“บรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน” หนุน อุตฯ อาหารไทยไปไกลทั่วโลก

พุธ ๒๐ มกราคม ๒๐๑๐ ๑๐:๒๘
สถาบันอาหาร จี้ภาครัฐ เอกชน ผนึกความร่วมมือ หนุนอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดข้อจำกัดเรื่องเทคโนโลยีการผลิต และวัตถุดิบ เป็นอุตสาหกรรมสนับสนุน เพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารของไทย ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ สนองตอบผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการสินค้าเติมเต็มคุณภาพชีวิต

ดร. อมร งามมงคลรัตน์ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า “ในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา กระแสการใส่ใจสิ่งแวดล้อมของคนทั่วโลกได้กลายมาเป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ที่หลายองค์กรให้ความสำคัญ และคำนึงถึงในการดำเนินธุรกิจ โดยยึดหลักแนวคิด “การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน” โดยมุ่งเน้นในการสร้างความสมดุลใน 3 มิติ ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงในวงการอุตสาหกรรมอาหาร ที่เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันพบว่าทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคเริ่มหันมาให้ความสนใจบรรจุภัณฑ์ตามแนวคิดเพื่อความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น และคาดการณ์ว่าแนวโน้มความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้จะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2552 การใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 21 ของบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด แต่คาดว่าในปี 2557 จะมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 32 ของบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด”

สำหรับแนวทางในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนในส่วนของประเทศไทย พบว่า ปัจจุบันยังอยู่ในระยะเริ่มต้น โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เพราะนอกจากจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่มูลค่า (value chain) ของอุตสาหกรรมการผลิตแล้ว ประเทศไทยยังมีศักยภาพทางด้านวัตถุดิบทางการเกษตรที่นำมาใช้ในการผลิตอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้กำหนดให้อุตสาหกรรมการพลาสติกชีวภาพเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต ตามมติของคณะอนุกรรมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพหลักได้นำเสนอแผนที่นำทางแห่งชาติการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (National Roadmap for the Biodegradable Plastics Industry Development) ในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2551-2555) เพื่อพัฒนาให้ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพของประเทศดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายหลักที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (bioplastics hub) อย่างครบวงจรในอนาคต

และจากแนวทางการพัฒนาดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารของไทยให้มีโอกาสเติบโตตามไปด้วย เพราะปัจจุบันผู้บริโภคมีความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบกับบรรจุภัณฑ์อาหารส่วนใหญ่ทำมาจากพลาสติกที่สังเคราะห์จากปิโตรเลียมซึ่งต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นมูลค่าหลายล้านบาท ดังนั้น หากการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพของประเทศไทยประสบความสำเร็จ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมความแข็งแกร่งให้แก่อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารของไทย

รักษาการผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวด้วยว่า บรรจุภัณฑ์เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะในยุคที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าที่ไม่ใช่เพียงแค่มาตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานเท่านั้น แต่ยังต้องการสินค้าที่มาเติมเต็มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น บรรจุภัณฑ์อาหารจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์จะต้องคำนึงถึงการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎระเบียบและมาตรฐาน โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้ผลิตอาหารที่สำคัญของโลกต้องให้ความสำคัญ และต้องติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด รวมถึงต้องเร่งสร้างขีดความสามารถด้านบรรจุภัณฑ์ เพราะในปัจจุบันอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ของไทยยังมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีการผลิตและด้านวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชนควรต้องประสานความร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ให้เป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารของไทยอย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ