จากไกล เปลี่ยนเป็นใกล้กันอีกนิดนะพ่อ!

พฤหัส ๐๓ ธันวาคม ๒๐๐๙ ๑๑:๑๓
ชูนวัตกรรมใหม่! “สายวัดใกล้กันอีกนิด” เครื่องมือวัดระยะห่างของพ่อกับคนในครอบครัว พม.ขานรับพร้อมนำสายวัดสำรวจ 500 อบต ทั่วประเทศเพื่อแก้ปัญหาให้พ่อใกล้กันอีกนิด

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของนุษย์ สถาบันราชานุกูล มูลนิธิเครือข่ายครอบครัวและ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “ใกล้กันอีกนิดนะพ่อ” โดยจากผลสำรวจการใช้สายวัดใกล้กันอีกนิดชี้ชัดว่า “พ่อ” มีระยะห่างจากสมาชิกทุกคนในครอบครัว โดยเฉพาะพ่อกับลูก ซึ่งความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวที่ห่างกันนั้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่ปัญหาภายในครอบครัวและสังคมอื่นๆ ตามมาได้

พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล และผู้คิดค้น “สายวัดใกล้กันอีกนิด” กล่าวถึงการพัฒนาเครื่องมือดังกล่าวว่า “การวัดระยะความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวนั้นสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการสัมภาษณ์และการสังเกตุแต่วิธีของสายวัดใกล้กันอีกนิดที่ทางสถาบันคิดค้นขึ้นการทำให้เป็นกิจกรรม และเกิดภาพจำลองขึ้น สายวัดจะมีความยาว 5 เมตร ให้บุคคลที่ต้องการวัดอยู่คนละฝั่งและให้เดินเข้าหากันและเลือกหยุดในจุดที่คิดว่าเหมาะสม โดยระยะที่มีนัยสำคัญคือระยะห่างตรงกันระหว่างทั้ง 2 คน ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์คู่พ่อและลูกมีระยะความสัมพันธ์ที่ห่างกันมากที่สุดเฉลี่ย 48 เซนติเมตร”

ปัญหาด้านครอบครัวนั้นต้องอาศัยกลไกที่หลากหลายในการแก้ไขปัญหา ภาครัฐมีส่วสำคัญสร้างกลไกการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ คุณนวลพรรณ ล่ำซำ ผู้ช่วยรัฐมนตรี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของนุษย์ กล่าวถึงการทำงานเชิงรุกของกระทรวงว่า “สำหรับในระดับพื้นที่ได้ดำเนินการในส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ซึ่งตอนนี้ได้เริ่มดำเนินการนำสายวัดระยะความสำพันธ์ไปใช้ศึกษาวิจัยระยะความสัมพันธ์ครอบครัวต่างๆ ใน 500 อบต. เมื่อทราบถึงข้อมูล และปัญหาต่างๆ ของแต่ละพื้นที่จะนำไปสู่การออกแบบกิจกรรมเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาต่อไป ”

นอกจากนโยบายทางภาครัฐที่เอาจริงเอาจังในการแก้ปัญหาให้สัมฤทธิ์ แล้วนั้น มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว อีกหน่วยงานหนึ่งซึ่งขับเคลื่อนงานด้านครอบครัวมาอย่างต่อเนื่อง ได้พัฒนาสื่อการรณรงค์ในโครงการใกล้กันอีกนิดนะพ่อ ซึ่งนายวันชัยบุญประชา ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว เปิดเผยว่า “ขณะนี้ได้เกิดความร่วมมือขึ้นระหว่างมูลนิธิและบริษัท จีทีเอช ในทางผลิตภาพยนตร์ “บ้านฉัน...ตะหลึ่งตึ่งโป๊ะ” ที่พูดเรื่องปัญหาของครอบครัวที่พ่อลูกมีระยะความสัมพันธ์ที่ห่างกันจนนำไปสู่ปัญหาในครอบครัว ทั้งนี้จุดเริ่มต้นเกิดจากคุณจิระ มะลิกุล ที่เล็งเห็นปัญหาและอยากสะท้อนสู่สังคมเพื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง และทางเครือข่ายครอบครัวเชื่อว่าภาพยนตร์จะเป็นสื่อที่สามารถให้คนพ่อรวมถึงสมาชิกทุกคนในครอบครัวหันมองความสัมพันธ์ของคนในบ้าย ในกระชับความสัมพันธ์จนนำไปสู่การเป็นครอบครัวที่อบอุ่น”

ในการดำเนินงานขั้นตอนนี้ ทางสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว แผนงานสุขภาวะครอบครัว สสส. และ สถาบันราชานุกูล จะร่วมกันดำเนินงาน ในเดือนธันวาคมนี้ โดยจะส่ง ปฏิทิน สารคดีเสียง เพื่อประชาสัมพันธ์ โครงการ ให้กับ อปท 500 แห่งที่ได้คัดเลือกเข้าร่วมโครงการ หลังจากนั้นจะทำการฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการในพื้นที่จำนวนดังกล่าว โดยจะอบรมหลักสูตรการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม แล้วทีมวิทยากรเหล่านี้ก็จะนำ เครื่องมือวัดระยะความสัมพันธ์ ไปเป็นเครืองมือสำรวจความสัมพันธ์ของครอบครัวในชุมชน ซึ่งก็น่าที่จะสามารถดำเนินการได้ในช่วงต้นปี 2553 ช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่ภาพยนตร์ “บ้านฉัน...ตะหลึ่งตึ่งโป๊ะ” ออกฉาย และจะขยายพื้นที่ต่อไป ซึ่งหากมี อบต.เทศบาล หรือองค์กรใดสนใจจะสมัครเข้ามาร่วมโครงการก็สามารถติดต่อมาได้ที่สำนักส่งเสริมสถาบันครอบครัว สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ