เนื่องด้วยเล็งเห็นว่าการประชุมพิจารณาสนธิสัญญาว่าด้วยการไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมนี้ อาจไม่มีความคืบหน้าที่สำคัญมากนัก อิเคดะจึงได้เสนอแนะข้อพึงปฏิบัติ 3 ข้อดังนี้
1) ต้องมีการจัดตั้งโซนปลอดอาวุธนิวเคลียร์ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เอเชียใต้ และตะวันออกกลาง ซึ่งจะเป็นขั้นตอนหนึ่งที่จะนำไปสู่การปลอดอาวุธนิวเคลียร์โดยสินเชิง
2) ต้องมีการพิจารณาระเบียบข้อบังคับของศาลอาญาระหว่างประเทศอีกครั้ง เพื่อกำหนดให้การใช้อาวุธนิวเคลียร์เป็นอาชญากรรมสงคราม
3) ต้องมีการสร้างระบบร่วมกันระหว่างสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้เกิดการทำลายอาวุธนิวเคลียร์อย่างสมบูรณ์ ดังเช่นที่ระบุไว้ในมาตร 26 ของกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งให้คณะมนตรีความมั่นคงมีหน้าที่กำหนดระเบียบการใช้อาวุธยุทธภัณฑ์
อิเคดะเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องพยายามบรรลุเป้าหมายดังกล่าวให้ได้ภายใน 5 ปีต่อจากนี้ และบรรลุจุดสูงสุดที่การประชุมการปลดอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งจะจัดขึ้นที่ฮิโรชิม่าและนางาซากิในปีพ.ศ. 2558 ซึ่งจะเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการสิ้นสุดของยุคอาวุธนิวเคลียร์สำหรับผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิม่าและนางาซากิในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
อิเคดะกล่าวว่าในกรณีของอาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพนั้น มีข้อกำหนดห้ามใช้อาวุธดังกล่าวก่อนที่จะมีการทำสนธิสัญญาห้ามผลิตและกักเก็บอาวุธ และเขาได้เรียกร้องให้มีการใช้แนวทางดังกล่าวกับอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งถือเป็นแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการปลดอาวุธนิวเคลียร์ต่อไป
เขาเชื่อว่า “การสร้างความมั่นคงทางร่างกายและจิตใจ” อาจทำให้หลายประเทศที่ยังไม่มีจุดมุ่งหมายที่แน่ชัดในการใช้อาวุธนิวเคลียร์หรือประเทศที่ไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยการไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ หันมาให้ความร่วมมือมากขึ้น
อิเคดะกล่าวว่า ลัทธิทำลายระบบสังคม (nihilism) เป็นปัจจัยสำคัญที่อยู่เบื้องหลังวิกฤตที่โลกเรากำลังเผชิญอยู่ทุกวันนี้ เขากล่าวว่าทั้งอาวุธนิวเคลียร์และวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันต่างเป็นผลพวงมาจากความต้องการไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์โดยปราศจากความยับยั้งชั่งใจ มีเพียงศาสนาเท่านั้นที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ กระตุ้นให้เกิดความดี และสามารถต่อต้านทัศนคติที่เลวร้ายเหล่านั้นได้
เพื่อเป็นการตอบสนองต่อปัญหาความไม่เสมอภาคกันทางด้านเศรษฐกิจ ประธานเอสจีไอเรียกร้องให้มีการลำดับความสำคัญใหม่ กล่าวคือควรหันไปให้ความสำคัญกับสิ่งที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศเรียกว่า “งานที่มีคุณค่า” หรืองานที่ช่วยให้คนทำงานตอบสนองความต้องการของตนเองได้และเป็นงานที่มีเกียรติ โดยเขาเสนอให้มีการตั้งคณะทำงานจี20 เพื่อการณ์นี้โดยเฉพาะ
ในโอกาสที่ปีพ.ศ.2553 เป็นปีครบรอบปีที่ 10 ของมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1325 ซึ่งให้ความสำคัญกับผู้หญิงในฐานะที่เป็นบุคลากรที่มีความกระตือรือร้นในการสร้างสันติภาพ อิเคดะจึงผลักดันให้มีการใช้ความพยายามมากขึ้น เพื่อรับประกันว่าจะมีความเท่าเทียมกันในเรื่องเพศในวงการศึกษา และเรียกร้องให้มีการบรรจุเรื่องการให้ความสำคัญกับผู้หญิงและมุมมองต่างๆที่เกี่ยวกับผู้หญิงไว้ในโครงการต่างๆของศูนย์กลางพัฒนามนุษย์ นอกจากนี้ อิเคดะยังได้เรียกร้องให้โรงเรียนต่างๆทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการสนับสนุนวัฒนธรรมเกี่ยวกับสันติภาพในหมู่เยาวชน
ข้อเสนอเกี่ยวกับสันติภาพครั้งที่ 28 ซึ่งออกโดยไดซากุ อิเคดะนี้มีขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการจัดตั้งสมาคมพุทธศาสนาโซกะ กักไค อินเตอร์เนชั่นแนล เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2518 เอสจีไอมีสมาชิก 12 ล้านคนทั่วโลก โดยทางสมาคมดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสันติภาพ วัฒนธรรม การศึกษา และการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ภายใต้หลักคำสอนทางพุทธศาสนาเรื่องความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ที่มีมายาวนาน
แหล่งข่าว: โซกะ กักไค อินเตอร์เนชั่นแนล
ติดต่อ : โจน แอนเดอร์สัน
สำนักงานข้อมูลสาธารณะ
โซกะ กักไค อินเตอร์เนชั่นแนล
โทร: +81-3-5360-9482
แฟกซ์: +81-3-5360-9885
เว็บไซต์: www.sgi.org
อีเมล: janderson[at]sgi.gr.jp
-- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --