สศร. ผนึก TACGA และพันธมิตรกว่า ๓๐ แห่ง แถลง ๖ ยุทธศาสตร์ ผลักดันแอนิเมชั่นไทยเป็นหนึ่งสามของเอเชีย

อังคาร ๐๑ ธันวาคม ๒๐๐๙ ๐๘:๔๑
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) และหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกว่า ๓๐ แห่ง ร่วมจัดทำ ๖ ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ด้านแอนิเมชั่น ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดีทัศน์แห่งชาติ (พศ. ๒๕๕๒ — ๒๕๕๔) เพื่อขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางหนึ่งในสามในอุตสาหกรรมแอนิเมชั่นของเอเชียภายในปี ๒๕๖๓ เผยช่วง ๕ ปี แอนิเมชั่นไทยเติบโตกว่า ๕๐% ได้รับความนิยมสูงในการนำไปเป็นสื่อต่างๆ ทั้งด้านนิวมีเดีย และสื่อในการเผยแพร่วัฒนธรรม โดยมีมูลค่าการตลาดในประเทศประมาณ ๗,๐๐๐ ล้านบาท

นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ : แอนิเมชั่น ว่า “สศร. มีพันธกิจในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ส่งเสริมให้ศิลปะมีคุณค่า และมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดยพร้อมที่จะเป็นองค์กรนำในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์: แอนิเมชั่น ให้เติบโตอย่างเป็นระบบ ภายใต้เป้าหมายที่ชัดเจน และมีภาคีร่วมดำเนินงานอย่างยั่งยืน จึงได้ร่วมมือกับสมาคมผู้ประกอบการ แอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกว่า ๓๐ แห่ง จัดทำโครงการยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ : แอนิเมชั่น อย่างเป็นระบบ โดยได้จัดการประชุมและระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำ ๖ ยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมแอนิเมชั่น ประกอบไปด้วย

๑. ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร

๒. ยุทธศาสตร์การตลาดและสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพของ อุตสาหกรรมแอนิเมชั่นในประเทศไทย

๓. ยุทธศาสตร์สร้างความ เชื่อมั่นในศักยภาพของอุตสาหกรรมแอนิเมชั่นไทยในต่างประเทศ

๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเงินและแหล่งเงินทุน

๕. ยุทธศาสตร์พัฒนากฎหมายและนโยบายเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมแอนิเมชั่น และ

๖. ยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์บริการเพื่ออุตสาหกรรมแอนิเมชั่น ๓๖๐ องศา

โดยมีวิสัยทัศน์เพื่อให้ประเทศไทยมุ่งสู่การศูนย์กลางการสร้างสรรค์และผลิตแอนิเมชั่น ให้เป็นหนึ่งในสามของเอเชียภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมของกระทรวงวัฒนธรรมอีกด้วย และการดำเนินการในขั้นต่อไปคือการนำยุทธศาสตร์ในแต่ละหัวข้อไปดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการโดยมีหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบ จากนั้นจะมีการประเมินผลโดย สศร. และ TACGA เพื่อจัดหากลยุทธ์ในการผลักดันให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้”

นายลักษมณ์ เตชะวันชัย นายกสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและภาครัฐในการจัดทำยุทธศาสตร์ฯ ว่า “TACGA ในฐานะองค์กรกลางได้ประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ หน่วยงานทางด้านการเทคโนโลยีการสื่อสาร การส่งออก สื่อต่างๆ และสถาบันการเงิน เพื่อขอความร่วมมือในการจัดทำยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ : แอนิเมชั่นขึ้น โดยเน้นด้านปัญหาและแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมแอนิเมชั่นเป็นหลัก ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดีทัศน์แห่งชาติ (พศ. ๒๕๕๒ — ๒๕๕๔) เพื่อช่วยเสริมให้ศักยภาพตลาดแอนิเมชันของไทยขยายตัวมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน ทั้งนี้ จากการศึกษาของสำนักงานส่งเสริมซอฟแวร์แห่งชาติพบว่ามูลค่าการผลิตแอนิเมชั่นไทย ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๗ — ๒๕๕๐ มีการเติบโตถึงร้อยละ ๕๐ โดยประมาณการมูลค่าตลาดใน ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ จะสูงเกือบ ๗ พันล้านบาท ในขณะที่ตลาดต่างประเทศมีมูลค่าสูงถึง ๖ ล้านล้านบาท อุตสาหกรรมแอนิเมชั่นในประเทศไทยยังมีขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับประเทศผู้นำทางการบริโภคและการผลิต ได้แก่จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โดยความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยให้การพัฒนาอุตสาหกรรมแอนิเมชั่นมีความชัดเจนมากขึ้น และให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนซึ่งนับเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนา”

“อนึ่ง จากการทำ SWOT analysis พบว่าอุตสาหกรรมดิจิตอลคอนเทนต์ของไทยมีโอกาสในการเติบโตได้อีกมาก โดยเป็นอุตสาหกรรมที่เกิดจากคิดสร้างสรรค์ จัดเป็น Green Industry เนื่องจากไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก ปัจจุบัน อุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์มีขอบเขตครอบคลุมอุตสาหกรรมหลายสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมสื่อบันเทิง (Entertainment and Media) แขนงต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมโทรทัศน์ เพลง ภาพยนตร์ สิ่งพิมพ์ การสื่อสาร การออกแบบและอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงแบบใหม่ (New Media) ในลักษณะดิจิตอลคอนเทนท์ ได้แก่ แอนิเมชั่น และเกมส์ โดยบุคลากรของไทยมีศักยภาพทางศิลปะ และมีบุความเชี่ยวชาญในการผลิตงานได้ครบวงจร รวมถึงอุตสาหกรรมดิจิตอลคอนเทนต์ยังคงเติบโตทั่วโลก อีกทั้งรัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจความคิดสร้างสรรค์ (Creative Economy) ให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยพบว่าในแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ ๒ หรือแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ปี ๒๕๕๓ — ๒๕๕๕ ของภาครัฐก็ได้มีการจัดสรรงบลงทุนในส่วนของอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลคอนเทนต์ ๒โครงการ คือ โครงการดิจิทัล มีเดีย เอเชีย และโครงการพัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ การจัดทำแผนกลยุทธนี้จะทำให้เรามีทิศทางเดินที่ชัดเจนที่จะก้าวสู่ระดับโลกต่อไป”

Note to Editor: ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ : แอนิเมชั่น พ.ศ. ๒๕๕๓ — ๒๕๕๕ ดำเนินการโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) และหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกว่า ๓๐ แห่ง โดยกำหนด ๖ ยุทธศาสตร์หลัก ในการพัฒนาอุตสาหกรรมแอนิเมชั่น ได้แก่ ๑. ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร ๒.ยุทธศาสตร์การตลาดและสร้างความ เชื่อมั่นในศักยภาพของอุตสาหกรรม แอนิเมชั่นในประเทศไทย ๓. ยุทธศาสตร์สร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพของอุตสาหกรรมแอนิเมชั่นไทยในต่างประเทศ ๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเงินและแหล่งเงินทุน ๕. ยุทธศาสตร์พัฒนากฎหมายและนโยบายเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม แอนิเมชั่น และ ๖. ยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์บริการเพื่ออุตสาหกรรมแอนิเมชั่น ๓๖๐ องศา โดยมีวิสัยทัศน์เพื่อให้ประเทศไทย มุ่งสู่การศูนย์กลางการสร้างสรรค์และผลิตแอนิเมชั่น ให้เป็นหนึ่งในสามของเอเชียภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ

ART CORE (Art Management) 2

สุภาพร รุ่งเจริญเกียรติ (ต้อม) โทร.๐๘๔ ๐๙๐ ๑๒๑๒ E-mail: [email protected]

ทิพวรรณ วอทอง (โม) โทร. ๐๘๑ ๔๒๑ ๒๙๒๓ E-mail: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO