ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ชี้ปี 53 ผลกระทบจาก FTAs ยังไม่มากอย่างที่คิด แต่ต้องเตรียมรับมือ และใช้ประโยชน์ให้เต็มที่

จันทร์ ๒๕ มกราคม ๒๐๑๐ ๑๕:๑๖
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Economic Intelligence Center: SCB EIC) วิเคราะห์ผลกระทบและประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจาก FTA ฉบับต่าง ๆ พบว่าในปี 2553 เศรษฐกิจไทยโดยรวมยังไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนัก แม้จำนวนรายการสินค้าที่มีการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือ 0% ภายใต้ FTA ใด FTA หนึ่งรวมกันสูงถึง 56% ของรายการปรับลดทั้งหมด แต่รายการเหล่านี้รวมกันมีมูลค่านำเข้าจากประเทศคู่สัญญาคิดเป็นเพียง 8% ของมูลค่านำเข้ารวม และคิดเป็น 2% ของอุปทานรวมทั้งประเทศ นอกจากนี้ อัตราภาษีที่ปรับลดลงเฉลี่ยในปี 2553 ยังลดลงน้อยกว่าที่เคยมีการปรับลดมาแล้วก่อนหน้านี้ โดยลดลงเพียง 1.2% ในปี 2553 เทียบกับที่ลดลง 3.8% ในปีที่ผ่านมา

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist เปิดเผยว่า “การมองผลกระทบของ FTAs ที่จะเกิดกับประเทศไทยและภาคธุรกิจต่าง ๆ นั้น ไม่ควรแยกพิจารณาเป็นรายฉบับ แต่ควรวิเคราะห์ในภาพรวม เนื่องจาก FTA ส่วนใหญ่พูดถึงสินค้ากลุ่มเดียวกัน จะต่างกันเพียงแต่ว่าจะลดภาษีช้าหรือเร็วกว่ากันเท่านั้น ซึ่งในปีนี้ ไม่ใช่แต่เฉพาะข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA เท่านั้น ที่จะทยอยลดกำแพงภาษีลงอย่างสมบูรณ์ แต่ ยังมี FTA อีกอย่างน้อย 4 ฉบับที่ส่งผลต่อไทย”

SCB EIC ได้ศึกษาผลกระทบลึกลงไปในระดับอุตสาหกรรม โดยพิจารณา 3 มิติ คือ 1) ส่วนต่างระหว่างอัตราภาษีนำเข้าที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเทียบกับอัตราภาษีที่ปรับลดภายใต้ FTAs ของแต่ละกลุ่มสินค้า 2) การเปลี่ยนแปลงของระดับการคุ้มครองที่ผู้ผลิตภายในประเทศได้รับช่วงก่อนและหลังการยกเลิกภาษีนำเข้า (Effective Rate of Protection — ERP) และ 3) สัดส่วนการนำเข้าสินค้าจากประเทศคู่สัญญาเทียบกับขนาดอุปทานรวม ทั้งนี้ พบว่าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ยาสูบ สุรา สิ่งทอ (ยกเว้นเสื้อผ้า) เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน กาแฟและชา เนื่องจากเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการถูกตีตลาดจากผู้นำเข้าสินค้ามาจากประเทศคู่สัญญา โดยเฉพาะอาเซียน จีน เกาหลีใต้ และอินเดีย และกลุ่มที่อาจมีความเสี่ยงจากราคาขายสินค้าในประเทศลดลงต่ำกว่าสัดส่วนของต้นทุนที่ลดลง โดย 5 ธุรกิจหลักนี้มีสัดส่วนต่อ GDP และสัดส่วนต่อการจ้างงานไม่มากนัก

อย่างไรก็ดี ผลของ FTAs ก็เป็นโอกาสให้กับกลุ่มธุรกิจที่มีต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าที่ถูกลง รวมถึงกลุ่มที่มีโอกาสขยายฐานส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ได้มากขึ้น ซึ่ง SCB EIC ได้พิจารณาผลกระทบโดยวิเคราะห์ในรายละเอียดแยกเป็นแต่ละชนิดสินค้า ในแต่ละรายประเทศคู่สัญญา ทั้งนี้พบว่าหลายธุรกิจมีศักยภาพในการขยายฐานการส่งออกเนื่องจากมีส่วนต่างระหว่างอัตราภาษีนำเข้าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และอัตราภาษีภายใต้ FTAs สูง เช่น การส่งออกข้าว ยางแผ่นรมควัน และผลิตภัณฑ์ยางไปยังประเทศจีน และการส่งออกยางรถยนต์ไปยังประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น

“การเจรจาต่อรอง และลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือแม้แต่การกำหนดผลบังคับใช้ของ FTA ฉบับต่างๆ เป็นเรื่องหนึ่ง แต่การนำเอาประโยชน์จากผลของข้อตกลงนั้นไปใช้จริง เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จาก FTAs อย่างเต็มที่ เช่น กรณีของ AFTA ที่ได้ลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือ 0% มาแล้วกว่าครึ่ง ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา แต่ก็ไม่ได้ทำให้รูปแบบการค้า (trade pattern) ของไทยกับอาเซียนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก นอกจากนี้อัตราการใช้ประโยชน์จาก AFTA ยังคงต่ำ โดยในปี 2549 อยู่ที่ 18% สำหรับการส่งออกไปอาเซียน และเพียง 13% ของการนำเข้าจากอาเซียน เท่านั้น ” ดร.เศรษฐพุฒิกล่าว

ความคืบหน้าของ FTAs ต่างๆ ยังไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นี้ ยังมี FTAs อื่นๆ กำลังทยอยตามมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว การใช้ประโยชน์จาก FTAs ต่างๆ จะขึ้นอยู่กับความรู้ และความเข้าใจในเงื่อนไขต่างๆ ของ FTAs และการนำ FTAs ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น พัฒนาความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยการลดต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบ หรือเปลี่ยนมานำเข้าวัตถุดิบจากแหล่งอื่น (sourcing) และขยายตลาดการส่งออก (market expansion) ซึ่งผู้ประกอบการต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนและล่วงหน้า การพิจารณาผลได้ผลเสียในภาพรวม และการสนับสนุนการพัฒนาในลักษณะบูรณาการมากขึ้นในอนาคต

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน SCB Insight เรื่อง “สารพัด FTAs…ผลต่อประเทศไทยเป็นอย่างไร?"

สอบถามได้ที่ SCB EIC คุณพิณัฐฐา อรุณทัต โทร.0-2544-2953 อีเมล์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO