เทรนด์ ไมโคร รายงานสถานการณ์ภัยคุกคามข้อมูลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2553

พฤหัส ๑๔ มกราคม ๒๐๑๐ ๑๒:๓๑
อาชญากรไซเบอร์กำลังเดินหน้าหาประโยชน์ทั้งในรูปของตัวเงินและผลกำไรจากสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในกระแสด้วยการใช้พาดหัวข่าวและแนวโน้มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีล่าสุด และด้วยความนิยมของระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งและระบบเสมือนจริงที่กำลังขยายตัวมากขึ้นในกลุ่มบริษัทต่างๆ ทำให้เป็นที่สนใจอย่างมากจากอาชญากรที่กำลังวางแผนหลอกลวงทางไซเบอร์ในอนาคต

นายรัฐสิริ ไข่แก้ว ผู้จัดการฝ่ายขายประจำภูมิภาคอินโดจีน บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ กล่าวว่า “จากรายงานสถานการณ์ภัยคุกคามข้อมูลปี 2553 ของบริษัท เทรนด์ ไมโคร ระบุว่าระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งและระบบเสมือนจริงนั้นมีข้อดีและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างมาก โดยการย้ายเซิร์ฟเวอร์ออกไปนอกเขตการรักษาความปลอดภัยแบบดั้งเดิม ซึ่งมีข้อเสียคือเป็นการขยายพื้นที่การทำงานให้อาชญากรไซเบอร์มากขึ้น และทำให้ระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งมีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากภัยคุกคามข้อมูลมากขึ้นตามไปด้วย บริษัท เทรนด์ ไมโคร เชื่อว่าอาชญากรไซเบอร์จะทำการเปลี่ยนแปลงการเชื่อมต่อไปยังระบบคลาวด์ หรืออาจทำการโจมตีศูนย์ข้อมูลและระบบคลาวด์ด้วยตัวเอง”

โครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตที่กำลังเปลี่ยนแปลงได้สร้างโอกาสให้กับอาชญากรไซเบอร์มากขึ้น

อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล เวอร์ชัน 6 (IPv6) ซึ่งเป็นโปรโตคอล "รุ่นใหม่" ที่ออกแบบโดยคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต หรือไออีทีเอฟ (Internet Engineering Task Force: IETF) กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการขั้นทดลองเพื่อนำมาใช้แทนที่ IPv4 ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งใช้มา 20 ปีแล้ว เมื่อใดที่ผู้ใช้เริ่มเข้าสู่ระบบ IPv6 ทั้งอาชญากรไซเบอร์และผู้ใช้งานก็คาดหวังที่จะเห็นองค์ประกอบต่างๆ ของแนวคิด IPv6 ที่ผ่านการทดสอบมาแล้ว ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้งานเพื่อหาประโยชน์ในทางที่ผิดๆ รวมถึงเป็นช่องทางหลบซ่อนใหม่ๆ ของเหล่าอาชญากรไซเบอร์ได้ แต่อย่าเพิ่งคาดหวังกำหนดการใช้งานของ IPv6 เพราะอย่างน้อยก็คงไม่ใช่ในอนาคตอันใกล้นี้

โดเมนเนมกำลังกลายเป็นระบบสากลมากขึ้น และการเปิดตัวของโดเมนระดับสูงสุดของภูมิภาค (ตัวอักษรรัสเซีย จีน และอารบิค) จะสร้างโอกาสใหม่ที่นำไปสู่การโจมตีแบบเดิมโดยใช้โดเมนที่มีลักษณะคล้ายกันเพื่อล่อลวงเหยื่อ เช่น การใช้อักษรซีริลลิกแทนอักษรที่มีลักษณะคล้ายกับละติน ทั้งนี้บริษัท เทรนด์ ไมโคร คาดว่าสิ่งนี้จะนำไปสู่ปัญหาใหญ่และถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด ซึ่งจะสร้างความท้าทายให้กับบริษัทด้านการรักษาความปลอดภัยต่างๆ

อาชญากรไซเบอร์จะใช้สื่อทางสังคมและเครือข่ายทางสังคมเพื่อนำผู้ใช้งานเข้าสู่ “วัฎจักรของความเชื่อใจ”

ในปี 2553 นี้ เทคนิคกลลวงทางสังคมจะยังคงมีบทบาทสำคัญในการแพร่กระจายภัยคุกคามข้อมูลต่างๆ แต่ด้วยสื่อทางสังคมที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก โดยสามารถใช้เนื้อหาร่วมกันได้ผ่านการโต้ ตอบทางสังคมออนไลน์ ทำให้อาชญากรพยายามแทรกซึมและสร้างภัยอันตรายให้กับชุมชนออนไลน์ที่ได้รับความยอดนิยมมากกว่าที่เคยเกิดขึ้น

นอกจากนี้ เครือข่ายทางสังคมยังเป็นสถานที่พบปะที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการขโมยข้อมูลที่ระบุตัวบุคคล จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่โพสต์กันอย่างเปิดเผยโดยเฉพาะในส่วนของโปรไฟล์ (ข้อมูลส่วนตัว) ของผู้ใช้งานก็ดูน่าเชื่อถืออย่างมาก และเมื่อรวมเข้ากับข้อมูลการโต้ตอบบนเครือข่ายก็เพียงพอแล้วสำหรับอาชญากรที่จะขโมยข้อมูลส่วนบุคคลและโจมตีด้วยเทคนิคกลลวงทางสังคมแบบมีเป้าหมาย สถานการณ์เช่นนี้จะเลวร้ายมากขึ้นในปี 2553 โดย ข้อมูลส่วนบุคคลที่ปรากฏต่อสาธารณชนจะถูกอาชญากรนำไปใช้ในการปลอมตัวเป็นเหยื่อหรือใช้ในการขโมยบัญชีธนาคารออกมาได้

การโจมตีแบบแพร่ระบาดไปทั่วโลกจะหมดไป

และการโจมตีแบบเฉพาะเจาะจงและแบบมีเป้าหมายจะขยายตัวมากขึ้น

พื้นที่ของการเกิดภัยคุกคามได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว และเราจะไม่พบการแพร่ระบาดทั่วโลกเหมือนอย่างเหตุการณ์การแพร่ระบาดของ Slammer หรือ CodeRed อีกต่อไป อย่างในกรณีของ Conficker ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2551 และต้นปี 2552 ที่อาจไม่ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก แต่เป็นการโจมตีที่ถูกวางแผนและออกแบบมาอย่างระมัดระวัง ซึ่งคาดว่าการโจมตีขั้นสูงแบบเฉพาะเจาะจง และแบบมีเป้าหมายจะขยายตัวและมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

การคาดการณ์ที่สำคัญเพิ่มเติมสำหรับปี 2553 และปีต่อๆ ไป? ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเงิน จะยังคงมีอาชญากรรมไซเบอร์เคียงข้างอยู่ด้วย

- การลดความเสี่ยงไม่ใช่ตัวเลือกที่ใช้ได้อีกต่อไป แม้แต่การใช้บราวเซอร์อื่น หรือระบบปฏิบัติการทางเลือก

- มัลแวร์จะเปลี่ยนรูปแบบไปในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง

- การติดเชื้อมัลแวร์โดยทั่วไปเป็นเรื่องปกติ แค่คลิกเว็บไซต์เดียวก็ทำให้คุณติดมัลแวร์ได้แล้ว

- การโจมตีแบบใหม่ๆ จะเพิ่มมากขึ้นในสภาพแวดล้อมแบบเสมือนจริงและระบบคลาวด์

- ไม่มีสิ่งใดหยุดยั้งบ็อตได้อีกต่อไป และจะกระจายอยู่ทั่วไป

- เครือข่ายบริษัทหรือเครือข่ายทางสังคมจะยังคงถูกก่อกวนจากอาชญากรที่จะขโมยข้อมูลไปใช้หาประโยชน์

สำหรับรายงานสถานการณ์ภัยคุกคามฉบับสมบูรณ์ของเทรนด์ ไมโคร ปี 2553 ผู้สนใจสามารถคลิกเข้าไปดูได้ที่: http://us.trendmicro.com/us/trendwatch/research-and-analysis/threat-reports/index.html

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์

บุษกร สนธิกร โทร +66 (0) 2439 4600 ต่อ 8202 อีเมล [email protected]

ศรีสุพัฒ เสียงเย็น โทร +66 (0) 2439 4600 ต่อ 8300 อีเมล [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔ พ.ย. LE โชว์ผลงาน Q3/67 กำไรทะยาน 312% รายได้อยู่ที่ 720 ลบ. ส่งซิก Q4 โตต่อเนื่อง ล่าสุดกอด Backlog แน่น 1,300
๑๔ พ.ย. แม็คโคร พัทยา ปรับโฉมใหม่ รองรับกำลังซื้อช่วงไฮซีซั่น พร้อมจัดแคมเปญขอบคุณลูกค้าส่งท้ายปี ส่งมอบความคุ้มค่าทั่วเมืองพัทยา
๑๔ พ.ย. ยันม่าร์ โชว์นวัตกรรมการเกษตร ในงานประชุมใหญ่ชาวไร่อ้อยสามัญประจำปี พร้อมฉลองครบรอบ 45 ปี สนับสนุนเงินดาวน์แทรกเตอร์ถึง 3
๑๔ พ.ย. CHAYO งบ Q3/67 สุดปังทั้งรายได้และกำไร งวด 9 เดือนรายได้พุ่ง 38.85% มั่นใจรายได้ปีนี้โตไม่ต่ำกว่า 20%
๑๔ พ.ย. TNP เข้ารับเกียรติบัตร CAC ในฐานะบริษัทฯ ที่ได้รับการต่ออายุรับรองครั้งที่ 2 มุ่งมั่นเป็นองค์กรที่ร่วมต่อต้านคอร์รัปชันในภาคเอกชนไทย
๑๔ พ.ย. คริสตัล โฮม ร่วมกับ AXOR จัดเวิร์กชอป The Power of Colors เผยเคล็ดลับดีไซน์ห้องน้ำหรูด้วยสีสันที่โดดเด่น
๑๔ พ.ย. ทีเอ็มบีธนชาต ชวนซื้อสลากกาชาดทีทีบี ได้บุญ พร้อมลุ้นโชค 716 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 7 ล้านบาท ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ การให้ บำรุงสภากาชาดไทย
๑๔ พ.ย. PRTR ประกาศงบ Q3/67 กำไรนิวไฮอีกครั้ง โตกว่า 14% ธุรกิจ Outsource ดาวเด่น คาด Q4/67 ดีมานด์พุ่ง
๑๔ พ.ย. PLUS ส่ง Coco Royal ลุยช่องทางการขายชั้นนำในจีน ดันยอดขายพุ่ง รับออเดอร์ลูกค้ารายใหญ่ พร้อมเดินหน้าเต็มกำลังการผลิต
๑๔ พ.ย. PRAPAT ฟอร์มแกร่ง! กวาดกำไร Q3/67 โต 77% แตะ 17.49 ล้านบาท รับปัจจัยหนุนจากรายได้กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านครัว