ปีใหม่ที่จะถึงนี้ ประชาชนส่วนใหญ่จะใช้งบประมาณในการซื้อของขวัญปีใหม่ จำนวนเงินน้อยกว่า 1,000 บาท มากที่สุดถึง ร้อยละ 53.07 รองลงมา คือจำนวนเงิน 1,001 — 2,500 บาท ร้อยละ 30.30, จำนวนเงิน 2,501 - 5,000 บาท ร้อยละ 9.87, จำนวนเงิน 5,001 - 7,500 บาท ร้อยละ 4.27, จำนวนเงิน 7,501 - 10,000 บาท ร้อยละ 1.00, ไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 0.87 และจำนวนเงินมากกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 0.63
เมื่อถามถึงค่าใช้จ่ายในการซื้อของขวัญปีใหม่ปีนี้เพิ่มขึ้นหรือลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 58.03 ส่วนใหญ่ตอบว่าลดลง, ร้อยละ 40.10 ตอบว่า คือ เพิ่มขึ้น, และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 1.87
ส่วนผู้ที่คนส่วนใหญ่อยากให้ของขวัญปีใหม่มากที่สุด คือ พ่อแม่ ร้อยละ 55.50 รองลงมา คือ ให้ครอบครัว ร้อยละ 18.03, ผู้ใหญ่ที่เคารพ ร้อยละ 8.00, พี่น้อง ร้อยละ 7.27, เพื่อน ร้อยละ 5.10, ญาติ ร้อยละ 4.80, ลูกน้อง ร้อยละ 0.67 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 0.63
สำหรับแหล่งที่คนส่วนใหญ่จับจ่ายซื้อของขวัญปีใหม่นั้น ส่วนใหญ่จะเป็น ห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 57.77 รองลงมา คือ ร้านค้าทั่วไป ร้อยละ 20.33, ร้านขายของที่ระลึกสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 4.67, ร้านค้าเฉพาะอย่าง เช่น ร้านทอง ร้านจิวเวอร์รี่ ร้านขายเฟอร์นิเจอร์ ร้อยละ 4.60, สำเพ็ง ร้อยละ 4.13, ซื้อทางอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 4.00, ประตูน้ำ ร้อยละ 3.97 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 0.53
ส่วนของขวัญปีใหม่ที่คนส่วนใหญ่นิยมมอบให้ผู้อาวุโสมากที่สุด คือ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ร้อยละ 46.93 รองลงมา คือ ผลไม้ไทย ร้อยละ 13.63, เสื้อผ้า ร้อยละ 11.03, การ์ดอวยพร ร้อยละ 7.47, เงินสด ร้อยละ 6.83, สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 6.20, ของประดับและตกแต่งบ้าน ร้อยละ2.87, สุรา ร้อยละ 2.40, อาหารกระป๋อง/ของแห้ง ร้อยละ 2.03 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 0.60
ของขวัญปีใหม่ที่คนส่วนใหญ่อยากได้มากที่สุด คือเงินสด ร้อยละ 35.67 รองลงมา คือ ทอง/เครื่องประดับ ร้อยละ 22.13 , รถยนต์ ร้อยละ 15.20, เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ร้อยละ 14.43, ผลไม้ไทย ร้อยละ 5.00, สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 2.60, สุรา ร้อยละ 1.93 ผลไม้ ร้อยละ 1.90 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 1.13
และของขวัญปีใหม่ที่ประชาชนส่วนใหญ่อยากได้จากรัฐบาลมากที่สุด ได้แก่ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ 18.43, การแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ/ปัญหาของแพง ร้อยละ 16.87, การแก้ปัญหาจราจร ร้อยละ 14.97, การแก้ปัญหาความยากจน ร้อยละ 12.43, การแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 10.30, การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นของภาครัฐ ร้อยละ 9.80, เลิกสร้างภาพและจริงใจในการทำงานเพื่อประชาชน ร้อยละ 6.13, การแก้ปัญหาการว่างงาน ร้อยละ 6.07, ขยายโอกาสทางการศึกษาให้เด็กไทย 4.63 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 0.37
ด้านผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมในประเด็นนี้ว่า ปีใหม่ที่จะถึงนี้ประชาชนส่วนใหญ่คาดว่าจะจับจ่ายใช้สอยในการซื้อของขวัญให้กับคนที่ตนรักลดลงกว่าปีที่ผ่านมา นั่นอาจจะเป็นเพราะพิษเศรษฐกิจที่กำลังย่ำแย่ในปัจจุบันประชาชนจึงหันมาประหยัดกับการซื้อของขวัญปีใหม่ และประชาชนส่วนใหญ่ตั้งงบประมาณในการซื้อของขวัญปีใหม่ให้คนรู้จักน้อยกว่า 1,000 บาท ซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อยมากกับการซื้อของให้คนที่ตนรักหลายๆ คน ในงบประมาณที่จำกัด และจากผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับคนในครอบครัว เนื่องจากตั้งใจจะซื้อของขวัญปีใหม่ให้แก่พ่อแม่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประชาชนไทยยังมีความเคารพนับถือบิดามารดามากที่สุด เห็นบุพการีสำคัญที่สุด จึงอยากให้ของขวัญพ่อกับแม่มากเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ให้ครอบครัว สามี ภรรยา ลูก, ผู้ใหญ่ที่เคารพ และพี่น้อง แสดงให้เห็นถึงความผูกพันธ์ของครอบครัวไทยว่าคนไทยยังให้ความสำคัญกับครอบครัวมากเป็นอันดับหนึ่งและไม่ละทิ้งบิดามารดาของตน
ส่วนแหล่งที่คนนิยมจับจ่าย ซื้อของขวัญปีใหม่ก็ยังหนีไม่พ้นห้างสรรพสินค้าที่มาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากมีสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการได้หลากหลายประเภท รวมถึงความสะดวกในการเดินทางและที่จอดรถ ซึ่งทำให้ห้างสรรพสินค้ายังเป็นแหล่งซื้อสินค้าของคนกรุงอยู่เสมอ โดยสินค้าขายดีที่นิยมนำมาจัดกระเช้า คือ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ เพราะเป็นสินค้าที่มีประโยชน์นำมาจัดกระเช้าได้ง่ายและดูมีคุณค่า เหมาะที่จะนำไปให้กับผู้อาวุโสมากที่สุด ส่วนสินค้าที่นิยมซื้อรองลงมา คือ ผลไม้ไทย นอกจากนี้แล้ว เมื่อสอบถามถึงของขวัญปีใหม่ที่ประชาชนอยากได้มากที่สุด ได้แก่ เงินสด ซึ่งอาจจะเป็นเพราะภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประชาชนจึงพยายามบอกถึงความต้องการของตนเองว่าอยากได้เงินมากกว่าสิ่งของ และมีความสอดคล้องกับของขวัญปีใหม่ที่ประชาชนอยากได้จากรัฐบาล นั่นก็คือ อยากขอให้รัฐบาลนายกอภิสิทธิ์แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง