ผู้ชนะในปีนี้ ได้แก่:
ช่างภาพดีเด่นประจำปี: แอนโดรนิกี คริสโตโดโล
ภาพในเหตุการณ์ข่าว
รางวัลที่หนึ่ง: ไลโน “ไลนัส” การ์เดียน เอสกานดอร์ (ภาพโคลนถล่มจากพายุกิสนา)
รางวัลที่สอง: กิตตินันท์ รอดสุพรรณ (สุริยุปราคาในประเทศไทย)
รางวัลที่สาม: แดนนีบอย ปาตา (การประท้วงในกรุงมะนิลา)
รางวัลชมเชย: ฐิติ วรรณมณฑา (เพลิงไหม้ ณ สถานบันเทิงซานติกาในกรุงเทพฯ)
รางวัลชมเชย: จอห์น จาเวลานา (น้ำท่วมจากพายุกิสนา)
ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว
รางวัลที่หนึ่ง: เกรแฮม เคราช์ (เด็กชาวอินเดียที่ขาดสารอาหาร)
รางวัลที่สอง: สุพิดโท ดาส (เสือเบงกอลได้รับการปล่อยตัวสู่ป่าในประเทศอินเดีย)
รางวัลที่สาม: ริเทด อุธรรมจันทนี (นักเพาะกายชาวอินเดียที่พิการ)
รางวัลชมเชย: นิโคลัส เอฟฟูริ (การประกวดนางงามสาวประเภท2ที่พัทยา)
รางวัลชมเชย: ซานดิพัน มาจุมดา (เด็กชายในหมู่บ้านและฝูงห่าน ในประเทศอินเดีย)
ภาพเกี่ยวกับผู้อพยพและผู้ลี้ภัย
รางวัลที่หนึ่ง: แอนดรู บีเรจ (การอพยพทางศาสนาในบังคลาเทศ)
รางวัลที่สอง: โอริท โดรรี (โรฮินญา กลุ่มคนไร้สัญชาติในรัฐอารากันของพม่า)
รางวัลที่สาม: เจมส์ แมกเคย์ (นักโทษทางการเมืองชาวพม่า)
ภาพชุด
รางวัลที่หนึ่ง: เบรนท์ เลวิน (ช้างในเมือง ในกรุงเทพฯ)
รางวัลที่สอง: อัลเฟรียดี ฮิกมัล (เด็กพิการในอินโดนีเซีย)
รางวัลที่สาม: ซูเซ็ทตา บอซซี่ (การก้าวขึ้นมาของชนชั้นกลางในอินเดีย)
รางวัลชมเชย: ริชาร์ด ฮัมไฟร์ (ความรุนแรงในภาคใต้ของประเทศไทย)
รางวัลชมเชย: เกอร์นาร์ด เยอเร็น (อาศัยอยู่กับความตายในสุสานที่มะนิลา)
ช่างภาพมากมายส่งผลงานที่ยอดเยี่ยมและน่าตื่นเต้นทั้งในประเภทภาพในเหตุการณ์ข่าว หรือในประเภทภาพชุด หากแต่แอนโดรนิกี คริสโตโดโล ช่างภาพข่าว ซึ่งประจำอยู่ที่โตเกียวได้แสดงให้เห็นถึงความสม่ำเสมอและความหลากหลายในผลงานของเธอ และทำให้เธอโดดเด่นและคว้ารางวัลช่างภาพดีเด่นประจำปีไปครอง
แอนโดรนิกี ส่งผลงานเข้าประกวดในประเภทภาพชุด 3 ผลงานด้วยกัน ซึ่งภาพถ่ายแต่ละชิ้นนั้น เยี่ยมยอดและสมควรได้รับรางวัลทุกๆภาพ โดยภาพชุดแต่ละเรื่อง บอกเล่าเรื่องราวโดยการดึงเอาผู้ชมเข้าสู่โลกอีกโลกที่แตกต่างได้แก่ การแสดงให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมที่น่าหดหู่ของชุมชนแออัดในโอซากา, ห้องเบื้องหลังอันสดใสของวัฒนธรรม “โอตาคุ”, และ ภาพของวัฒนธรรมอันล้ำค่า “ยาบุซาเมะ” ซึ่งเป็นพิธีการยิงธนูบนหลังม้าของญี่ปุ่น การที่จะได้มาซึ่งภาพถ่ายทั้งหมดนั้น ต้องอาศัยความเพียรพยายาม และเทคนิคในการสร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อที่จะเข้าไปสัมผัสและเข้าถึงโจทย์ ซึ่งเป็นโลกที่คนทั่วไปไม่ได้สัมผัสกันบ่อยนัก ภาพถ่ายยังแสดงให้เห็นถึงทักษะการถ่ายภาพชั้นสูงในการจับภาพจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยและแตกต่าง รวมทั้งมอบข้อคิดให้กับผู้ชม
“นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่เรารู้สึกประหลาดใจไปกับทักษะและความคิดสร้างสรรค์ของบรรดาช่างภาพเอเซีย” แพททริก บาร์ตา รองประธานเอฟซีซีที หนึ่งในผู้จัดการประกวดกล่าว “เรารู้สึกปลาบปลื้มเป็นอย่างมากที่ได้เห็นผลงานที่ส่งเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งมากกว่าผลงานส่งเข้าประกวดของปีที่แล้วถึงกว่า 2 เท่า และเราคาดว่าจะได้มีโอกาสรับผลงานเพิ่มมากขึ้นในการประกวดปีต่อๆไป”
การประกวดจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดผู้สนับสนุนผู้ใจดี ซึ่งมอบรางวัลรวมถึงการช่วยเหลือต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการประกวดในปีนี้
ออนเอเซีย ให้ความร่วมมือด้านการอำนวยการและการขนส่งผ่านทางเครือข่ายช่างภาพทั่วภูมิภาคเอเชีย
สตาร์ อัลลิอานซ์ มอบตั๋วเครื่องบินไปกลับจุดหมายปลายทางในเอเชีย สมาชิกของกลุ่มสตาร์ อัลลิอานซ์ ได้แก่ การบินไทย สิงคโปร์ แอร์ไลน์ ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ และ สายการบินชั้นนำอื่นๆที่ให้บริการในภูมิภาค
บลูม ดิจิตัล โฟโต้ แล็บ ให้บริการอัดภาพถ่ายคุณภาพสูงสำหรับภาพที่ชนะรางวัล สำหรับการจัดแสดง ณ คลับเฮาส์ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย
องค์การระหว่างประเทศเพื่อผู้ลี้ภัย (ไอโอเอ็ม) ให้การสนับสนุนเงินรางวัลสำหรับผู้ชนะ
โททัล ควอลิตี้ พับบลิค รีเลชั่นส์ (ทีคิวพีอาร์) ให้การสนับสนุนทางการเงินเพิ่มเติม เพื่อเป็นรางวัลสำหรับผู้ชนะ
อนันธารา รีสอร์ท มอบบัตรกำนัลสำหรับการเข้าพักที่อนันธารา ราชประสงค์ เซอร์วิส สวีทในกรุงเทพฯ โครงการของอนันธาราอื่นๆ ได้แก่รีสอร์ทที่หัวหิน เกาะสมุย และ ภาคเหนือของประเทศไทย
โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล มอบรางวัลมื้ออาหารเย็นสุดพิเศษ ณ ร้านอาหารยอดนิยมของโรงแรม ได้แก่ ไชนา เฮาส์ และ ริเวอร์ไซด์ เทอเรซ
โรงแรมเพนินซูล่า มอบบัตรกำนัลเพื่อรับประทานอาหารเย็น ณ ริเวอร์ แอนด์ คาเฟ่ ร้านอาหารยอดนิยมของโรงแรม
รางวัลในปีนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากบรรดาช่างภาพ ซึ่งให้เกียรติร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน ได้แก่:
โรลองต์ โนโว ช่างภาพชาวฝรั่งเศส ซึ่งอาจเป็นที่รู้จักจากภาพถ่ายเขมรแดงซึ่งเข้าครอบครองกัมพูชา ในเดือนเมษายน 1975 นอกจากนั้น เขาได้เดินทางทำเรื่องราวตอนพิเศษในตะวันออกกลาง อัฟกานิสถาน และแอฟริกา
โอลิเวอร์ นิลสัน บรรณาธิการภาพข่าวของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสท์ผู้มีชื่อเสียง ด้วยประสบการณ์กว่า 18 ปีกับ แอสโซสิเอท เพรส (Associated Press) เขาจบการศึกษาจาก Ecole Superieure de Journalisme ในปี 1986
แพททริก เดอ นอมอนท์ ช่างภาพผู้มากด้วยประสบการณ์ ซึ่งประจำอยู่ที่กรุงเทพฯและปารีส ด้วยประสบการณ์การทำงานกว่า 30 ปี ร่วมกับสำนักข่าวไวร์ เซอร์วิส รวมทั้งเอเอฟพี เอพี และ รอยเตอร์
เอฟซีซีที จะได้จัดแสดงภาพที่ชนะเลิศจากการประกวด ณ คลับเฮ้าส์ของสโมสรเป็นเวลาประมาณสองเดือนด้วยกัน จนถึงช่วงปลายเดือนมกราคม โดยการจัดแสดงจะเปิดให้กับประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจด้านการถ่ายภาพได้เข้าชม ณ
นิทรรศการ เอฟซีซีที โฟโต้ คอนเทส วินเนอร์
วันที่: 4 ธันวาคม - 29 มกราคม
สถานที่: เอฟซีซีที คลับเฮาส์ ชั้นเพนท์เฮ้าส์ อาคารมณียาเซ็นเตอร์ เลขที่ 518/5 ถนน เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330 (เชื่อมกับบีทีเอส สถานีชิดลม)
เวลาทำการ: เปิดทุกวันจันทร์ — ศุกร์ 10.00 น — 23.00 น. ปิดทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุด
โทร: 02-652-0580-1
อีเมลล์: [email protected]
เว็บไซท์: http://www.fccthai.com
รูปสำหรับการประกวดในปีนี้ สามารถเป็นเจ้าของได้โดยติดต่อ คุณแพททริก บาร์ตา คณะกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย ได้ที่ [email protected] หรือ 081-309-9109 พร้อมกันนี้สามารถเข้าชมภาพได้ตั้งแต่เดือนธันวาคม ที่ www.fccthai.com โดยทางเรายินดีจัดการสัมภาษณ์ผู้ที่ชนะการประกวดในครั้งนี้ให้กับสื่อมวลชนที่สนใจ