สซ. นำเสนอความก้าวหน้าห้องปฏิบัติการแสงสยาม ต่อที่ประชุม AOFSRR ครั้งที่ 4

พฤหัส ๒๔ ธันวาคม ๒๐๐๙ ๑๑:๒๗
สซ. นำเสนอความก้าวหน้าห้องปฏิบัติการแสงสยาม ต่อที่ประชุม AOFSRR ครั้งที่ 4 และผู้แทนห้องปฏิบัติการซินโครตรอนภาคพื้นเอเชียและประเทศชายฝั่งทะเล ณ นครเซียงไฮ้

ดร.ประยูร ส่งสิริฤทธิกุล หัวหน้าฝ่ายระบบลำเลียงแสง และ ดร.สมชาย ตันชรากรณ์ นักวิจัย สซ. เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้ารายงานความก้าวหน้าของห้องปฏิบัติการแสงสยาม

ห้องปฏิบัติการวิจัยแสงซินโครตรอนเซี่ยงไฮ้ (SSRF)

ดร. ประยูร ส่งสิริฤทธิกุล หัวหน้าฝ่ายระบบลำเลียงแสง และดร. สมชาย ตันชรากรณ์ นักวิจัยของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เป็นผู้แทนห้องปฏิบัติการแสงสยามเข้าร่วมการประชุม AOFSRR ครั้งที่ 4 ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องปฏิบัติการวิจัยแสงซินโครตรอนเซี่ยงไฮ้ หรือ SSRF (Shanghai Synchrotron Research Facility) ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน -1 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 90 คน จากประเทศสมาชิก อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี ใต้หวัน จีน อินเดีย สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และไทย รวมทั้งประเทศสมาชิกใหม่ ได้แก่ นิวซีแลนด์ มาเลเซีย และเวียตนาม ในปีนี้ นอกจากจะมีการประชุมคณะกรรมการของ AOFSRR แล้ว ยังมีการรายงานความก้าวหน้าของห้องปฏิบัติการแสงซินโครตรอนและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เอเซียและประเทศชายฝั่งทะเล โดยในปีนี้ ดร. ประยูร ส่งสิริฤทธิกุล ในฐานะผู้แทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) เข้าร่วมประชุมและรายงานความก้าวหน้าของห้องปฏิบัติการแสงสยาม และ ดร. สมชาย ตันชรากรณ์ รายงานผลสัมฤทธิ์ของโครงการ Cheiron School 2009 ณ ประเทศญี่ปุ่น หลังจากการรายงานความก้าวหน้าแล้ว ทาง SSRF ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมเยี่ยมชมเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนที่สามารถกักเก็บอิเล็กตรอนที่พลังงาน 3.5 GeV และขนาดเส้นรอบวงของวงแหวนกักเก็บอิเล็กตรอน 432 เมตร และระบบลำเลียงแสงต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีระบบลำเลียงแสงและสถานีทดลองทั้งสิ้น 7 สถานี

AOFSRR หรือ Asian-Oceania Forum Synchrotron Radiation Research ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2549 จากการลงนามความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนซึ่งประกอบด้วย ประเทศญี่ปุ่น เกาหลี จีน ไต้หวัน ออสเตรเลีย สิงคโปร์ อินเดีย และไทย มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมืออย่างจริงจังระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกในงานวิจัยและพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับแสงซินโครตรอนในภาคพื้นเอเชียและประเทศชายฝั่งทะเล (เอเชียรวมกับ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) กิจกรรมหลักของ AOFSRR คือการจัดการประชุมประจำปี เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รายงานความก้าวหน้าและปัญหาทางเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานวิจัยหรือเทคโนโลยีด้านซินโครตรอนของประเทศสมาชิก รวมถึงการจัดการฝึกอบรมนักเรียน และนักวิจัยรุ่นใหม่ ณ ประเทศญี่ปุ่น ที่เรียกว่า Cheiron School เป็นประจำทุกปี สำหรับการจัดประชุม AOFSRR ครั้งที่ 5 จะมีขึ้น ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ณ ห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอนุภาคโพฮัง หรือ PAL (Pohang Accelerator Laboratory) เมืองโพฮัง ประเทศเกาหลี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

งานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 252 โทรสาร 0-4421-7404 อีเมล : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ