สซ. ประกาศแต่งตั้งตำแหน่งบริหารผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

พุธ ๒๗ มกราคม ๒๐๑๐ ๑๑:๒๒
คณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มีมติแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อย่างเป็นทางการ มีผลตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา

‘รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย’ มีประสบการณ์ด้านบริหารและวิชาการ โดยสรุปดังนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2549,2551 ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ปี พ.ศ.2551 เป็นคณบดีคนแรกของวิทยาลัยนานาชาติดิษยะศริน และรองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ปี พ.ศ. 2550 ตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการเครือข่าย Nanotech Centre of Excellence ศูนย์นาโนเทคโลยีแห่งชาติ พ.ศ. 2538-2548 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและวิชาการ (2538-2541) และคณบดีสำนักวิทยาศาสตร์(2542-2548) พ.ศ. 2512-2538 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และวิทยาเขตปัตตานี อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และอาจารย์พิเศษ วิทยาเขตปัตตานี หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ และผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาเขตหาดใหญ่ ปี 2525 ลาออกจากราชการในตำแหน่งรองศาสตราจารย์ระดับ 9 ผลงานทางวิชาการ มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติ 22 เรื่อง และภายในประเทศจำนวน 14 เรื่อง และบทความวิชาการบริการสังคมจำนวนมาก

ประวัติการศึกษา จบการศึกษาปริญญาเอก สาขาฟิสิกส์พลาสมา จากมหาวิทยาลัย Flinders ประเทศออสเตรเลีย โดยรับทุน Flinders Research Scholarship, Flinders University ปริญญาโท สาขาฟิสิกส์พลาสมา จาก University of Saskatchewan, Saskatoon, Canada, ทุนรัฐบาลแคนาดา และปริญญาตรี สาขาฟิสิกส์-คณิตศาสตร์ จาก University of New South Wales, Sydney Australia. ทุนรัฐบาลออสเตรเลีย ประวัติส่วนตัว เป็นชาวจังหวัดตรังโดยกำเนิด เกิดเมื่อเดือนกันยายน 2489 งานอดิเรก ฟาร์มเกษตร งานเขียน ถ่ายภาพ และปั่นจักรยาน

รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย กล่าวว่า “จากการที่เครื่องกำเนิดแสงสยาม ได้รับการเสริมศักยภาพอย่างเต็มกำลังแล้ว การดำเนินนโยบายบริหารจากนี้ไปจะมุ่งพัฒนาและขับเคลื่อนสถาบันในฐานะองค์การมหาชน ที่มุ่งสู่ผลลัพธ์ของงานในทุกภารกิจของสถาบันของการวิจัย พัฒนา การให้บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีซินโครตรอนที่ตอบสนองผู้มีส่วนได้เสียตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับประเทศ สถาบันจะแสวงหาพันธมิตรทั้งภาควิชาการและอุตสาหกรรมให้มากยิ่งขึ้น พร้อมกับจะต้องแสดงบทบาทความเป็นเลิศในเวทีสากล โดยเพิ่มผลงานตีพิมพ์นานาชาติ และการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการเทคโนโลยีซินโครตรอนระดับนานาชาติในปี 2554 ที่จะถึงนี้ ”

งานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 252 โทรสาร 0-4421-7404 อีเมล : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ