ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม พฤศจิกายน ยังทรงตัว เชื่อคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าพุ่งสูง เหตุปัจจัยหลายด้านหนุน

พฤหัส ๒๔ ธันวาคม ๒๐๐๙ ๑๑:๑๒
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนพฤศจิกายน 2552 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,202 ตัวอย่าง ครอบคลุม 39 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมฯ ว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 104.7 ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนตุลาคม ที่ระดับ 104.3 โดยเป็นผลมาจากองค์ประกอบดัชนีด้านยอดคำสั่งซื้อ และต้นทุนประกอบการปรับตัวสูงขึ้น ความเชื่อมั่นที่ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยหรืออาจกล่าวได้ว่าอยู่ในระดับทรงตัวจากเดือนก่อน มีปัจจัยที่สำคัญจากคำสั่งซื้อรวมที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งพบว่าองค์ประกอบด้านยอดคำสั่งซื้อฟื้นตัวต่อเนื่องนับแต่กันยายนที่ผ่านมา เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ทำให้มีความต้องการซื้อสินค้ามากขึ้น และหากพิจารณาจากองค์ประกอบดัชนีด้านยอดขายรวมในเดือนพฤศจิกายนแล้วพบว่า ยอดขายรวมลดต่ำลง แต่มาจากยอดขายในประเทศเป็นสำคัญ ในขณะที่ยอดขายในต่างประเทศยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ราคาน้ำมันขายปลีกทุกประเภทที่ทรงตัว ก็ทำให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารต้นทุนได้ดีขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองปราศจากความรุนแรง ปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยที่มีผลต่อดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2552

สำหรับดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 107.8 ในเดือนตุลาคม อยู่ที่ระดับ 118.3 ในเดือนพฤศจิกายน 2552 เนื่องจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่า ยอดขายรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการจะสูงขึ้น องค์ประกอบดังกล่าวทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวสูงขึ้น

ทั้งนี้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมจำแนกตามขนาดของกิจการ พบว่าอุตสาหกรรมขนาดย่อม ปรับตัวลดลงเนื่องจากองค์ประกอบด้านยอดคำสั่งซื้อรวม ยอดขายรวมต่างปรับตัวลดลง การผลิตของอุตสาหกรรมขนาดย่อมส่วนใหญ่เพื่อจำหน่ายในประเทศ ซึ่งผู้บริโภคในประเทศยังมีความกังวลและระมัดระวังในการใช้จ่าย อุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน ,หลังคาและอุปกรณ์ และอุตสาหกรรมเคมี ส่วนอุตสาหกรรมขนาดกลางและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ดัชนีองค์ประกอบด้านยอดคำสั่งซื้อรวมและยอดขายในต่างประเทศปรับตัวสูงขึ้น ทั้งที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีการผลิตเพื่อส่งออก การที่ค่าดัชนีปรับตัวสูงขึ้นแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโลกในทิศทางที่ดีขึ้น อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาล, พลาสติก และปิโตรเคมี

ด้านดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมรายภูมิภาค พบว่า พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ ปรับเพิ่มขึ้น โดยอุตสาหกรรมในภาคกลางที่ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม, หนังและผลิตภัณฑ์หนัง, เซรามิก, เฟอร์นิเจอร์, เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น ภาคเหนือค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมก๊าซ, เยื่อและกระดาษ, หัตถอุตสาหกรรม, สมุนไพร และภาคใต้ที่ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมไม้อัดไม้บางและวัสดุแผ่น , ก๊าซ และอาหาร ส่วนภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับตัวลดลง โดยภาคตะวันออก ค่าดัชนีปรับตัวลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก, อุตสาหกรรมเครื่องประดับ, อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ค่าดัชนีปรับลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ,หลังคาและอุปกรณ์ และยานยนต์

ด้านดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการจำแนกตามตลาดส่งออก (กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ กับกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ) พบว่า พบว่ากลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศปรับเพิ่มขึ้นจาก103.2 อยู่ที่ระดับ 104.1 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นฯกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศปรับตัวลดลงโดยดัชนีความเชื่อมั่นปรับลดลงจาก 108.9 มาอยู่ที่ระดับ 107.3 ในเดือนนี้ โดยทั้งสองกลุ่มมีองค์ประกอบดัชนีด้านยอดขายในต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น แต่ยอดขายในประเทศปรับตัวลดลง ส่วนดัชนีคาดการณ์กลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศและเน้นต่างประเทศอยู่ที่ระดับ 116.9 และ 124.6 ตามลำดับ

สำหรับด?านสภาวะแวดล?อมในการดําเนินกิจการ พบว่า ผู้ประกอบการมีความกังวลในประเด็น สถานการณ์ทางการเมือง ผลกระทบจากราคาน้ำมัน และสภาวะเศรษฐกิจโลกลดลงจากเดือนตุลาคม แต่มีความกังวลในประเด็นของอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น โดยสถานการณ์ทางการเมืองเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการกังวลมากที่สุดในเดือนนี้ เพราะยังคงมีแรงกดดันต่อสถานการณ์ทางการเมืองจากความขัดแย้งภายในและต่างประเทศซึ่งทำให้สถานการณ์ทางการเมืองไม่อยู่ในสภาวะปกติ ผู้ประกอบการจึงมีความกังวลในประเด็นดังกล่าวมาก

และข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ ต่อภาครัฐในเดือนนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันคือ ให้ภาครัฐช่วยสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน แก้ไขปัญหาทางการเมืองให้มีเสถียรภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ รวมถึงพิจารณาเรื่องการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ดูแลข้อตกลง FTA ต่างๆ ให้อยู่ในสภาวะที่สามารถแข่งขันได้ และเร่งลงทุนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่สองเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version