต้องมีเหตุมีผล วันว่างมักจะไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์เพื่อให้เกิดความคิดที่หลากหลาย เปิดโลกทัศน์ ลูกสาวทั้งสองคนจะเรียนสายวิทยาศาสตร์ในช่วงมัธยม ซึ่งก็ไม่ได้บังคับเพียงแต่ให้คำชี้แนะว่าหากเรียนสายนี้ เมื่อถึงระดับอุดมศึกษาเขาสามารถเรียนต่อในแขนงวิชาอื่นๆ ได้หลากหลาย เนื่องจากวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานของแขนงวิชาอื่นๆอยู่แล้ว ในการเขียนนิทานวิทยาศาสตร์ที่ลูกสาวได้รับรางวัลนั้น เขาเป็นคนคิดโครงเรื่องเองแล้วนำมาปรึกษาพ่อแม่ ซึ่งเราก็ให้คำชี้แนะและให้กำลังใจ...” รองผู้ว่าการบริหาร วว. กล่าว

นางสาวปภาวี เล็กสกุลดิลก กล่าวว่า เหตุผลที่ส่งผลงานเข้าประกวดเนื่องจากชอบอ่านหนังสือนิทานเยาวชนอยู่แล้ว เช่น แฮรีพอร์ตเตอร์ แนนซี่ดรู ตามกติกาของโครงการดังกล่าวได้กำหนดหัวข้อมาให้ประเทศละ 1 หัวข้อไม่ซ้ำกัน สำหรับประเทศไทยได้กำหนดหัวข้อ “Once Upon a Time” หรือ “ กาลครั้งหนึ่ง...” สำหรับการตัดสินผลงานนั้นได้คัดผู้เข้ารอบของแต่ละภาค ซึ่งมีประมาณ 20 คน เข้าร่วมในงานประกาศรางวัล

“…เพราะเรียนสายวิทยาศาสตร์ และอยากให้เนื้อเรื่องแปลก ให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกทางด้านอารมณ์ตามไปด้วย ผลงานที่ส่งประกวดจึงเขียนออกมาในแนวสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อน โดยนำเสนอเหตุการณ์ภายหลังที่เกิดโลกร้อน ซึ่งค่อนข้างแตกต่างจากคนอื่นที่มุ่งประเด็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโลกร้อนและจบแบบมีความสุข ไม่เศร้าเหมือนของตนเอง ด้วยวัยที่เพิ่มขึ้นระยะหลังจะชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนหักมุมก็เลยเขียนผลงานออกมาในลักษณะนี้...” นางสาวปภาวี เล็กสกุลดิลก กล่าว

สำหรับแรงบันดาลใจในการเขียนผลงานเข้าประกวดนั้น นางสาวปภาวีกล่าวว่า อยากจะทำให้คนตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะภาวะโลกร้อน ซึ่งกำลังเป็นปัญหาของโลกในปัจจุบัน ทั้งนี้การสื่อสารในรูปแบบนิทาน จะช่วยให้เกิดความตระหนักได้มากกว่าหนังสือวิชาการ ทำให้คนเกิดความสนใจใคร่รู้มากกว่า เนื่องจากมีความบันเทิงแทรกอยู่ในเนื้อหาที่นำเสนอ อีกทั้งนิทานยังเป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ทำให้คนเห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวและมีผลกระทบต่อชีวิตอย่างไรบ้าง

“สิ่งที่ประทับใจในการเข้าร่วมงาน International IMPAC Dublin Literary Award ณ กรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ มีหลายอย่าง เขาให้โอกาสเราเยอะมาก ได้นั่งทานข้าวกับนักเขียนดังๆ หลายประเทศ ได้ฟังประสบการณ์จากนักเขียนหลายท่าน ได้นั่งร่วมโต๊ะกับนักเขียนเยาวชนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากประเทศต่างๆ อาทิ มาเลเซีย สาธารณรัฐเช็ก แล้วมีท่านทูตจากประเทศต่างเข้าร่วมงานด้วย เขาค่อนข้างให้ความสำคัญกับงานเขียนและนักเขียนมาก...ที่สำคัญร้านหนังสือของเขามีหนังสือลดราคาเยอะมาก ไม่เหมือนบ้านเราที่ลดราคาแล้วก็ยังแพงอยู่โดยเฉพาะหนังสือต่างประเทศ”

นางสาวปภาวี เล็กสกุลดิลก ฝากข้อคิดสำหรับนักเขียนรุ่นเยาว์ว่า ผู้ที่สนใจส่งผลงานเข้าประกวดในปีต่อไปสามารถทดลองเขียนและส่งผลงานเข้าประกวดได้ โดยไม่ต้องคาดหวังว่าจะได้หรือไม่ได้รับรางวัล โดยส่วนตัวมีความคิดว่ากรรมการตัดสินจะมองที่ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เขียนมากกว่าเรื่องไวยากรณ์ การเขียนผิดเขียนถูก เพราะความคิดสร้างสรรค์จะทำให้ผลงานเขียนมีความแปลก โดดเด่น ซึ่งทุกๆคนสามารถฝึกฝนได้ด้วยการอ่านหนังสือให้มากๆ มีความหลากหลาย โดยส่วนตัวจะอ่านหนังสือภาษาอังกฤษหรือแปลจากต่างประเทศ หนังสือที่แต่งโดยคนไทยจริงๆ นั้นมีน้อย อาจเป็นเพราะประเทศไทยยังไม่ได้สนับสนุนด้านนี้จริงจังเหมือนประเทศไอร์แลนด์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version