อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการชี้สุดท้ายการศึกษาต้องไปอยู่ที่ท้องถิ่น

จันทร์ ๐๔ มกราคม ๒๐๑๐ ๑๑:๓๔
รศ. ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ระบุ การจัดการศึกษาโดยท้องถิ่นในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นยาก เพราะศธ.คิดว่าทำได้ดีกว่า เชื่อองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เข้มแข็งมีศักยภาพให้ประโยชน์กับคนท้องถิ่นได้ชัดเจน

รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ หัวหน้าคณะทำงานปฏิรูปการศึกษาเพื่อสุขภาพภาวะคนไทย (ปศท.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายพิเศษเรื่อง “การปฏิรูปการศึกษาเพื่อสุขภาวะของเยาวชนไทย: ท้องถิ่นจัดการศึกษาประชาชนได้อะไร” ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยชี้ให้เห็นจุดอ่อนจุดแข็งของการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในประเทศไทยที่เกิดขึ้นด้วยความยากลำบาก พร้อมมองว่า ในอนาคตการจัดการศึกษาโดยท้องถิ่น เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

รศ. ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ กล่าวว่า การจัดการศึกษาโดยท้องถิ่น สำหรับในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เกิดขึ้นด้วยความยากลำบาก เพราะกระทรวงศึกษาธิการคิดว่าตนเองทำได้ดีกว่า มีเครือข่ายและระบบการบริหารงานที่ใหญ่ มี 185 เขตการศึกษา มีงบประมาณ 3 แสนล้านบาท มากที่สุด

สำหรับ จุดแข็งของการจัดการศึกษาของอปท. นั้นเกิดขึ้นได้เพราะโรงเรียนมีขนาดเล็ก จำนวนโรงเรียนต่างๆ ที่ต้องดูแลมีจำนวนน้อยกว่าเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้การบริการมีประสิทธิภาพสามารถจัดการหลักสูตรสะท้อนความต้องการของท้องถิ่นได้ดีกว่า และมีทรัพยากรท้องถิ่นสนับสนุน ทั้งเงินอุดหนุนจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ หรือคนที่อยู่ในท้องถิ่นที่ร่วมสนับสนุน ที่สำคัญเห็นผลกลับมาจากการดำเนินงานได้ชัด เร็วกว่า

ส่วนจุดอ่อนของอปท. แต่ละแห่งมีทรัพยากรไม่ทัดเทียมกัน มีระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่เหมือนกัน บางแห่งมีทรัพยากรมากก็ได้รับเงินอุดหนุนมาก ส่งผลให้คุณภาพและมาตรฐานโรงเรียนแตกต่างกัน ในอนาคตหากทำให้เป็นโรงเรียนของอปท.ได้แล้ว ปัญหาที่ต้องแก้ไขคือทำอย่างไรให้มาตรฐานโรงเรียนมีคุณภาพใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะความต่อเนื่องการสนับสนุนการศึกษาท้องถิ่น ที่เชื่อมโยงกับการเมือง นายกองการบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี ต้องเห็นความสำคัญของการศึกษา มิเช่นนั้นเมื่อเปลี่ยนทีม มองเห็นเรื่องการศึกษาแตกต่างกันไป ที่ทำไว้อาจจะสูญเปล่า

นอกจากนี้ รศ. ดร.วรากรณ์ ยังกล่าวว่า ระบบการศึกษาของไทย มีจุดอ่อน 4 จุด คือ 1.สังคม 2.การปกครอง 3.คุณภาพครู และ 4.คุณภาพคนไทย

“เพราะเนื่องจากความไม่เด็ดเดี่ยวและไม่มีคุณภาพของรัฐบาล เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย และรัฐมนตรีอยู่ตลอดเวลา ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้ว 12 คน เฉพาะปีพ.ศ. 2551 ในปีเดียวเปลี่ยนมาแล้ว 4 คน และรัฐบาลไม่สามารถย้ายโอนครู หรือจัดสรรได้เหมือนกระทรวงมหาดไทย ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนครูในบางพื้นที่ และเกินจำนวนในบางพื้นที่ เกิดภาวะเส้นสายในระบบครูอย่างรุนแรง ทั้งในเรื่องการเลือกคน แต่งตั้งคน ในขณะที่คุรุสภาไม่ได้ทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของครูหรือมาตรฐานวิชาชีพครูเลย” รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ