ทั้งนี้ สำหรับกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการส่งออกให้มีความสามารถในการแข่งขันกับประเทสคู่แข่ง ได้มีหลากหลายมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยเหลือผู้ประกอบการต้อนรับไตรมาสแรก โดยนางศรีรัตน์ รัษฏปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า สำหรับในปี 2553 กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการส่งออก ได้ปรับรูปแบบการผลักดันส่งออกสินค้าสำคัญใหม่ คือให้มีการแต่งตั้งประธานกลุ่มขึ้นมาดูแลสินค้า 10 อันดับแรกเป็นพิเศษ มีมูลค่าคิดเป็นร้อยละ 85 ของมูลค่าการส่งออก รวมทั้งหมด จึงต้องการให้มีผู้รับผิดชอบ ทั้งการวางแผนบุกเจาะตลาด การเพิ่มยอดการส่งออก รวมไปถึงการจัดกิจกรรมการส่งออกให้เหมาะสมกับแต่ละสินค้า แต่ละตลาด สินค้าทั้ง 10 รายการ ได้แก่ สินค้าอาหารและข้าว สินค้าสิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าสินค้าวัสดุก่อสร้าง เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก สินค้ายานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยางพารา
นอกจากนี้ ยังได้แต่งตั้งประธานกลุ่มสินค้าเพิ่มเติมอีก 3 กลุ่ม คือ สินค้าเอกลักษณ์ไทย เช่น ข้าวหอมมะลิ ผ้าไหม กล้วยไม้ อาหารไทยและสปาไทย กลุ่มสินค้าใหม่ที่มีศักยภาพในการขยายการส่งออกเช่น เครื่องสำอาง สบู่ ผลิตภัณฑ์เภสัช เครื่องมือแพทย์ เครื่องเขียน และธุรกิจสิ่งพิมพ์ และสุดท้ายกลุ่มดูแลผู้ประกอบการ SMEs ให้มีความพร้อมในการส่งออก และการส่งเสริมสินค้า OTOP คาดว่าจะสามารถผลักดันให้ยอดการส่งออกสินค้าไทยในปี 2553 มีอัตราการขยายตัวได้ร้อยละ 10-15 และอาจจะมีโอกาส ขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 18
นางศรีรัตน์ กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากแผนกลยุทธ์ที่กล่าวมา กรมฯ ได้ให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการส่งออกที่เป็นตัวแปรหลักในการต่อยอดมาตรการต่างๆ โดยได้มอบหมายให้สถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดฝึกอบรมเกี่ยวกับยุทธวิธีการส่งออก โดยในปี 2553 นี้ทางสถาบันฝึกอบรมฯ ได้เน้นหลักสูตรเชิงรุกมากขึ้น โดยเฉพาะประสบการณ์ของวิทยากรกับช่วงปัญหาวิกฤเศรษฐกิจที่ผ่านมา เนื่องด้วยวิทยากรส่วนใหญ่เป็นทั้งที่ปรึกษาและเจ้าของบริษัทธุรกิจส่งออกชั้นนำจึงมีประสบการณ์ในเชิงปฏิบัติค่อนข้างมากเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยากให้ผู้ส่งออกได้นำเอาข้อมูลไปปรับใช้ในธุรกิจของตัวเอง
“หลักสูตรในปีนี้มีหลากหลายโดยมากเป็นหลักสูตรต่อเนื่องจากปีที่แล้ว อาทิ หลักสูตร ความรู้เบื้องต้นในการประกอบธุรกิจส่งออก รุ่นที่ 110 ที่จะเน้นสร้างผู้ประกอบการส่งออกรายใหม่เพื่อมาเป็นกำลังเสริมในแก่ภาคการส่งออกอีกแรง โครงการฝึกอบรมเจาะลึกการคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ และการชดเชยค่าภาษีอากร ที่ว่าด้วยเรื่องมาตรการคืนภาษีที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ส่งออกและการอำนวยสิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่ภาครัฐใช้เป็นเครื่องมือในการให้การส่งเสริมและสนับสนุน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ยังมีผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากยังไม่รับทราบ การเรียนการสอนผ่านระบบอีเลิร์นนิ่ง ในหลักสูตรต่างๆ เป็นการเปิดโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการที่ไม่สะดวกเรื่องของเวลา สถานที่ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในต่างจังหวัดซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น กลยุทธ์การค้าออนไลน์ เพื่อฝึกวิธีการำการตลาดบนโลกอินเตอร์เน็ตซึ่งกำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการทำธุรกิจเป็นเรื่องที่ผู้ส่งออกทุกคนควรทำความรู้จักและนำมาใช้กับธุรกิจของตนเอง และอีกมากมาย รวมทั้งโครงการสัมมนาต่างๆ ซึ่งก็อยากให้ผู้ประกอบการได้ติดตามข่าวสา
รของสถาบันฝึกอบรมฯ อย่างต่อเนื่อง”
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามไปได้ที่ สถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ เบอร์โทรศัพท์ 0 2512 0093 — 104 หรือ www.depthai.go.th
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2512 0093 - 104 สถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ