ทั้งนี้ ในพืชข้าวฟ่างหวาน จะสามารถใช้ประโยชน์จากน้ำคั้นในลำต้น ซึ่งมีรสชาติหวาน คล้ายกับน้ำอ้อย และสามารถให้ผลผลิตลำต้นสด 5 - 10 ตัน/ไร่ ภายในระยะเวลา 100 — 110 วัน ซึ่งลำต้นสด 1 ตันจะ สามารถผลิตเอทานอลได้ประมาณ 60 — 70 ลิตร ใกล้เคียงกับอ้อย โดยข้าวฟ่างหวาน จะใช้เป็นทางเลือกในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้องทั้งอ้อย และมันสำปะหลัง ที่อยู่ในช่วงใกล้เคียงกันคือ ระหว่างเดือน พฤศจิกายน ถึงเมษายน ซึ่งข้าวฟ่างหวานอาจจะเข้ามาเสริมเป็นทางเลือกหนึ่ง ในช่วงนอกฤดูเก็บเกี่ยวของอ้อยและมันสำปะหลัง เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล
นอกจากนี้ ด้านการส่งเสริมการเพาะปลูกพืชข้าวฟ่างหวาน นั้น พพ. ได้มีโครงการที่จะศึกษาวิจัยและออกแบบเครื่องเก็บเกี่ยวและหีบน้ำหวานจากข้าวฟ่างหวานต้นแบบทดสอบใช้ในการผลิตเอทานอล ซึ่งภายในปี 2553 นี้ จะใช้งบประมาณจากกองทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานประมาณ 6 ล้านบาท เพื่อวิจัยการใช้ข้าวฟ่างหวานให้สามารถเป็นพืชทางเลือก เพื่อเสริมเป็นแหล่งวัตถุดิบใหม่ในการผลิตเอทานอลในเชิงพาณิชย์ พร้อมจะได้ต้นแบบโรงงานที่ผลิตเอทานอลโดยใช้ข้าวฟ่างหวาน เป็นวัตถุดิบขนาด 1,000 ลิตรต่อวัน ก่อนที่ พพ.จะมีศึกษาต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้การปลูกพืชข้าวฟ่างหวานแบบเชิงพาณิชย์ ต่อไปในอนาคต