ตามไปดูเยาวชนนำเสนอผลงานวิจัยโลกทั้งระบบ เมื่อโลกขาดสมดุลเพียงหนึ่งอย่าง จะเกิดผลกับสิ่งแวดล้อมโดยรวม !!

อังคาร ๒๙ ธันวาคม ๒๐๐๙ ๑๑:๒๙
เมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดการประชุมวิชาการ “การนำเสนอผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ ระดับโรงเรียน ครั้งที่ 2” ของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ณ โรงแรมวรบุรี อโยธยา คอนเวนชั่นรีสอร์ท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การประชุมวิชาการดังกล่าว มีครูและนักเรียนในโครงการของ GLOBE (Global Learning and Observation to Benefit the Environment) ร่วมกิจกรรมประมาณ 150 คน ขณะนี้ GLOBE มีโรงเรียนกว่า 23,159 แห่งใน 112 ประเทศสมาชิก ประเทศไทยมีโรงเรียนทั่วประเทศเป็น

สมาชิกแล้ว 253 แห่ง และได้มีการสร้างเครือข่ายกับสถาบันอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยราชภัฎ

งานนี้มีการนำเสนอผลงานผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในรูปแบบของการนำเสนอปากเปล่าและการนำเสนอผลงานในรูปแบบของโปสเตอร์ กว่า 50 เรื่อง ซึ่งมีครูและนักเรียนจากประเทศลาว และประเทศอินเดียมาร่วมนำเสนอผลงานด้วย

นักเรียนแต่ละภูมิภาคได้ทำวิจัยเกี่ยวกับท้องถิ่นของตน เรื่องราวเหล่านี้ล้วนแต่เชื่อมโยงกับปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก ที่มีผลกระทบต่อทุกผู้คน ในทุกส่วนของโลก เช่น นักเรียนชั้น ม. 5 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ โดยนายอนันต์ ยืนยาวและคณะ ทำวิจัยเรื่อง การใช้แพลงก์ตอนพืชเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของคุณภาพน้ำในแม่น้ำมูล อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า น้ำในลำน้ำมูลจัดเป็นแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 2 น้ำดี มีท่อระบายน้ำจากแหล่งชุมชนลงสู่ลำน้ำ และพบแพลงก์ตอนพืช 17 ชนิด

นายสิริเชษฐ์ จันทร์ศักดิ์รา ชั้น ม. 5 และคณะจากโรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง ทำการศึกษาความเสื่อมโทรมและความหลากหลายของปะการังบริเวณเกาะไหง และเกาะม้า หมู่เกาะทะเลใต้แถบชายฝั่งอันดามัน จังหวัดตรัง จึงพบว่า ความหลากหลายของปะการังบริเวณเกาะม้ามีมากกว่าเกาะไหง โดยเกาะม้าเหลือปะการังที่ยังมีชีวิตร้อยละ 61.00 เกาะไหงมีร้อยละ 58.62

นายสุรสิทธิ์ และคณะนักเรียนชั้น ม. ปลาย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ ทำการศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยทางกายภาพที่เหมาะสมกับชนิด และจำนวนของเด็กป่าที่พบฝนบริเวณป่ารอบโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ พบว่า บริเวณที่ศึกษาพบเห็ดป่าทั้งสิ้น 75 ชนิด จำแนกชื่อได้ 66 ชนิด ไม่ทราบชื่อ 9 ชนิด ซึ่งมีเห็ดกินได้ 34 ชนิด เห็ดที่ไม่มีข้อมูลว่ากินได้หรือไม่ 33 ชนิด เห็ดพิษ 8 ชนิด เห็ดที่พบแต่ละชนิดมีปัจจัยทางกายภาพที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตที่เฉพาะและแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ เจริญเติบโตในดินที่มีค่า pH ตั้งแต่ร้อยละ 6.50-7.00 ความชื้นของดินโดยมวลระหว่างร้อยละ 11.23-49.93 อุณหภูมิพื้นดินและอากาศ ตั้งแต่ 24-29 และ 25-30 องศาเซลเซียสตามลำดับ

นายวรพันธ์ พุทธศักดา และคณะนักเรียนชั้น ม. 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ทำการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตาของต้นประดู่บ้าน บริเวณโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ซึ่งเขากล่าวว่า “จากการศึกษายังพบว่าสภาพภูมิอากาศของวันแรกที่เกิดการผลิตาใบในแต่ละปีมีค่าใกล้เคียงกัย ซึ่งเป็นสัญญานที่แสดงให้เห็นว่าช่วงฤดูหนาวมีระยะเวลาสั้นลง และย่างเข้าสู่ ฤดูร้อนเร็วขึ้น ทำให้ต้นประดู่บ้านตอบสนองโดยการผลิตาใบเร็วขึ้น”

เด็กชายสมเกียรติ มณีรัตนพันธุ์ ชั้น ป. 5/1 โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ จ. ระยอง กล่าวว่า ทีมของผมได้ศึกษาคุณสมบัติของน้ำทะเลที่มีผลต่อการแพร่กระจายของตัวเคย บริเวณชายหาดปากน้ำระยอง เนื่องจากเดี๋ยวนี้มีการพบตัวเคยน้อยมาก จึงได้ทำวิจัยตั้งแต่เดือนมิถุนายน — ธันวาคม 2552 โดยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก สสวท.ทำให้ได้เรียนรู้จากทรัพยากรในท้องถิ่นของตนมากขึ้น

บอร์นาลี มุเคอร์จี (Bornali Mukherjee) นักเรียนชั้น ม. ต้น จากโรงเรียนเซนต์ปอล, เดลี, ประเทศอินเดีย (St. Paul’s School, Delhi, India) กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้สอนให้ฉันเห็นความสำคัญของการลดมลพิษและการมีสิ่งแวดล้อมที่ดี และฉันยังได้สิ่งที่โรงเรียนต่าง ๆ พยายามทำเพื่อให้โลกใบนี้มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น พร้อมทั้งบอกด้วยว่า “ประทับใจการที่ได้เห็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่นักเรียนร่วมกันทำด้วยความตั้งใจและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อทำให้โลกใบนี้ดีขึ้น และเกิดความรู้สึกตระหนักว่าสิ่งแวดล้อมที่ดีมีความสำคัญกับเราทุกคนมากแค่ไหน”

อาจารย์อาริศรา อรรคธร ครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จ.ขอนแก่น กล่าวถึง ภาพรวมของงานวิจัยที่นักเรียนโรงเรียนต่าง ๆ ที่มาร่วมนำเสนอในงานนี้ว่า งานวิจัยของเด็ก ๆ มีแนวคิดที่ดีในเรื่องของการใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตรืและการประยุกตฺใช้เครื่องมือ และผลงานวิจัยมีประโยชน์ต่อชุมชน ในแง่ของครูที่มาร่วมงานนี้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลที่มีอยู่ทั่วประเทศ ในแง่ของการสร้างรูปแบบการสอนจากการปฏิบัติจริงนอกสถานที่

“โลกที่เราอยู่มีหลายระบบรวมกันเป็นโลก 1 ในการศึกษาวิจัยและเรียนรู้โลกในโครงการ GLOBE ก็เท่ากับว่าเราศึกษาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเราเอง โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งอยากให้เพื่อนครูลองปรับเปลี่ยนวิธีการสอนมาใช้แนวทางของ GLOBE ดู ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติจริงสู่แหล่งเรียนรู้ใกล้ตัวเรา เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในชั้นเรียนของเราให้ดีขึ้น” อาจารย์อาริศรากล่าว

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ GLOBE ได้ที่ www.ipst.ac.th/globe

โดยสินีนาฎ ทาบึงกาฬ ส่วนประชาสัมพันธ์ สสวท.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version