แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ปี 2553

จันทร์ ๑๔ ธันวาคม ๒๐๐๙ ๑๕:๑๕
ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย โดยนายนิทัศน์ ภัทรโยธิน กรรมการและผู้จัดการ ได้แถลงถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยปี 2553

โดยผลการดำเนินงานในปี 2552 ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันมีปริมาณการซื้อขายโดยรวมเฉลี่ยต่อวัน (จนถึงเดือนพฤศจิกายน) ประมาณ 886 สัญญาต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ 601 สัญญาต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.44 แต่หากพิจารณาถึงปริมาณการซื้อขายครึ่งปี พบว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 อยู่ที่ 390 สัญญาต่อวัน เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2551 ประมาณ 577 สัญญาต่อวัน อันเป็นผลมาจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ ในขณะที่ครึ่งปีแรกของปี 2551 เกิดวิกฤตอาหารโลกทำให้มีผู้เข้ามาซื้อขายข้าวจำนวนมาก สำหรับในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2552 ปริมาณการซื้อขายได้มีการขนยายตัวอันเป็นผลมาจากการประมูลข้าวในสต๊อกรัฐบาล ส่งผลให้ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 1,400 สัญญา เพิ่มขึ้นจากตอนต้นปีร้อยละ 259 และเมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2551 ที่มีการซื้อขายประมาณวันละ 632 สัญญาแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 121.5 โดยปริมาณการซื้อขายสูงสุดในปี 2552 คือวันที่ 29 ต.ค. 2552 อยู่ที่ 11,943 สัญญา

ในการดำเนินงานที่สำคัญในปี 2552 AFET ได้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการให้รัฐบาลใช้กลไกการซื้อขายล่วงหน้าในการระบายสินค้าในสต๊อกรัฐบาล โดยตั้งแต่เดือนสิงหาคมจนถึงปัจจุบันได้มีการระบายข้าวขาว 5% และข้าวหอมมะลิ จำนวนมากกว่า 700,000 ตัน อันเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติให้แก่ภาครัฐ และผู้ประกอบการต่างๆในวงการค้าข้าวให้เข้าใจถึงกลไกการป้องกันความเสี่ยงโดยการใช้สัญญาล่วงหน้าใน AFET นอกจากนี้ยังได้มีการปรับปรุงเงื่อนไขในข้อกำหนดการซื้อขายมันสำปะหลังเส้นล่วงหน้าเพื่อให้เหมาะแก่การที่รัฐจะใช้ในการระบายสต๊อกมันสำปะหลังที่มีอยู่

สำหรับในด้านการจัดการให้เกิดความสะดวกในการซื้อขายล่วงหน้า AFET ได้ปรับปรุงเงื่อนไขต่างๆ ที่อาจจะเป็นอุปสรรคหรือคอขวด (Bottle neck) ที่เกี่ยวข้องกับการขำระราคาให้มีความยืดหยุ่นแก่นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าเพื่อที่จะสามารถรองรับปริมาณการซื้อขายล่วงหน้าที่มากขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความรู้ ความเข้าใจในการซื้อขายล่วงหน้า AFET ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจัดงาน AFET Futures Trading Challenge และการจัดอบรมสัมมนาต่างๆ รวมตลอดถึงการเผยแพร่ราคายางพาราไปยังตลาดกลางที่หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เพื่อให้ผู้ที่เข้าประมูลทราบถึงราคาล่วงหน้าของตลาดยางพาราทั้งในและต่างประเทศ ประกอบการตัดสินใจซื้อขายในตลาดจริง

สำหรับในปี 2553 AFET มีแนวทางในการพัฒนาโดยการดูแลปรับปรุง ข้อกำหนดการซื้อขายล่วงหน้าสินค้าที่มีอยู่แล้วให้ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อผู้ขายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นยางพารา ข้าว หรือมันสำปะหลัง ในส่วนของสัญญาล่วงหน้าใหม่นั้นขณะนี้กำลังพิจารณาถึงการนำข้าวเปลือกมาใช้ในการซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งการจัดทำให้มีการซื้อขายล่วงหน้าที่มีการส่งมอบ FOB นอกจากนี้ AFET ยังได้มีการประสานงานกับทางสำนักงาน ก.ส.ล. ในการร่วมกันพัฒนาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มเติมในปี 2553 เช่น ยางแท่ง น้ำตาล และเอทานอล ซึ่ง AFET เห็นว่าสินค้าเหล่านี้น่าจะเป็นสินค้าที่มีศักยภาพสูงในการซื้อขายล่วงหน้า

ด้านการขยายฐานลูกค้า ในปัจจุบันพบว่าผู้ประกอบการสินค้าเกษตรมีความคุ้นเคยกับการซื้อขายล่วงหน้ามากขึ้น ซึ่งเกิดจากการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันโครงการการประมูลข้าวในสต๊อกรัฐบาลโดยอิงราคา AFET ของรัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์ นับเป็นกลไกสำคัญในการให้ภาครัฐและเอกชนหันมาใช้ตลาดล่วงหน้าในการป้องกันความเสี่ยง ประกอบกับนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้มีความหลากหลายในการใช้เครื่องมือในการลงทุนอย่างครบวงจรไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในสินค้าทางการเงินและสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อจัดสรรพอร์ตการลงทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น AFET จะได้มีการขยายฐานลูกค้าในประเทศทั้งในระดับผู้ประกอบการและนักลงทุนให้เข้ามาใช้ AFET ให้มากขึ้น ทั้งนี้จากการที่มีภาครัฐเข้ามาใช้ประโยชน์ในการซื้อขายล่วงหน้าใน AFET AFET จึงได้จัดเตรียมการศึกษาเพื่อจัดทำ Business Model ให้กับหน่วยงานภาครัฐที่จะเข้ามาใช้ประโยชน์จาก AFET มากขึ้น นอกจากนี้ AFET จะได้ขยายฐานผู้ซื้อ-ผู้ขายต่างประเทศซึ่งในช่วงปี 2552 ที่ผ่านมาได้แสดงความสนใจในสินค้าหลายชนิดของ AFET ให้เข้ามาซื้อขายล่วงหน้าให้มากขึ้นด้วย

การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารนับเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเกี่ยวกับอุปสงค์และอุปทานของสินค้าที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อราคา ซึ่งในเรื่องนี้ AFET ได้มีการเตรียมการร่วมกับสมาคมผู้ประกอบการบางรายแล้ว ในการสร้างต้นแบบของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่จะเป็นประโยชน์แก่นักลงทุนและผู้ประกอบการในการติดตามสถานการณ์ของตลาดสินค้าเกษตรแต่ละชนิดอย่างใกล้ชิด

ยุทธศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้นจะเป็นตัวกำหนดแผนการทำงานของ AFET ในปี 2553 ที่จะกระตุ้นให้การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้ามีความเติบโต สามารถบรรลุเป้าหมายได้ในช่วงที่เศรษฐกิจของโลกกำลังมีการฟื้นตัว ที่จะส่งผลให้ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเป็นที่จับตามองของนักลงทุนและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาใช้ประโยชน์จาก AFET ได้ตามความต้องการของแต่ละบุคคล

ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

คุณอิสราพร กิจไพฑูรย์

ฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์

ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET)

โทร 0-2263-9888 โทรสาร 0-2251-9535

หรือ www.afet.or.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ